ผมร่วง

ปัญหาผมร่วงไม่ได้พบแต่ให้ผู้หญิง แต่พบในผู้ชายได้เช่นเดียวกัน และปัญหาผมร่วงในผู้ชายเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ถ้ารู้สาเหตุที่แท้จริงและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด และสามารถทำรักษาให้ดีขึ้นได้ หรือเข้าใจตัวโรคมากขึ้นได้ จะได้รู้จักการดูแลตัวมากขึ้น



ผู้ชายผมร่วง เกิดจากสาเหตุใด

1.กรรมพันธุ์

ผู้ชายผมร่วง
ผู้ชายผมร่วง เกิดจากสาเหตุใด

กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่พบบ่อย เมื่อเรามีคนในครอบครัวเช่นคุณพ่อ คุณลุง ผมบาง เรามีโอกาสที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมนั้นมาด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีการศึกษาตำแหน่งใน Gene มากมายว่าตัวไหนจะเป็นตัวทำนายได้ว่าเราจะมีโอกาสผมบางในอนาคตได้หรือไม่ แต่ผลที่ได้พบว่ามี Gene หลายตำแหน่งมากที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการเกิดผมบาง หรือหัวล้าน และยังไม่ชัดเจน ในอนาคตอาจจะพอมีบาง Gene ที่เราสามารถตรวจได้ว่าเราจะหัวล้านหรือไม่ เพื่อเตรียมการป้องกันไว้ก่อนจะเกิดขึ้น

2.ฮอร์โมน

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ androgen มีส่วนทำให้เกิดภาวะผมบาง หัวล้านได้ เพราะที่รากผมของเราจะมีตัวรับฮอร์โมนตัวนี้ เมื่อจับกัน และมีการเปลี่ยนแปลงจาก testosterone ( ตัว androgen ที่พบมากในกระแสเลือด) ไปเป็น Dehydrotestosterone (DHT) โดนเอนไซม์ 5-alpha reductase ที่บริเวณรากผมและต่อมไขมันที่ผม ตัว DHT คือตัวที่ทำให้ผมมีขนาดเส้นเล็กลง ทำให้ผมบางลง และฝ่อตัวไปในที่สุด

3.อายุ 

อายุที่มากขึ้น นอกจากการเสื่อมไปตามวัยของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย การหมดช่วงอายุขัยของวงจรเส้นผมก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน พบว่าผมบางเส้นเมื่อผ่านวงจร (สร้าง – หยุดทำงาน – ร่วงออกมา) วนอยู่ประมาณ 20 รอบ ก็จะฝ่อตัวไม่สร้างอีกต่อไป รวมไปถึงการฟื้นฟูก็เสื่อมลงหรือทำได้ช้าด้วยเช่นกัน

4.ไทรอยด์ฮอร์โมน

โรคไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะที่ทำให้เกิดผมร่วง จนเกิดผมบางได้ เมื่อเกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติ จะทำเกิดการกระตุ้นที่รากผม ทำให้รากผมหลุดร่วงได้ ดังนั้นถ้ามีอาการผมร่วงผิดปกติ เป็นสัญญาณหนึ่งของโรคไทรอยด์ด้วยเช่นเดียวกัน

5.ความเครียด

ภาวะความเครียด ส่งผลต่อการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบบางตัวที่ส่งผลต่อการสร้างรากผม ทำให้เกิดผมร่วง ทั้งแบบร่วงทั่วๆ หนังศีรษะ และแบบผมร่วงเป็นหย่อมได้

6.ยาและการฉายรังสี

ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยากรดวิตามินเอรักษาสิว หรือยากดภูมิบางตัว ทำให้เกิดผมร่วงชนิดทั่วศีรษะได้ เนื่องจากยาบางตัวไปกวนวงจรการสร้างผม หรืออาจจะไปทำลายเซลล์ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของรากผมได้ ทำให้ผมร่วงหลังจากทานยาไปได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน หรือร่วงจนกว่าจะหยุดยาตัวนั้นไป

