อาการผมร่วง
ปัญหาผมร่วงหลังจากเป็นโรคมะเร็งนั้นพบได้บ่อยขึ้น ซึ่งมีทั้งผมร่วงที่เกิดจากตัวโรคมะเร็งเอง แต่โดยส่วนใหญ่เกิดจากการรักษา เช่น ยาเคมีบำบัด การฉายแสง หรือยากลุ่มใหม่ๆที่เรียกว่า targeted therapy ที่นอกจากจะไปช่วยยับยั้งหรือฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่ก็ยังไปยับยั้งหรือทำลายการวงจรของผมด้วยเช่นกัน ทำให้คนไข้มีอาการผมร่วงทั่วๆ ศีรษะ หรือมีขนคิ้ว ขนตา ขนตัวร่วง หลังจากการรักษา 1-2 เดือน อาการนี้ส่งผมกระทบต่อสภาวะจิตใจของคนไข้อย่างมาก เรามาทำความรู้จักภาวะผมร่วงหลังจากเป็นมะเร็งนี้ให้มากขึ้น เพื่อจะได้ดูแลตัวเอง หรือป้องกัน หรือให้คำแนะนำได้ถูกต้องกันค่ะ
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับยาหรือการรักษาโรคมะเร็งที่ทำให้ผมร่วง
รูปภาพจาก : 4 Things to Ask About Cancer and Hair Loss | Cancer.Net
ตัวมะเร็งเองก็มาสามารถทำให้ผมร่วงได้ แต่ก็มีสาเหตุอื่นที่ทำให้ผมร่วงในช่วงที่เป็นมะเร็งหรือกำลังรักษา เช่น ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ ภาวะขาดธาตุเหล็ก
แต่สิ่งที่พบบ่อยมากกว่าที่ทำให้ผมร่วงขณะเป็นมะเร็งคือเกิดจากการรักษา หรือยาบางตัว ดังตัวอย่างข้างล่าง ดังนั้นหากคุณกำลังมีปัญหาผมร่วง ควรพูดคุยกับคุณหมอผู้ดูแล หรือทีมที่ดูแลว่าการรักษานี้มีโอกาสทำให้ผมร่วงได้หรือไม่ แล้วหากเกิดผลข้างเคียงสามารถใช้ยาตัวอื่นที่ผลข้างเคียงน้อยกว่าได้หรือไม่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรคุยเรื่องข้อดีข้อเสียของการรักษา และในบางครั้งการใช้ยารักษามะเร็งที่ทำให้ผมร่วงอาจจะเป็นยาตัวเดียวที่คุณตอบสนองก็ได้ แต่อย่างน้อยคุณจะรู้ว่าผมร่วงเกิดจากอะไร แล้วจะมีการรับมือกับปัญหานี้อย่างไร รวมถึงหมอจะแนะนำการดูแลตัวเองเบื้องต้นไว้ให้ด้วยค่ะ
ยาเคมีบำบัดที่พบว่าทำให้เกิดผมร่วงบ่อยคือ
- Altretamine (Hexalen)
- Carboplatin (Paraplatin)
- Cisplatin (Platinol)
- Cyclophosphamide (Neosar)
- Docetaxel (Taxotere)
- Doxorubicin (Adriamycin, Doxil)
- Epirubicin (Ellence)
- Fluorouracil (5-FU)
- Gemcitabine (Gemzar)
- Idarubicin (Idamycin)
- Ifosfamide (Ifex)
- Paclitaxel (multiple brand names)
- Vincristine (Marqibo, Vincasar)
- Vinorelbine (Alocrest, Navelbine)
แต่หลังจากได้รับยาผมจะยังไม่ร่วงทันที จะร่วงหลังจากเริ่มยาประมาณ 1- 2 เดือน และอัตราหรือความรุนแรงขึ้นกับขนาดยาที่ได้ และการตอบสนองของแต่ละบุคคล อาการผมร่วงจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อหยุดยาหรือทำการรักษาเสร็จไป 1-3 เดือน แล้วค่อยๆกลับมาเหมือนเดิม 6-12 เดือนขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาตัวเองในช่วงฟื้นฟู
นอกจากยาเคมีบำบัด ตัวการรักษาแบบอื่นก็ทำให้ผมร่วงได้ด้วยเช่นเดียวกัน คือ
