หัวล้าน รักษาอย่างไร

หัวล้าน คำนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เด็กหรือวัยรุ่น ตลอดจนผู้สูงอายุ ก็คงไม่อยากตกอยู่ในภาวะนี้ เพราะภาวะหัวล้านอาจทำให้เราขาดความมั่นใจ ส่งผลต่อบุคลิกภาพและการใช้ชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดตามมาได้ ดังนั้น วันนี้เราจะมารู้จักภาวะหัวล้านว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วมีแนวทางการรักษาอย่างไรที่ช่วยดูแลและฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาอีกครั้ง ส่งคืนความมั่นใจให้กับเรา


สรุป หัวล้านเกิดจากอะไร? แนะนำวิธีรักษาให้ผมกลับมาหนา

  • สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมบาง หัวล้าน เกิดจากปัจจัยภายในร่างกายอย่างพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ตลอดจนช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้รากผมเริ่มฝ่อและหลุดร่วงไป
  • โรคทางหนังศีรษะ เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อมหรือโรคผมร่วงฉับพลัน อาจมาจากพันธุกรรม ภูมิคุ้มกัน และความเครียด ทำให้มีภาวะผมร่วงทั่วศีรษะหรือทั่วตัวได้
  • การรับสารอาหารไม่เพียงพอและมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน นับเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของเส้นผมและฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน
  • ผู้ที่ประสบปัญหาหัวล้าน ผมบาง ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางในการตรวจวินิจฉัยสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ เพื่อประเมินหาทางรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ 
  • การรักษาหัวล้าน สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การกระตุ้นรากผม และการปลูกผม ในกรณีที่รากผมฝ่อหรือรูขุมขนบนหนังศีรษะปิดไปแล้ว


ภาวะหัวล้านอาจมีสาเหตุเกิดได้หลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยสาเหตุหลักที่ทำให้หัวล้านสามารถพิจารณาได้ดังนี้

หัวล้าน เกิดจากอะไร

กรรมพันธุ์จากครอบครัวเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบางได้ ซึ่งเป็นภาวะผมร่วงที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยจะเริ่มแสดงอาการในช่วงอายุ 35-49 ปี ลักษณะเส้นผมจะบางกว่าคนทั่วไป ผมหลุดร่วงได้ง่าย และมีแนวโน้มหลุดร่วงเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการศึกษาตำแหน่งใน Gene มากมายเพื่อพิจารณาถึงโอกาสเกิดผมบาง หัวล้านในอนาคต

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ Androgen มีส่วนเร่งให้วงจรผมสั้นลง ส่งผลให้เกิดภาวะผมบาง หัวล้าน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงจาก Testosterone ไปเป็น Dihydrotestosterone (DHT) โดยเอนไซม์ 5-Alpha Reductase ที่บริเวณรากผมและต่อมไขมันที่ผม ซึ่ง DHT จะทำให้ผมมีขนาดเส้นเล็กลง บางลง และฝ่อตัวไปในที่สุด

อายุที่มากขึ้น นอกจากส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงแล้ว ยังส่งผลต่อช่วงอายุขัยของวงจรเส้นผมเช่นกัน โดยพบว่าผมบางเส้นเมื่อครบวงจรชีวิตเส้นผมแล้ว (สร้าง-หยุดทำงาน-หลุดร่วง) ก็จะเริ่มฝ่อตัวและไม่งอกขึ้นใหม่ รวมถึงกระบวนการฟื้นฟูเส้นผมก็เสื่อมลงหรือทำได้ช้าลงตามไปด้วย

หัวล้านจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคที่เกี่ยวข้องกับหนังศีรษะและเส้นผมมีโอกาสทำให้ผมบาง หัวล้านได้เช่นกัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

  • หัวล้านจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) : โรคผมร่วงเป็นหย่อมมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม ภูมิคุ้มกันภายใน หรือภาวะความเครียดความเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะผมร่วงเป็นหย่อม วงเล็ก ๆ อาจเกิดจุดเดียว หรือหลายจุดก็ได้ บางรายอาจพบว่าภาวะผมร่วงทั่วทั้งศีรษะหรือทั่วตัว วิธีการรักษามีทั้ง ทายา ฉีดยา หรือรับประทานยา โดยมากใช้ระยะเวลารักษา 6-12 เดือน
  • หัวล้านจากโรคผมร่วงฉับพลัน (Acute Telogen Effluvium) : เป็นภาวะผมร่วงทั่วทั้งศีรษะหลังจากมีเหตุการณ์ความเครียดอย่างรุนแรงมากระตุ้น มีภาวะเจ็บป่วยไม่สบาย น้ำหนักลดรวดเร็ว หรือหลังคลอดบุตร อาการผมร่วงนี้มักเป็นอยู่ 3-6 เดือน แล้วจะค่อย ๆ หยุดร่วงและงอกขึ้นใหม่ แนะนำให้ใช้แชมพูอ่อน ๆ ไม่หวีผมแรง ทาวิตามินบำรุงผม
  • หัวล้านจากโรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania) : เป็นพฤติกรรมการดึงผมตัวเองทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้เกิดผมร่วง, ผมหัก, ผมขาดเกิดขึ้น รวมถึงเกิดการอักเสบของรากขนด้วย ผมที่ร่วงจะมีความยาวของเส้นผมที่ขาดไม่เท่ากัน อาจพบรอยแดงบนหนังศีรษะหากมีการดึงบ่อย ๆ การรักษาจะร่วมปรึกษากับคุณหมอจิตแพทย์เพื่อช่วยรักษาทางจิตใจหรือทานยาควบคู่ไปด้วย

