รู้จัก ยาปลูกผม

ยาปลูกผม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ทำให้คนไทยจำนวนมากหมดความมั่นใจ จึงทำให้มองหาทางเลือกที่จะสามารถขจัดปัญหาที่คอยก่อกวนใจ และให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ซึ่งยาปลูกผมเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยแรกๆ ที่ผู้มีปัญหาผม ร่วง ผมบางนึกถึง แล้วยาปลูกผมคืออะไร? มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง? เห็นผลได้จริงหรือ? วันนี้ Dr.Tarinee Hair Clinic จะพาทุกท่านไปชมสาระดีๆ เกี่ยวกับยาปลูกผมที่ทุกคนไม่ควรพลาดค่ะ

ยาปลูกผมคืออะไร

ยาปลูกผม คือยาที่ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ช่วยให้บริเวณที่เกิดปัญหาดังกล่าวกลับมามีเส้นผมขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจอีกครั้ง โดยยาปลูกผมจะทำงานด้วยวิธีชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม และกระตุ้นการเกิดของเส้นผมใหม่ ซึ่งยาปลูกผมจะมีส่วนประกอบของตัวยาที่เข้าไปทำปฏิกิริยากับร่างกายให้เกิดการทำงานดังกล่าว

แม้ยาปลูกผมจะสามารถแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ได้เป็นอย่างดี แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่ายาปลูกผมไม่สามารถแก้ปัญหาหัวล้านได้ ซึ่งหากมีปัญหาหัวล้านแพทย์จะแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกผมถาวรเพราะจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีกว่าสำหรับคนไข้ค่ะ

ยาปลูกผมตามโฆษณา เห็นผลจริงไหม

เราจะเห็นได้ว่ามีการโฆษณาเกี่ยวกับยาปลูกผมมากมาย ซึ่งหลายคนเกิดข้อสงสัยว่ายาปลูกผมที่มีการโฆษณาต่างๆ เมื่อใช้แล้วสามารถเห็นผลลัพธ์ได้จริงหรือไม่? 

เมื่อพูดถึงผลลัพธ์ของยาปลูกผมแล้วอย่างแรกเลยต้องบอกก่อนนะคะว่า ยาปลูกผมที่เห็นผลลัพธ์นั้นจะเป็นยาปลูกผมที่ผ่านการวิจัยทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งรองรับถึงผลลัพธ์เมื่อใช้จริง 

ส่วนยาปลูกผมที่ไม่มีงานวิจัยรองรับ วางขายกันทั่วไปโดยใช้วิธีโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ว่าเห็นผลในเวลาไม่นานนั้นไม่สามารถการันตีได้ถึงผลลัพธ์ และความปลอดภัยของการใช้ได้ ฉะนั้นก่อนเลือกซื้อควรเลือกซื้อยาปลูกผมที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน ผ่านการรองรับโดยแพทย์จะดีกว่าค่ะ

ยาปลูกผมที่ผ่านการรับรองโดยแพทย์

ยาปลูกผม
ยาปลูกผม

ปัจจุบันยาปลูกผมที่ผ่านการรับรองโดยแพทย์นั้นจะมีส่วนประกอบที่เป็นตัวยา 2 ตัวด้วยกัน ซึ่งได้แก่

ไมนอกซิดิล (Minoxidil)

ไมนอกซิดิล (Minoxidil) หรืออีกชื่อว่ายาปลูกผมผู้หญิงเป็นยาขยายหลอดเลือดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีการนำไมนอกซิดิลมาใช้เป็นยาเฉพาะที่เพื่อชะลอการหลุดร่วงของเส้นผมบนหนังศีรษะ กระตุ้นการเกิดใหม่ของเส้นผมให้มีความหนา แข็งแรง สุขภาพดี ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง 

โดยการทำงานของไมนอกซิดิลจะกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงที่หนังศีรษะมากขึ้น หรือกระตุ้นที่รูขุมขนโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นผลลัพธ์ที่ดีในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อย่างไรก็ตามไมนอกซิดิลเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในกรณีที่มีอาการผมร่วงโดยกะทันหันแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือผู้หญิงที่เกิดอาการผมร่วงหลังคลอด รวมไปถึงผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี 

ยาปลูกผมที่มีส่วนผสมของไมนอกซิดิลนั้นมีทั้งแบบรับประทาน และแบบทาภายนอก โดยแบบรับประทานจะมาในรูปแบบเม็ดขนาด 5 มิลลิกรัม ส่วนชนิดทาจะมีความเข้มข้น 2 แบบคือ ความเข้มข้นแบบ 2% และความเข้มข้นแบบ 5%