การฉายรังสีเพื่อการรักษา บริเวณศีรษะหรือใกล้เคียง อาจจะไปกวนวงจรของผม หรือไปทำลายการสร้างของผมทำให้ผมร่วงได้ 

7.โรคต่างๆ

โรคต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE โรคเลือดจาง โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคพังผืดทำลายรากผม เหล่านี้ทำให้ผมร่วงได้ทั้งแบบเฉพาะจุด และทั่วศีรษะ โดยแต่ละโรคจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป โดยแพทย์ผิวหนัง หรือแพทย์เส้นผมจะตรวจและทำการวินิจฉัยแยกโรคให้ได้

8.ขาดสารอาหาร

การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างผม หรือเกี่ยวข้องกับบริเวณรากผม เช่น การขาดวิตามินดี การขาดธาตุเหล็ก เหล่านี้เป็นเหตุที่พบบ่อยว่าทำให้ผมร่วง ผมบางได้


ลักษณะอาการผมร่วงในผู้ชาย

ลักษณะอาการผมร่วง
ลักษณะอาการผมร่วงในผู้ชาย

ลักษณะผมร่วงในผู้ชายแยกได้เป็นสองลักษณะ

  1. ผมร่วงทั่วๆศีรษะ เป็นลักษณะที่พบส่วนใหญ่ อาจจะพบว่าผมบริเวณหมอนมากกว่าปกติ หรือเวลาสระผมแล้วผมหลุดร่วงมามากกว่าปกติ หรือแค่ลูบผมเบาๆ ผมก็ร่วงติดมือตามมา
  2. ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นลักษณะเห็นผมร่วงหลุดเป็นวงๆ เล็ก บางรายลองดึงบริเวณขอบๆ ผมร่วงอาจจะยังมีติดมือตาม หรือบางรายอาจจะพบหย่อมผมร่วงที่ คิ้ว หนวด เรา จอนร่วมด้วย

วิธีแก้และรักษาผมร่วง ผมบาง สำหรับผู้ชาย

วิธีรักษาผมร่วง ผู้ชาย
วิธีแก้และรักษาผมร่วง ผมบาง สำหรับผู้ชาย

1.สระผมให้ถูกวิธี 

การสระผมให้ถูกวิธี เริ่มจากการเลือกแชมพูให้เหมาะกับสภาพหนังศีรษะ และสระความถี่ตามสภาพหนังศีรษะ สระด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง ไม่เกาหนังศีรษะ และหลังจากสระเสร็จความเป่าผมให้แห้ง

2. ลดการใช้ความร้อนกับเส้นผม 

การตกแต่งเส้นผมด้วยอุปกรณ์ที่มีความร้อนอย่าง เครื่องม้วนผม เครื่องหนีบผม ไดร์ เพราะความร้อนจากเครื่องเหล่านี้จะทำลายเคลือบผม และโปรตีนที่หล่อเลี้ยงเส้นผม ทำให้เส้นผมแห้งเสีย เปราะบาง ขาดหลุดร่วงได้ง่าย ดังนั้นวิธีแก้ผมร่วงง่าย ๆ อีกวิธีหนึ่ง คือ พยายามลดการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ลง หรือเปลี่ยนมาใช้โหมดความเย็น หรือเลือกหาอุปกรณ์ที่มีระบบลดการทำร้ายเส้นผมลง

3.ใช้แชมพูแก้ผมร่วง 

โดยควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผม ที่เหมาะกับสภาพเส้นผมของคุณ และเลือกใช้แชมพูที่มีส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ มีความอ่อนโยน ไม่ทำร้ายหนังศีรษะ และทำให้ผมร่วงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรเป็นแชมพูสระผมที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และวิตามินบำรุงผมร่วง

4.ใช้ยาหรือวิตามินรักษา

การรักษาผมร่วงควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ โดยผมร่วงบางชนิดอาจจะต้องรับประทานยาเฉพาะร่วงด้วยซึ่งควรอยู่ภายใต้การดูแลโดยแพทย์ การเลือดทานวิตามินเสริม อาจจะเป็น Biotin และ Zinc ที่ช่วยเสริมการสร้างเคราตินของผม และไม่มีอันตรายอะไร