ความเครียดส่งผลต่อระบบฮอร์โมนบางตัวในร่างกาย ตลอดจนระบบการทำงานของรากผมและเส้นผม ทำให้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของวงจรเส้นผม นำมาสู่การเกิดผมร่วง ผมบาง หัวล้านได้

หากร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุไม่เพียงพอต่อร่างกาย รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีโภชนาการน้อย ย่อมส่งผลต่อความแข็งแรงของเส้นผม ทำให้ผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน


แนวทางป้องกันอาการหัวล้าน
แนวทางป้องกันอาการหัวล้าน
  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ทานอาหารให้ครบหมู่
  3. ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
  4. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผมกระทบต่อสุขภาพ เช่น นอนดึก ดื่มสุรา สูบบุหรี่
  5. หากมีปัญหาผมร่วง ผมบางให้รีบมาปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ต้น เพื่อทราบแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง และป้องกันไม่ให้อาการผมร่วง ผมบางรุนแรงมากขึ้นจนรากผมฝ่อ ต้องรักษาด้วยการปลูกผมแทน

เมื่อเกิดปัญหาหัวล้านตรงกลางศีรษะ เราสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจประเมินการรักษาได้ โดยแนวทางการรักษามีหลากหลายดังนี้

การใช้ยา Finasteride หรือยาทา Minoxidl การใช้ยาจะทำให้ผมฝ่อกลับมามีความแข็งแรงและหนามากขึ้น แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และจะได้ผลดีกับบริเวณที่มีรากผม 

รักษาอาการหัวล้านด้วยการศัลยกรรมปลูกผม
รักษาอาการหัวล้านด้วยการศัลยกรรมปลูกผม

ในกรณีที่รากผมฝ่อหรือรูขุมขนปิดไปแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้ปลูกผมแทน โดยเทคนิคการปลูกผมมีทั้งปลูกผม FUE หรือแบบผ่าตัดปลูกผม FUT ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัญหา สภาพเส้นผม และข้อจำกัดของคนไข้แต่ละราย โดยการปลูกผมที่ Dr.Tarinee Hair Clinic จะใช้เทคนิคพิเศษคือ MicroTRIM FUE เป็นการเตรียมกราฟให้มีขนาดเล็กและพร้อมที่จะปลูกผมกลับ เป็นเทคนิคที่ตอบสนองดีต่อการปลูก ทำให้ได้แนวเป็นธรรมชาติ

รักษาอาการหัวล้านด้วยการกระตุ้นรากผม
รักษาอาการหัวล้านด้วยการกระตุ้นรากผม

นอกจากการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดปลูกผมแล้ว ยังมีการรักษารักษาภาวะหัวล้าน โดยการฉีด PRP ผมที่ช่วยฟื้นฟูบำรุงหนังศีรษะและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม

การฉายเลเซอร์ LLLT เป็นเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำที่ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม ลดการอักเสบของหนังศีรษะ และฟื้นฟูเซลล์หนังศีรษะให้ทำงานดีขึ้น

การฉีดสเต็มเซลล์ผม Rigenera เป็นการนำรากผมมาสกัดสเต็มเซลล์ของตัวเราเองมาฉีดกลับบริเวณผมที่บางหรือ หัวล้าน เพื่อฟื้นฟูกระตุ้นการงอกของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง และยังช่วยรักษาผมบางจากกรรมพันธุ์ได้ด้วย


ไม่จริง ยังไม่มีรายงานอะไรที่บ่งบอกว่าการใส่หมวกทำให้ผมร่วง หัวล้าน แต่การใส่หมวกที่คับเกินไปอาจกดทับศีรษะทำให้ผมร่วงเฉพาะจุด อีกทั้งการใส่หมวกนานเกินไปทำให้เกิดการอับชื้น มีเชื้อรา และเกิดผมร่วงได้

การทำเคมีที่เส้นผมบ่อยเกินไป เช่น ฟอกสีผมบ่อย อาจทำให้ผมเสียขาดและดูผมบางลงได้ แต่ไม่ได้มีผลต่อการมีภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์หรือหัวล้านโดยตรง


ปัญหาหัวล้าน เกิดจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้หัวล้านได้เช่นกัน เช่น ความเครียด, โรคผมร่วงเป็นหย่อม, โรคดึงผม หรืออายุที่มากขึ้น ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาผมบาง หัวล้าน ควรเข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ และป้องกันไม่ให้รากผมฝ่อ สำหรับคนไข้ที่มีรากผมฝ่อก็สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผมได้

หากมีปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน สามารถปรึกษาแพทย์หญิงธาริณี ก่อวิริยกมล ได้ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic โทร 0889519193 หรือไลน์ @drtarinee 


Ref

Chin, H., Sood, T. & Patrick, M. ( 2022, October 16). Androgenetic Alopecia. National Library of Medicine. Androgenetic Alopecia – StatPearls – NCBI Bookshelf (nih.gov)

Goldstein, B. & Goldstein, A. (2022, August 10). Patient education: Androgenetic alopecia in men and women (Beyond the Basics). UpToDate. Patient education: Androgenetic alopecia in men and women (Beyond the Basics) – UpToDate