ฟีแนสเตอร์ไรด์ (Finasteride)

ฟีแนสเตอร์ไรด์ (Finasteride) หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อว่ายาปลูกผมผู้ชาย เป็นยาที่ใช้รักษาต่อมลูกหมาก ซึ่งได้มีการนำมาใช้เป็นยาเฉพาะที่เกี่ยวกับการปลูกผม รักษาผมร่วง ผมบางที่เกิดจากกรรมพันธุ์ และจากฮอร์โมนเพศชาย 

ซึ่งตัวยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Dihydrotestosterone : DHT) ที่มีส่วนทำให้เส้นผมบางลง ซึ่งฟีแนสเตอร์ไรด์มีเฉพาะรูปแบบรับประทาน โดยมี 2 ขนาดคือ ขนาด 1 มิลลิกรัม และขนาด 5 มิลลิกรัม ซึ่งการใช้ยาไม่ควรซื้อรับประทานเอง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในขณะใช้ยา

อย่างไรก็ตามฟีแนสเตอร์ไรด์สามารถรักษาอาการผมร่วง ผมบางได้เพียงในระยะเริ่มต้น และระยะปานกลางเท่านั้น หากคนไข้มีอาการที่รุนแรงการใช้ฟีแนสเตอร์ไรด์จะไม่เห็นผล ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธีการปลูกผมแทน

แนะนำยาปลูกผมเพิ่มเติม : เซรั่มปลูกผม

กินยาปลูกผม อันตรายไหม

เมื่อพูดถึงการรับประทานยาปลูกผมว่าสามารถทำให้เกิดอันตรายได้ไหม อย่างแรกที่ต้องอธิบายก่อนว่าการรับประทานยาปลูกผมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง หากรับประทานไม่ถูกวิธี หรือรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งผลข้างเคียงจากการรับประทานยาปลูกผมมีดังต่อไปนี้

ผลข้างเคียงของไมนอกซิดิล

  • การใช้ไมนอกซิดิลอาจทำให้เกิดการระคายเคือง แดง การอักเสบบนหนังศีรษะ 
  • คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ 
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เกิดสิวขึ้นในบริเวณที่ใช้
  • เกิดอาการบวมบริเวณใบหน้า
  • มีขนขึ้นที่ใบหน้าเพิ่มขึ้น

ผลข้างเคียงของฟีแนสเตอร์ไรด์

  • มีอาการเจ็บอัณฑะ
  • รู้สึกเจ็บบริเวณเต้านม หรือขนาดของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง
  • ความต้องการทางเพศลดลง

ใครไม่ควรใช้ยาปลูกผม

แม้ยาปลูกผมจะใช้เพื่อแก้ปัญหาผมบาง ชะลอปัญหาผมร่วงก็ตาม แต่การใช้ยาปลูกผมก็ไม่เหมาะสำหรับทุกคนเสมอไป แต่ใครบ้างที่ไม่เหมาะที่จะใช้ยาปลูกผม?

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ตัวยาใดตัวยาหนึ่ง 
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และกำลังให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานยาปลูกผม
  • ผู้หญิงที่ผมร่วงหลังคลอดบุตร
  • ผู้ที่มีปัญหาหัวล้าน สำหรับผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวแพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการปลูกผมรูปแบบต่างๆ เช่น ปลูกผมแบบ FUE, ปลูกผมแบบ FUT
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรคไม่ควรใช้ยาปลูกผม เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ หรือโรคที่เกี่ยวกับหนังศีรษะ อย่างกลาก และบาดแผลบนหนังศีรษะ
  • ผู้ที่มีอาการผมร่วงโดยกะทันหัน หรือผมร่วงเป็นหย่อมๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีประวัติผมร่วงภายในครอบครัว
  • ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

อันตรายจากยาปลูกผมปลอม

ยาปลูกผมปลอม
ยาปลูกผมปลอม

ปัจจุบันหลายคนที่มีปัญหาผมร่วง หัวล้าน ก็เลือกใช้ยาปลูกผมเพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ แต่การเลือกซื้อยาปลูกผมมาใช้นั้นจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง เพราะในปัจจุบันมีการทำยาปลูกผมลอกเลียนแบบออกมาจำหน่ายมากมาย หากไม่สังเกตให้ดีก่อนซื้อมาใช้อาจจะต้องเจอกับอันตรายของยาปลูกผมปลอมได้ โดยอันตรายจากยาปลูกผมปลอมมีดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ทางผิวหนังเช่น เกิดผื่น คัน ระคายเคือง ผิวหนังแดง อักเสบ
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • การใช้ยาปลูกผมเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  • หากมีสารอันตรายต่อร่างกายเจือปน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

