การมีสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่แข็งแรง จะส่งผลให้มีรูปลักษณ์และบุคลิกที่ดี และช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ค่ะ แต่ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพผมทำให้ประสบปัญหาผมร่วงหรือผมบางได้ เทคนิคปลูกผม FUE จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ
การปลูกผม FUE จะมีความคล้ายคลึงกับการปลูกผม FUT นั่นคือการย้ายรากผมบริเวณหลังศีรษะ มาปลูกบริเวณที่มีปัญหาผมบาง หรือผมร่วง โดยหลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีปลูกผม FUE อยู่ ในบทความนี้แพทย์จาก Dr.Tarinee Hair Clinic จึงจะพาไปรู้จักกับการปลูกผมด้วยเทคนิค FUE เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคนี้มากขึ้นค่ะ
เทคนิคการปลูกผมแบบ FUE คืออะไร
ปลูกผม FUE (Follicular Unit Extraction) คือ หนึ่งในเทคนิคการปลูกผมที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กเพียง 0.8 มม โดยแพทย์จะถ่ายกราฟผมเพื่อรักษาภาวะผมร่วง ผมบางค่ะ ด้วยการใช้เครื่องมือขนาดเล็กหรือ Micropunch เจาะเอากราฟผมที่มีเซลล์ต้นกำเนิดผมติดอยู่ออกมาโดยไม่ผ่าตัดหนังศีรษะ โดยจะใช้เส้นผมบริเวณท้ายทอยเพราะเป็นจุดที่รากผมแข็งแรงที่สุด แล้วปลูกถ่ายเซลล์รากผมกลับไปยังบริเวณที่มีปัญหาผมบาง ผมร่วง โดยผมที่ขึ้นใหม่จะอยู่ได้อย่างถาวร สามารถเจริญเติบโต หรือร่วงได้เช่นเดียวกับผมธรรมชาติ
เทคนิคปลูกผม FUE นี้พัฒนามาจากการปลูกผม FUT ที่มีมาก่อนและยังคงใช้รักษาปัญหาผมร่วง ผมบางจนถึงปัจจุบันค่ะ
ปลูกผม FUE VS ปลูกผม FUT VS DHI ต่างกันตรงไหน
การปลูกผม FUT นั้นมีมาก่อนการปลูกผม FUE ค่ะ เป็นเทคนิคที่ใช้การผ่าตัดหนังศีรษะที่มีเซลล์ต้นกำเนิดผมติดอยู่จากบริเวณท้ายทอยที่แข็งแรงและไม่มีการรบกวนจากฮอร์โมน แล้วแยกออกมาเป็นแถบขนาดกว้างไม่เกิน 1.5-2 เซนติเมตร ส่วนความยาวจะขึ้นอยู่กับจำนวนกราฟผมที่ต้องการใช้ จากนั้นนำมาแยกกราฟผมจากข้างนอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ แล้วปลูกกลับไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา ซึ่งข้อแตกต่างของการปลูกผมของทั้ง 2 รูปแบบมีดังนี้ค่ะ
- การปลูกผม FUE ไม่มีการผ่าตัดหนังศีรษะออกมาเป็นแถบเหมือนกับ FUT จึงทำให้แผลมีขนาดเล็ก สังเกตได้ยาก และใช้เวลาพักฟื้นน้อยค่ะ
- การปลูกผม FUT ใช้แยกจำนวนกราฟผมได้มากกว่า เนื่องจากใช้การผ่าตัดหนังศีรษะท้ายทอยแล้วเย็บปิดคืน ผมจึงดูไม่บางลงค่ะ แต่การปลูกผม FUE ต้องเจาะกอผมออกมา อาจทำให้บริเวณที่ถูกเจาะบางลง เพราะกอผมที่ถูกย้ายออกไปจะไม่มีผมขึ้นมาใหม่อีกค่ะ
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งเทคนิคที่ควรรู้จักไว้คือ การปลูกผม DHI ที่เป็นขั้นตอนการปลูกกลับผมโดยใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งจะช่วยให้กราฟผมอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ช่วยลดความเสียหายขณะปลูกกลับ และเพิ่มอัตราความสำเร็จในการปลูกผมมากขึ้น โดยเทคนิคนี้ใช้ได้กับทั้งการปลูกผม FUE และ FUT เลยค่ะ
สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผม FUT อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ปลูกผม FUT
ขั้นตอนการปลูกผม FUE