- การฉายแสง เช่น ฉายแสงที่บริเวณเชิงกราน อาจจะทำให้ขนหัวหน่าวร่วงหรือบางลงได้ขึ้นกับจำนวนครั้งของการฉาย และขนากของการฉาย และเมื่อหยุดฉาย ผมจะค่อยกลับมางอก ใน 1- 3 เดือนหลังจากนั้น หรือบางรายอาจจะไม่กลับมาหนาเหมือนเดิม
- ยารักษากลุ่มฮอร์โมน เช่น Tamoxifen (Nolvadex) อาจจะไม่ได้ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่ทำให้ผมบางลงได้
- การใช้ยากลุ่มใหม่ชื่อ Targeted therapy โดยยากลุ่มนี้อาจจะไม่ได้ทำให้ผมร่วงโดยตรงแต่อาจจะทำให้ผมบางลง หรือแห้งลง ขาดง่าย เช่น
- Afatinib (Gilotrif)
- Cetuximab (Erbitux)
- Dabrafenib (Tafinlar)
- Dasatinib (Sprycel)
- Erlotinib (Tarceva)
- Ibrutinib (Imbruvica)
- Imatinib (Gleevec, Glivec)
เช็กให้ชัวร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
รูปภาพจาก : Cancer: Causes and Risk Factors (verywellhealth.com)
จริงๆ แล้วแต่ละคนมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งไม่เหมือน และในปัจจุบันโรคมะเร็งบางชนิดก็ไม่ทราบสาเหตุหรือปัจจัยการเกิดชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ อายุ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ลักษณะสิ่งแวดล้อม หรือการทำงานเช่นการทำงานที่ต้องเจอสารเคมีอยู่เป็นประจำ การทานอาหาร หรืออัตราการเกิดของแต่ละประเทศหรือภูมิลำเนา โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ได้แก่
- อายุที่มากขึ้น อัตราการเกิดมะเร็งจะสูงขึ้น
- การดื่มแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่ สัมพันธ์ชัดเจนกับอัตราการเกิดมะเร็งปอด
- การทานอาหารบางชนิด หรือการทานอาหารไม่ครบ
- ความอ้วน น้ำหนักเกิน
- แสงแดด สัมพันธ์ชัดเจนต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
- การรับยาฮอร์โมนบางอย่าง
- การสัมผัสเคมีบางอย่างอย่างต่อเนื่อง หรือไม่ได้มีการป้องกันที่ดีเพียงพอ
- การติดเชื้อบางอย่างเรื้อรัง เช่น เชื้อไวรัส HPV กับมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัสตับอักเสบ มะเร็งตับ เป็นต้น
- การอักเสบเรื่องรังบางอย่างเช่น เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังแล้วไม่ได้รักษาให้หาย
- รังสีจากการฉายแสง
โดยอาการอะไรบ้างที่เราต้องระวังว่าจะเป็นอาการของโรคมะเร็ง คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผมร่วง มีก้อนผิดปกติ ตาเหลือง ตัวเหลือง เหงื่อออกกลางคืน นอนไม่หลับ ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือปวดบางบริเวณเรื้อรัง หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ ผื่นบางอย่าง ก็ควรตรวจหาความผิดปกติ
เป็นมะเร็ง ทำคีโมแล้วผมร่วงทุกคนไหม