5.ปรับฮอร์โมน

เมื่อมีผมบางจากกรรมพันธุ์แนะนำว่าควรได้รับการรักษามาตรฐานคือการได้รับยายับยั้ง หรือต้านฮอร์โมน เพื่อไม่ให้ผมเกิดการบาง หรือฝ่อไป แต่การรักษาก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

6.ทำทรีตเมนต์กระตุ้น

การทำทรีตเมนต์ช่วยชะลอผมร่วง และกระตุ้นให้ผมงอกใหม่แข็งแรง และช่วยบำรุงหนังศีรษะให้แข็งแรงไปด้วย โดยทรีตเมนต์แต่ละแบบจะมีกลไกการกระตุ้นแต่ตากกันออกไป และอาจจะต้องให้แพทย์เลือกให้เหมาะกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย

7. พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากวิธีแก้ผมร่วง ด้วยวิธีธรรมชาติง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังมีวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และย่นเวลาในการรักษาผมร่วงให้เห็นผลลัพธ์ได้ดี และรวดเร็วขึ้นได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทางการแพทย์เข้ามาช่วยเหลือ

การฉีด PRP ผม เป็นการรักษาด้วย Platelet Rich Plasma (PRP) ซึ่งเป็นการนำเกล็ดเลือดของผู้รักษาเองออกมาประมาณ 10 มิลลิลิตร แล้วทำการปั่นเพื่อแยกส่วนที่เป็นเกล็ดเลือดเข้มข้น ซึ่งมีสารอาหารและ Growth factor ที่ชะลอการหลุดร่วงและกระตุ้นการงอกของเส้นผม จากนั้นฉีดกลับเข้าไปบริเวณที่ผมร่วงบาง

การฉีดสเต็มเซลล์ผม (Rigenera Activa หรือ Regenera Activa) เป็นกระบวนการที่นำเอาเซลล์ต้นกำเนิดจากรากผมมาสกัดและฉีดลงไปบนหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นรากผมให้แข็งแรงและเส้นผมงอกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการหลั่งของฮอร์โมนที่กระตุ้นการร่วงผมด้วย

Low Level Laser Therapy (LLLT) เป็นการกระตุ้นการงอกของเส้นผมโดยใช้คลื่นแสงพลังงานต่ำ ฉายลงไปที่หนังศีรษะ ซึ่งเซลล์บนหนังศีรษะจะดูดซับพลังงานที่ฉายลงมา ทำให้เซลล์ต่าง ๆ บนหนังศีรษะและรากผมทำงานได้ดีขึ้น การหมุนเวียนของเลือดในบริเวณหนังศีรษะทำงานได้เพิ่มขึ้น ทำให้สารอาหารไหลเวียนไปเลี้ยงเส้นผมมากขึ้นไปด้วย


สรุปสาเหตุผมร่วงในผู้ชาย

 สาเหตุผมร่วงในผู้ชาย
สรุปสาเหตุผมร่วงในผู้ชาย

สาเหตุของผมร่วงในผู้ชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน ความเจ็บป่วยไม่สบาย ความเครียด หรือยา หากเราสามารถหาสาเหตุได้ เราก็จะสามารถรักษาได้อย่างตรงจุด และทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวคนไข้เอง

ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic มีคุณหมอแก้ว พญ.ธาริณี ก่อวิริยกมล ที่เป็นทั้งหมอผิวหนัง และหมอปลูกผม ที่มีประสบการณ์มามากกว่า 15 ปี และเป็นสมาชิกสมาคมปลูกผมไทย และนานาชาติ ดูแลคนไข้ได้ทั้งโรคผิวหนังโรคผมร่วงผมบาง และผ่าตัดปลูกผม ดังนั้น หากคุณมีปัญหาผมร่วงผมบาง สามารถเข้ามาปรึกษากับคุณหมอแก้วได้เลยนะคะ 


Ref.

Hair Loss and Male Pattern Baldness (Androgenic Alopecia) | Young Men’s Health (youngmenshealthsite.org)

Causes of Hair Loss – How to Stop Hair Loss for Men (menshealth.com)