รากผมไม่แข็งแรง

ไม่ว่าใครก็อยากจะมีเส้นผมที่หนาดกดำเงางามแลดูสุขภาพดี แต่ถ้าเมื่อไหร่เกิดปัญหาผมร่วงเยอะผิดปกติ ผมบางเห็นชัดก็อาจทำให้เกิดความกังวลและขาดความมั่นใจได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็มักมีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก “รากผมไม่แข็งแรง” ที่มีหลายปัจจัยกระตุ้นทำให้รากผมอ่อนแอ ฝ่อตัวลง ไม่สามารถสร้างเส้นผมที่แข็งแรงดังเดิมได้ 

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับรากผมกันว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร มีหน้าที่อย่างไร แล้วปัญหารากผมไม่แข็งแรงเกิดจากอะไรกันแน่ และจะมีวิธีการดูแลรากผมให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งอย่างไรได้บ้าง ตามมาอ่านกันได้เลย

อธิบายความหมายของ รากผม 

รากผม
รากผม

รากผม (Hair Root) คือ ส่วนที่ฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณหนังศีรษะ ฝังตัวลึกตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้าไปจนถึงชั้นหนังแท้ หรืออาจมีขนาดยาวลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยจะประกอบไปด้วยต่อมรากผม (Hair Follicle) ที่มีหน้าตาคล้ายหลอด เชื่อมต่อกับเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ เช่น ต่อมไขมัน เส้นประสาท และลึกลงไปนั้นจะเรียกว่ากระเปาะผม (Hair Bulb) มีลักษณะเป็นกระเปาะโป่งพอง มาพร้อมกับปุ่มปลายแหลม (Papilla) ที่เต็มไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาท ทำหน้าที่คอยดูดซึมและลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ หรือสร้างเซลล์ผมใหม่ ให้ได้เส้นผมชุดใหม่ที่แข็งแรงสุขภาพดี

หน้าที่ของรากผม 

ปัญหารากผมไม่แข็งแรง
ปัญหารากผมไม่แข็งแรง

สำหรับหน้าที่หลัก ๆ ของรากผมนั้นคือการช่วยสร้างเส้นผมชุดใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม และคอยลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ ผ่านปุ่มปลายแหลมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแก่ผมชุดเก่า สามารถช่วยชะลอการเกิดปัญหาผมร่วง ผมบางในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากปุ่มปลายแหลมบริเวณรากผมเกิดฝ่อ ตาย ไม่สามารถลำเลียงอาหารได้อีกต่อไปแล้ว เส้นผมที่จะงอกใหม่ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ และเส้นผมชุดเก่าก็อาจอ่อนแอ หลุดร่วงลง และอาจเกิดปัญหาผมบาง ศีรษะล้านได้ในที่สุด ฉะนั้นแล้วจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องดูแลรากผมให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อที่ว่าจะได้สัมผัสกับเส้นผมที่มีแข็งแรง ดกดำ ไม่หลุดร่วงง่ายนั่นเอง

ผมร่วงเพราะรากผมไม่แข็งแรงจริงไหม

ผมร่วงเพราะรากผมไม่แข็งแรง
ผมร่วงเพราะรากผมไม่แข็งแรง

ปัญหาผมร่วง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ความเครียด พฤติกรรมใช้ชีวิตประจำวัน โรคภัยไข้เจ็บบางประเภท แต่ขณะเดียวกันสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยของปัญหาผมร่วงนั้นมาจากปัญหารากผมไม่แข็งแรง ทำให้เส้นผมที่เคยเกาะแน่นอยู่บนศีรษะเกิดขาดหลุดร่วง และเกิดปัญหาผมบาง ศีรษะล้านตามมาในอนาคต โดยปัญหาผมร่วงที่เกี่ยวข้องกับอาการรากผมไม่แข็งแรงนั้น มีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น

– รากผมไม่แข็งแรงจากกรรมพันธุ์ ทำให้สร้างเส้นผมที่เล็ก บางหลุดร่วงง่าย

– รากผมไม่แข็งแรงเนื่องจากระดับฮอร์โมน DHT ที่มีความแปรปรวนผิดปกติ ทำให้รากผมฝ่อตัว ลำเลียงสารอาหารได้ไม่เต็มที่ และกลายเป็นปัญหาผมร่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ชาย

– ปัญหาผมร่วง รากผมไม่แข็งแรงเนื่องจากเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณรากผม ทำให้เซลล์บริเวณนั้นทำงานผิดปกติ ไม่สามารถสร้างเส้นผมที่แข็งแรงได้ พบได้บ่อยในผู้ที่มีโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)

– ผมร่วงเยอะมาก รากผมไม่แข็งแรงเนื่องจากอยู่ในระยะพัก หรือระยะหยุดเจริญการเติบโต (Telogen Phase) ทำให้เส้นผมหลุดร่วงอย่างฉับพลัน หรือเรียกว่าโรคผมร่วงฉับพลัน (Telogen Effluvium)

– รากผมไม่แข็งแรง ผมร่วงเนื่องจากโรคภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ เช่น โรค DLE

– อาการอักเสบ หรืออุดตันบริเวณรูขุมขนหนังศีรษะ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รากผมไม่แข็งแรง และทำให้ผมร่วงในอนาคตได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ผมบางแล้ว อาจเสี่ยงอักเสบ ติดเชื้อลุกลามได้ แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด 