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดจะทำให้ผมร่วง และไม่ใช้ยาคีโมบำบัดทุกตัวจะทำให้ผมร่วง มีเพียงบางตัวเท่านั้น และขึ้นขนาดและขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคลด้วย และหากเกิดขึ้นแล้ว หลังจากให้คีโมบำบัดครบหรือจบไป ผมจะหยุดร่วงและค่อยๆ ขึ้นใหม่ในช่วง 1- 3 เดือน หากดูแลตัวเองดีในช่วงฟื้นฟู จะทำให้ผมกลับมากปกติได้ที่ 6-12 เดือน ในบางรายอาจจะมีภาวะผมบางต่อเนื่องได้ แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมกับคุณหมอผิวหนังและโรคผมได้ค่ะ
ถ้าหากไม่ได้เป็นมะเร็งแต่มีอาการผมร่วง แนะนำให้อ่านบทความเพิ่มเติมนี้ : สาเหตุผมร่วงผู้หญิง , สาเหตุผมร่วงผู้ชาย
วิธีดูแลผม เมื่อมีอาการผมร่วงจากมะเร็ง
เมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่ามีผมร่วงหลังจากได้รับการรักษาโรคมะเร็งควรทำอย่างไร
- ตั้งสติว่ามันเกิดขึ้นได้และจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อการรักษาสิ้นสุดลง เพราะถ้าเรามีความวิตกกังวล หรือ เครียด อาจจะทำให้ยังร่วงเยอะขึ้น อาจจะแจ้งคนรอบข้างว่าเราอาจจะมีผมร่วงได้ เพื่อทุกคนเข้าใจและเตรียมรับมือกับมัน
- เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน และสระผมแบบเบามือ หรือสระให้ห่างขึ้น เช่น วันเว้นสองวัน
- หวีผมด้วยหวีซี่ห่าง และเบสมือ หลีกเลี่ยงหวีตอนผมเปียก
- หลีกเลี่ยงแดด เนื่องจากตอนที่เรามีผมร่วง ผมเราจะบางลง ทำให้หนังศีรษะของเราโดนแสงแดดมากขึ้นทำให้เกิดการอักเสบ หรือยิ่งทำให้ผมร่วงมากขึ้น หรือรากผมฝ่อบางตามมา ดังนั้น ควรพบร่ม หมวก หรือผ้าคลุมผมไว้ตลอด
- เมื่อผมเริ่มบางมากอาจจะตัดสินใจตัดผมสั้น เพื่อการดูแลง่ายขึ้น หรือทำให้ผมดูหนาขึ้น หรือบางคนอาจจะเลือกผ้ามาโพกศีรษะปิดบังผมที่บาง และเป็นการเพิ่มสีสันให้ในการแต่งตัวให้สดชื่นขึ้นอีกด้วย
- ทานอาหารที่หลากหลาย และสะอาดช่วยให้การฟื้นฟูได้ดีและเร็วขึ้น
- พูดคุยกับทีมที่ดูแล หรือกลุ่มเพื่อนที่ให้คีโมบำบัดเหมือนกัน ช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การใช้ชีวิต และให้กำลังใจ เป็นการช่วยบอกเราว่ามีเพื่อนร่วมทางกับเราด้วย
ผมร่วงจากมะเร็ง รักษาอย่างไร
การรักษาผมร่วงจากการมะเร็ง หรือ การรักษามะเร็งนั้น อาจจะไม่ได้มีการรักษาเฉพาะเจาะจง เมื่อการรักษาต่างๆ สิ้นสุดลง ผมจะค่อยๆ หยุดหลุดร่วงและงอกใหม่ ในระหว่างการรักษานอกจากจะปฏิบัติตามคำแนะนำด้านบน อาจจะมีการใช้ยากระตุ้นผม ชื่อ ไมนอกซิดิล ทาช่วยกระตุ้นให้ผมงอกใหม่เร็วขึ้น และทำให้ขนาดเส้นอ้วนสมบูรณ์ หรือการตรวจดูระดับค่าวิตามินดี ธาตุเหล็ก หรือไทรอยด์ว่ามีอะไรผิดปกติ เพื่อแก้ปัญหาไปตามสาเหตุของแต่ละบุคคล
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่มีการใช้ความเย็นเป็นลักษณะเหมือนหมวกสวมไว้ตอนที่ให้เคมีบำบัดเพื่อลดการหลุดร่วงหลังจากให้ยาเคมีบำบัด โดยความเย็นจะทำให้เส้นเลือดที่หนังศีรษะหดตัว ลดอัตราการเกิดยาเคมีบำบัดไหลเวียนไปบริเวณหนังศีรษะ ลดอัตราการทำลายหรือทำให้ผมหลุดร่วงได้เช่นเดียวกัน