การรักษาด้วยยาปลูกผมและการผ่าตัดปลูกผม แบบไหนดีกว่า

การรักษาทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน โดยการรักษาด้วยยาปลูกผมเป็นวิธีการรักษาที่ไม่พึ่งพาการผ่าตัด แต่สำหรับการรักษาด้วยวิธีปลูกผมเป็นการรักษาแบบผ่าตัด ซึ่งทั้งสองแบบจะเหมาะกับผู้ที่มีอาการผมร่วง ผมบาง หัวล้านในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ หากมีอาการผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้น ถึงระดับปานกลางแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยาปลูกผม 

แต่ในกรณีที่มีอาการผมร่วง ผมบางรุนแรงควรที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการปลูกผมมากกว่า เพราะจะช่วยให้คนไข้ได้ผลลัพธ์หลังการรักษาที่ดี และน่าพึงพอใจกว่า โดยวิธีการผ่าตัดปลูกผมมีดังต่อไปนี้

ปลูกผม FUT

การปลูกผม FUT (Follicular Unit Hair Transplant) เป็นรูปแบบการผ่าตัดปลูกผมที่ถือเป็นการปลูกผมถาวรรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ยาสลบ โดยจะฉีดยาชาแล้วผ่าตัดนำเซลล์รากผมจำนวนมากบริเวณท้ายทอยไปแยกด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ผมน้อยที่สุด จากนั้นจึงนำไปปลูกที่ด้านบนหรือด้านหน้าของศีรษะ ใช้เวลาพักฟื้น 5-7 วัน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วม ผมบาง เซลล์รากผมเสื่อมใช้ยาปลูกผมแล้วไม่เห็นผล 

ปลูกผม FUE

การปลูกผม FUE (Follicular Unit Extraction) เป็นการผ่าตัดปลูกผมถาวรอีกรูปแบบหนึ่ง โดยจะใช้เครื่องมือเจาะนำเซลล์รากผมบริเวณท้ายทอย เพื่อที่จะทำให้เซลล์รากผมเสียหายน้อยที่สุด แล้วมาปลูกใหม่ในบริเวณที่ต้องการ ผมที่ขึ้นมาใหม่จะแข็งแรงสวยงามเป็นธรรมชาติ 

การปลูกผม FUE เกิดรอยแผลที่เล็กมาก จึงไม่ต้องพักฟื้นสามารถใช้ชีวิตประจำวันปกติได้เลยหลังจากผ่าตัดปลูกผม เหมาะสำหรับผู้ที่มีผมบริเวณท้ายทอยเยอะ และรากผมแข็งแรงเพียงพอต่อการผ่าตัดปลูกผม

ข้อสรุปการใช้ยาปลูกผม

ยาปลูกผมเป็นยาทั้งสำหรับรับประทาน และทั้งสำหรับทาภายนอก โดยมีตัวยาที่ทางการแพทย์ยอมรับ 2 ตัวด้วยกันคือ ไมนอกซิดิส และฟีแนสเตอร์ไรด์ ที่มีส่วนช่วยในการชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม และทำให้เกิดการเติบโตของเส้นผมใหม่ อย่างไรก็ตามการใช้ยาปลูกผมควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และไม่ควรรับประทานยาปลูกผมปลอมเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายกับร่างกายได้

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาปลูกผม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม หนังศีรษะ และการปลูกผมสามารถรับคำปรึกษาเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ โดยสามารถส่งรูปให้ประเมินผ่านช่องทางต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

True, R. (2023, February 14). Do Hair Regrowth Serums Work? – Manhattan, NYC. The Hair Loss Doctors by Robert J. Dorin. https://www.hairlossdoctors.com/blog/2019/11/22/do-hair-regrowth-serums-work-202729

Sofie T. (2022, March 11). Do Hair Growth Serums Really Work? Benefits & How to Apply (Video). Hairlust. https://hairlust.com/blogs/blog/do-hair-growth-serums-really-work

The 12 Best Hair Growth Serums of 2023. (2023, February 1). Health. https://www.health.com/beauty/hair/best-hair-growth-serums