วิธีแก้ปัญหารากผมไม่แข็งแรง

วิธีรักษารากผมไม่แข็งแรง
วิธีรักษารากผมไม่แข็งแรง

หลังจากทำความรู้จักกับรากผม หน้าที่สำคัญของรากผม หรือแม้แต่สาเหตุหลักที่ทำให้รากผมไม่แข็งแรง เกิดเป็นปัญหาผมร่วงกันไปแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลามองหาวิธีที่จะช่วยกอบกู้รากผมให้กลับมาแข็งแรงมากยิ่งขึ้นอีกครั้ง ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้ 

1. สระผมให้ถูกวิธี

การดูแลรากผมให้แข็งแรงนั้นสามารถเริ่มได้จากการดูแลทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะให้ถูกวิธี เพราะเมื่อไหร่ที่หนังศีรษะสะอาด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงรากผมอุดตัน หรือรากผมอักเสบ และชะลอการเปิดปัญหาผมร่วงได้เป็นอย่างดี โดยควรสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนจัด เย็นจัดในการสระผม พร้อมเลี่ยงการเกาหนังศีรษะแรง ๆ ขณะสระผม แนะนำว่าให้ค่อย ๆ ใช้ปลายนิ้วนวดวนขณะสระผมจะดีที่สุด เพราะสามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตถือเป็นการทำให้รากผมแข็งแรงไปในตัวได้ นอกจากนี้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะที่อ่อนโยน เหมาะกับสภาพหนังศีรษะร่วมด้วย 

2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำร้ายรากผม

รู้หรือไม่? ว่าเราอาจจะกำลังมีพฤติกรรมที่ทำร้ายรากผมให้ฝ่อง่าย เสี่ยงต่อปัญหาเส้นผมอ่อน ผมร่วงโดยไม่รู้ตัวอยู่ก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกาหนังศีรษะแรง ๆ การถอนผม การดึงผม การใช้สารเคมี หรือความร้อนกับเส้นผมและหนังศีรษะมากเกินไป หรือแม้แต่การมัดผมตึงมากเกินไป ก็ถือเป็นสาเหตุรากผมไม่แข็งแรงได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้รากผมเกิดอาการระคายเคือง เสี่ยงอุดตัน เสี่ยงติดเชื้อรากผม และทำให้รากผมฝ่ออย่างถาวรในที่สุด ฉะนั้นถ้าคุณกำลังมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่แนะนำรีบปรับเปลี่ยนโดยด่วน

3. รับประทานอาหารและวิตามินบำรุงกรากผม

มากไปกว่าการดูแลทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะอย่างถูกวิธี และปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงทำร้ายรากผมแล้ว อีกหนึ่งวิธีแก้ปัญหารากผมไม่แข็งแรงได้ดีที่สุดเลยก็คือ การเลือกรับประทานอาหารบำรุงผมที่มีประโยชน์และมีสารอาหารเพียงพอ โดยเฉพาะอาหารกลุ่มโปรตีน รวมถึงอาจรับประทานอาหารเสริม วิตามินบำรุงผมเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เช่น ไบโอติน ซิงก์ อาหารเสริมกลุ่มวิตามิน B ธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างเซลล์รากผมให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

4. ฉีด PRP

ถ้าหากว่าปัญหารากผมไม่แข็งแรงที่คุณกำลังเผชิญอยู่นั้นรุนแรงจนเส้นผมร่วงเยอะผิดปกติ หรือมีปัญหาด้านสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะอื่น ๆ แนะนำควรอาศัยวิธีทางการแพทย์เพื่อรักษาอย่างตรงจุด โดยเฉพาะการฉีด PRP ผมหรือการนำเกล็ดเลือดเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารอาหารและ Growth Factor ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผมมาฉีดบริเวณหนังศีรษะที่มีปัญหา หรือฉีดทั่วศีรษะเพื่อทำให้รากผมแข็งแรง และเป็นการกระตุ้นการสร้างเส้นผมชุดใหม่ที่แข็งแรง ไม่หลุดร่วงง่าย ช่วยให้ผมของคุณดกหนาสวยงามกว่าเดิม

สำหรับการรักษารากผมไม่แข็งแรงด้วยการฉีด PRP ผมนั้น ถือเป็นวิธีกระตุ้นรากผมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากใช้เลือดของตัวเองแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเสียเวลาผ่าตัด พักฟื้น แถมเห็นผลลัพธ์ในการกระตุ้นความแข็งแรงของเซลล์รากผมได้อย่างชัดเจนอีกด้วย 

ข้อสรุป รากผมไม่แข็งแรง

รากผม ส่วนสำคัญที่สุดในการสร้างเส้นผม เมื่อไหร่ที่รากผมไม่แข็งแรง เกิดอาการฝ่อ หรือตายลงไป ก็ล้วนส่งผลให้เส้นผมนั้นอ่อนแอ มีปัญหาเส้นเล็กเส้นบาง หลุดร่วงง่ายในอนาคตได้ กลับกันถ้ารากผมได้รับการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการเริ่มจากตัวเองแบบง่าย ๆ เช่น การสระผมให้ถูกวิธี เลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายรากผม หรืออาศัยนวัตกรรมทางการแพทย์ต่าง ๆ ก็สามารถมั่นใจได้เลยว่าจะช่วยลดปัญหารากผมไม่แข็งแรง ชะลอการเกิดปัญหาผมร่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน แต่ถ้าหากพบอาการผมร่วงที่เยอะจนผิดสังเกต แนะนำว่าควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัย และคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

Reference

What is a hair follicle? – myhair

Thinning Hair: Causes, Treatment, Vitamins, and More (healthline.com)

Thinning hair: Causes, types, treatment, and remedies (medicalnewstoday.com)

Thinning hair in women: Why it happens and what helps – Harvard Health