เมื่อการรักษามะเร็งเสร็จเรียบร้อยหากยังมีอาการผมบาง หรือผมร่วง แนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผิวหนัง หรือเส้นผม เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาเสริมอื่นๆ เช่น
- ยาแก้ผมร่วง เช่น ยากลุ่มไมนอกซิดิลชนิดทา ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม และทำให้ผมสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น
- ฉีดสเต็มเซลล์ผม การนำรากผมของตัวเองมาสกัดเอาสเต็มเซลล์เพื่อมากระตุ้นเซลล์รากผม เป็นวิธีที่ปลอดภัยเพราะใช้เซลล์ของเราเอง และสามารถทำได้เมื่อรักษามะเร็งหายเรียบร้อยแล้ว
- เลเซอร์ LLLT เป็นการใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ มากระตุ้นให้เกิดการงอกของผม และทำให้ลดการอักเสบ และช่วยให้หนังศีรษะแข็งแรงขึ้น แถมยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย ใช้ในคนที่มีโรคประจำตัวเยอะๆ ได้ ไม่เจ็บ
- ปลูกผม อาจจะทำในกรณีที่คนไข้หายจากการเป็นมะเร็งแล้ว และได้ทำการรักษาเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อาจจะต้องเข้ามาปรึกษาคุณหมอว่าสามารถทำการปลูกผมเพิ่มความหนาแน่นได้หรือไม่ ทั้งนี้ควรรอให้ตัวมะเร็งหาย และการรักษาอื่นได้จบลงแล้ว และคนไข้สุขภาพแข็งแรงเพียงพอที่จะผ่าตัดได้ และมีรากผมที่ท้ายทอยเพียงพอในการปลูกผม
- ส่วนการฉีด PRP นั้นไม่แนะนำในคนที่เป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งโรคเลือด
สรุปอาการผมร่วงจากมะเร็ง
โดยสรุปผมร่วงนั้นเกิดได้ทั้งจากมะเร็งบางชนิด และเกิดจากการรักษา เช่น ได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด หรือการรักษายาฮอร์โมน การฉายแสงรังสีรักษา หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นมะเร็งหรือการรักษามะเร็ง เช่น วิตามินดีต่ำ ไทรอยด์ผิดปกติ หรือขาดธาตุเหล็ก แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับมะเร็งทุกชนิด
การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพราะส่วนใหญ่ผมร่วงจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อการรักษาสิ้นสุดลง บางรายอาจจะหยุดร่วงแต่ยังมีผมบาง เพราะเซลล์รากผมบางส่วนฝ่อตัวลงได้ หากมีอาการเช่นนี้ แนะนำให้ตรวจกับคุณหมอผิวหนัง หรือคุณหมอผม หรือมาปรึกษาหมอแก้ว พญ.ธาริณี ก่อวิริยกมล ที่จบทั้งแพทย์ผิวหนัง และโรคเส้นผม ช่วยตรวจและวินิจฉัยหาสาเหตุ และแนะนำแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายได้ ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic โทร 088-9519193 ไลน์ @drtarinee ได้เลยนะคะ
Ref.
Hair Loss or Alopecia | Cancer.Net
Hair Loss (Alopecia) and Cancer Treatment – Side Effects – NCI