- คนไข้ต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อประเมินว่าสามารถรักษาปัญหาผมด้วยวิธีปลูกผม FUE ได้หรือไม่
- หากสามารถปลูกผมด้วยเทคนิคดังกล่าวได้ แพทย์จะแจ้งเกี่ยวกับข้อปฏิบัติก่อนและหลังปลูกผม รวมถึงผลลัพธ์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างละเอียด
- ก่อนเริ่มปลูกผม เจ้าหน้าที่จะทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะคนไข้ด้วยแชมพูฆ่าเชื้อ และอาจถ่ายรูปไว้เพื่อติดตามการรักษา
- แพทย์จะเริ่มวาดแนวผมที่ต้องการปลูก เพื่อปรับให้เข้ากับรูปหน้าของคนไข้ ในขั้นตอนนี้คนไข้สามารถร่วมออกแบบกับแพทย์ได้
- เมื่อออกแบบแนวผมที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อย อาจมีการถ่ายรูปไว้อีกครั้งค่ะ
- เริ่มทำหัตถการปลูกผม FUE โดยแพทย์จะใช้ยาชากับบริเวณที่จะปลูกผม
- แพทย์จะให้คนไข้นอนคว่ำหน้า แล้วเจาะนำกราฟผมจากบริเวณท้ายทอยออกมา โดยใช้ Micropunch เจาะกดเข้าไปตามทิศทางของแกนผมอย่างละเอียดแม่นยำ เพื่อแยกกราฟผมออกจากหนังศีรษะให้สมบูรณ์ที่สุด
- การเก็บเกี่ยวกราฟผมอาจใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง โดยที่คนไข้จะรับรู้ตลอดกระบวนการ ระหว่างนี้หากคนไข้ต้องการพักเข้าห้องน้ำก็สามารถแจ้งแพทย์ได้ค่ะ
- หลังเก็บเกี่ยวกราฟผมแล้ว แพทย์อาจให้คนไข้พักรับประทานอาหารก่อนได้
- เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการปลูกกลับผมด้วยเทคนิคปลูกผม DHI โดยแพทย์จะฉีดยาชาให้คนไข้และรอจนกว่ายาชาเริ่มทำงานค่ะ
- แพทย์ทำการปลูกผมกลับไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาทีละกอ โดยใช้เวลาอีก 2-4 ชั่วโมงค่ะ
- เมื่อปลูกผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะฉายแสงจากเครื่อง Heallite ไปที่ศีรษะคนไข้เพื่อกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น ก่อนจะให้คนไข้กลับบ้าน โดยจะนัดคนไข้มารับการฉายแสงซ้ำในวันถัดไปและอีกสองวันหลังจากนั้นค่ะ
ก่อนผ่าตัดปลูกผม FUE ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

เมื่อผ่านการประเมินแล้วว่าสามารถปลูกผม FUE ได้ ก่อนเริ่มหัตถการคนไข้อาจเตรียมตัวให้พร้อม ดังต่อไปนี้ค่ะ
- นัดหมายวันเข้ารับการทำหัตถการปลูกผม โดยพิจารณาไปถึงหลังการรักษาว่ามีกิจกรรมที่จำเป็นต้องสัมผัสกับแสงแดดหรือน้ำหรือไม่
- ก่อนทำหัตถการปลูกผม FUE 7-14 วัน คนไข้ต้องงดยาหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน วิตามินอี น้ำมันตับปลา ยาสลายลิ่มเลือด เป็นต้น
- หากมีโรคประจำตัว มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำหรือกำลังรับประทานอยู่ในช่วงนี้ หรือหากมีประวัติแพ้ยาชา คนไข้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำหัตถการค่ะ
- งดแอลกอฮอล์และบุหรี่ ในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการปลูกผมค่ะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมรับประทานน้ำและอาหารมาก่อนทำการปลูกผม
- ในวันทำหัตถการปลูกผม ควรมีผู้ติดตามคนไข้มาด้วย และคนไข้ไม่ควรขับรถกลับเองหลังปลูกผมเสร็จ เนื่องจากอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือสะลึมสะลือได้ค่ะ
- คนไข้ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะดวกต่อการถอดเปลี่ยนหลังทำการปลูกผมค่ะ
หลังผ่าตัดปลูกผม FUE ควรดูแลตนเองอย่างไร?
เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงและเพิ่มโอกาสสำเร็จในการปลูกผม FUE มากขึ้น หมอก็มีข้อแนะนำในการดูแลตนเองมาฝากค่ะ
- ไม่แกะเกาบริเวณที่ทำการปลูกผม ในช่วง 1-5 วันแรกหลังทำหัตถการ แพทย์จะนัดคนไข้ดูแผล พร้อมทำความสะอาดบริเวณแผลให้ค่ะ หากแพทย์อนุญาตให้สระผมได้เองแล้ว แนะนำให้ใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนอย่างน้อย 1 เดือนหลังปลูกผมค่ะ
- รับประทานยาฆ่าเชื้อที่แพทย์จ่ายให้จนครบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการดื้อยาในอนาคต
- หากมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์จ่ายให้ วันละ 1 เม็ดในช่วง 3 วันแรกค่ะ
- หลังปลูกผม FUE แพทย์อาจนัดคนไข้มาดูแผลในช่วง 1-5 วันแรก และจะเว้นระยะการนัดพบทุก ๆ 1 เดือน ทั้งนี้ หลังครบ 6 เดือนก็จะนัดทุก ๆ 3 เดือนจนครบ 1-1 ปีครึ่ง เพื่อติดตามผลค่ะ
- งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังปลูกผมเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
- งดทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสกับน้ำอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังปลูกผมค่ะ
- สามารถจัดแต่งทรงผมหลังปลูกผมไปแล้ว 1 สัปดาห์ สำหรับการตัดแต่งทรงผม 2 สัปดาห์ และสำหรับการทำสีผม 1 เดือนค่ะ
- หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง, ปวดแผลมาก, มีเลือดออกมาก หรือหนังศีรษะไม่มีความรู้สึก ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว
ปลูกผม FUE มีข้อดีและข้อจำกัดอะไรบ้าง?
หมอได้รวบรวมข้อดีและข้อจำกัดของการปลูกผม FUE เพื่อใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจ ดังนี้ค่ะ
ข้อดีในการปลูกผม FUE
- การปลูกผม FUE สามารถแยกกราฟผมจากศีรษะได้โดยไม่ต้องผ่าตัดแยกหนังศีรษะ แผลจึงมีขนาดเล็ก คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บมาก และใช้เวลาพักฟื้นน้อย
- คนไข้ไว้ผมสั้นได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากรอยแผลเป็นเล็กมาก สังเกตได้ยาก
- รักษาภาวะผมร่วง ผมบางที่เกิดจากกรรมพันธุ์ได้
- ผมที่ขึ้นมาใหม่จะคงอยู่อย่างแข็งแรงถาวร
- ช่วยแก้ปัญหาผมแหว่งจากรอยแผลเป็นบริเวณหนังศีรษะได้
ข้อจำกัดในการปลูกผม FUE
- การปลูกผม FUE เป็นเทคนิคที่ต้องใช้ความชำนาญและความอดทนของแพทย์สูง เพราะต้องใช้เวลาและความแม่นยำทั้งในขั้นตอนการแยกกราฟผมและการปลูกกลับค่ะ
- ไม่เหมาะกับผู้ที่มีผมบางหรือศีรษะล้านทั่วศีรษะ เพราะจำนวนกราฟผมอาจไม่เพียงพอค่ะ
- ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้กราฟผมจำนวนมาก เพราะจะทำให้บริเวณที่เก็บเกี่ยวกราฟบางลง
เทคนิคการปลูกผม FUE เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางจากกรรมพันธุ์
- ผู้ที่ต้องการแก้ไขปิดรอยแผลบนหนังศีรษะ
- ผู้ที่มีเวลาพักฟื้นน้อย
- ผู้ที่ใช้จำนวนกราฟผมไม่มาก
- ผู้ที่ต้องการปรับแนวไรผมเพื่อปรับรูปหน้าให้ละมุนขึ้น
ปลูกผม FUE กับ Dr.Tarinee Hair Clinic

ปัจจุบันเทคนิคปลูกผม FUE ได้รับความนิยมมาก จึงมีโรงพยาบาลและคลินิกที่ใช้เทคนิคปลูกผมดังกล่าวมากมาย ซึ่งการเลือกปลูกผมที่ไหนดีนั้นควรจะพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ความชำนาญของแพทย์อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย และคลินิกสะอาดและได้มาตรฐาน หากใครไม่รู้จะเลือกปลูกผมที่ไหนดี สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ปลูกผมที่ไหนดี
ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic โดยคุณหมอธาริณีหรือคุณหมอแก้ว แพทย์เฉพาะทางโรคเส้นผมและหนังศีรษะ พร้อมให้บริการดูแลปัญหาผมอย่างครบวงจร ทั้งรักษาโรคและผ่าตัดปลูกผมด้วยเทคนิคปลูกผม FUE หรือเทคนิคอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ตั้งแต่วางแผนการรักษา ดำเนินการรักษาด้วยเทคนิคและเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย จึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและเป็นที่พึงพอใจค่ะ
รีวิวการปลูกผม FUE ที่Dr.Tarinee Hair Clinic


ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic มีเทคนิคปลูกผมที่หลากหลายให้คนไข้ได้วิธีรักษาที่เหมาะกับตนเองมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือการปลูกผม FUE นั่นเองค่ะ คนไข้ที่มีปัญหาผมร่วง, ผมบาง, หน้าผากกว้าง, หน้าผากสูง หรือต้องการปรับให้รูปหน้าดูละมุนขึ้น คุณหมอแก้วก็สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด ให้คนไข้กลับมามีความมั่นใจได้อีกครั้ง ซึ่งคนไข้ทุกรายที่เข้ารับการปลูกผมกับเรา จะได้รับการรักษาจากคุณหมอแก้วโดยตรงค่ะ
ปลูกผม FUE แก้ปัญหาผมบางโดยไม่ต้องพักฟื้นนาน
ปลูกผม FUE เป็นเทคนิคปลูกผมที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ช่วยแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบางให้ผมกลับมาขึ้นใหม่อย่างแข็งแรงและถาวรอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังเกิดแผลขนาดเล็ก จึงใช้เวลาพักฟื้นน้อย คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วค่ะ
หากคุณมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ต้องการปรึกษาการปลูกผม กับคุณหมอ สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ คุณหมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
- Website : คลินิกปลูกผม Dr.Tarinee Hair Clinic
- Line : @drtarinee
- Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง
References
Dua, A & Dua, K. (2010). Follicular Unit Extraction Hair Transplant. Journal of Cutaneous and Aesthetic Surgery, 3(2): 78-81. doi: 10.4103/0974-2077.69015
Jewell, T. (2020, July 14). Everything to Know About a FUE Hair Transplant. Healthline. https://www.healthline.com/health/cosmetic-surgery/everything-to-know-about-a-fue-hair-transplant
Pathania, V. Sood, A. Beniwal, N. Baveja, S. Shankar, P. & Patrikar, S. (2021). Randomized control trial to study the efficacy and safety of platelet-rich plasma as intraoperative holding solution in hair restoration surgery: A pilot study. Medical Journal Armed Forces India, 79(1): 1-7. doi:10.1016/j.mjafi.2021.04.015
Bernstein, RM. Rassman, WR. Szaniawski, W. & Halperin, AJ. (1995). Follicular Transplantation. International Journal of Aesthetic and Restorative Surgery. 3(2): 119-132. https://www.bernsteinmedical.com/research/follicular-transplantation/