ปกติผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วง เป็นปัญหาที่หมอพบว่ามีคนมาปรึกษาบ่อยมาก ทั้งในเพศชายและเพศหญิง และมีหลายช่วงอายุ ซึ่งปัญหาผมร่วงในแต่ละรายมีสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาแตกต่างกันไป วันนี้หมอจะพยายามรวบรวมความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผมร่วงไว้ในบทความให้มากที่สุดเพื่อให้เปิดประโยชน์กับผู้ที่ประสบปัญหามากที่สุดนะคะ



ลักษณะอาการผมร่วง

โดยปกติผมของเรามีหลุดร่วงได้เนื่องจากผมของเราจะมีช่วงผลัดแล้วค่อยสร้างใหม่โดยปกติผมเราจะร่วง 100-150 เส้นต่อวัน และอาจจะร่วงมากขึ้นในวันที่สระผมถึงวันละ200 เส้นต่อวัน

แต่ถ้าผมเราหลุดร่วงออกมามากกว่า150เส้นต่อวัน หรือเมื่อเราสางผมแล้วมีผมหลุดร่วงติดมือมาตลอด หรือออกมาเป็นกระจุกถือว่าเป็นการที่ผมร่วงมากกว่าปกติ ถือว่าผมร่วงมากกว่าปกติ ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์ค่ะ


สาเหตุของปัญหาผมร่วง

สาเหตุของปัญหาผมร่วง
สาเหตุของปัญหาผมร่วง

สาเหตุของผมร่วงแต่ละคนมีสาเหตุแตกต่างกันไป บางคนมีหลายปัจจัยมาก่อให้เกิดผมร่วงในคราวเดียวกัน วันนี้หมอจะนำสาเหตุที่พบบ่อยมาอธิบายให้ฟังคร่าวๆ นะคะ มาดูกันว่ามีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรกันบ้างที่ทำให้ผมร่วง

1.กรรมพันธุ์

ภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์อาจจะไม่ทำให้ผมร่วงโดยตรง เนื่องจากกรรมพันธุ์จะทำให้ผมจากเส้นอ้วนหนาสมบูรณ์แข็งแรง เปลี่ยนเป็นเส้นบางทำให้เห็นว่าผมบางลง หรือ ฝ่อลง หลุดร่วงง่ายขึ้น ดังนั้น เวลาที่เรามีประวัติคนในครอบครัวผมบาง หรือเมื่อเราอายุมากขึ้น ผมเราจะเส้นเล็กลง และหลุดร่วงง่ายขึ้น

2.ฮอร์โมน

ฮอร์โมนทั้งให้เพศหญิงและเพศชายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมีส่วนทำให้ผมร่วงได้ เช่น ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงหลังคลอดทำให้มีภาวะผมร่วงหลังคลอดได้ หรือผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดบางชนิดอาจจะส่งผลให้มีผมร่วงตามมาได้

3.ความเครียด

ความเครียดเป็นปัจจัยที่พบบ่อยมากว่าทำให้เกิดภาวะผมร่วงในปัจจุบัน เนื่องจากความเครียดส่งผลต่อการกระตุ้นการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และกระตุ้นให้เกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้เกิดผมร่วงตามมา ความเครียดที่เกิดจากภาวะจิตใจโดยตรงและเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ด้วยเช่นกัน เช่นทำงานหนัก พักผ่อนน้อย น้ำหนักลงเยอะๆ ในเวลาอันสั้น ก็สามารถส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียด เกิดผมร่วงตามมาได้

4.โรคภัยไข้เจ็บ

ภาวะเจ็บป่วยไม่สบาย โรคภัยไข้เจ็บส่งผลต่อวงจรผมได้ เช่น หลังเป็นไข้เลือดออก หลังติดเชื้อโควิด ภาวะเหล่านี้สามารถทำให้เกิดผมร่วงตามมาหลังจากไม่สบายได้ 1-3 เดือน หลังจากนั้น เมื่อร่างกายฟื้นฟูผมจะค่อยๆ ร่วงน้อยลง

5.ผมร่วงหลังผ่าตัด

ภาวะหลังผ่าตัดโดยเฉพาะผ่าตัดแบบดมยาสลบ อาจจะมียาบางตัวที่ทำให้เกิดผมร่วงหลังผ่าตัดได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดใหญ่ หรือผ่าตัดยาวนาน ร่างกายและจิตใจเกิดความเครียด จึงทำให้ผมร่วงหลังผ่าตัดได้

6.ผมร่วงหลังคลอดหลังจากคลอด

ผมร่วงหลังคลอดเป็นภาวะที่พบบ่อยในคุณผู้หญิง หลังคลอดบุตร 3-5 เดือน เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังคลอด และภาวะเหนื่อยล้าจากการดูแลทารกและการสูญเสียแร่ธาตุไปกับการให้นมบุตร หลังจากนั้นหากคุณแม่ดูแลร่างกายดี ทานอาหารครบหมู่ ได้พักผ่อน ร่างกายจะค่อยๆ ฟื้นฟู ผมจะร่วงน้อยลงและกลับมาขึ้นใหม่ได้ตามปกติ

8.รังแค

ภาวะรังแคหรือภาวะการอักเสบของหนังศีรษะ ทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากรังแคอาจจะเกิดจากความแห้ง หรือการอักเสบของหนังศีรษะและทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาได้ เมื่อเกิดการอักเสบ ส่งผลต่อรากผม ทำให้รากผมไม่แข็งแรง และเกิดการหลุดร่วงตามมา ดังนั้น เมื่อมีรังแค แนะนำให้รักษารังแคด้วยแชมพูหรือยาก่อน เพื่อช่วยชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม เพราะถ้าหนังศีรษะยังอักเสบผมจะยังคงร่วงต่อเนื่องได้

9.กิจวัตรประจำวัน

กิจวัตรประจำวันบางอย่างอาจจะกระตุ้นให้ผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ดึงผม เกาหนังศีรษะแรง ใช้ความร้อนกับผมมากเกินได้ หวีผมแรงหรือบ่อยเกินไป ถอนผม เหล่านี้ทำให้ผมร่วงตามมาได้


ปกติผมร่วงวันละกี่เส้น 

ผมร่วงวันละกี่เว้นต่อวัน
ปกติผมร่วงวันละกี่เส้น

ปกติผมของเรามีจำนวนแตกต่างกันตามเชื้อชาติ ตั้งแต่ 90,000-140,000 เส้นบนศีรษะของเรา แต่ผมก็มีวงจรตั้งแต่ เริ่มสร้างจากราก เจริญเติบโต หยุดสร้าง ร่วงออก แล้วกลับมาสร้างใหม่ โดยที่การร่วงจะไม่พร้อมกันทุกเส้น ดังนั้นเมื่อมีผมร่วง ก็จะมีการงอกใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน โดยปกติผมร่วงได้ 100-150 เส้นต่อวัน และในวันที่สระผม ผมอาจจะร่วงได้ถึง 200 เส้นต่อวัน ถ้าเรามีร่วงมากกว่านั้น ถือว่าผิดปกติ ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์


ผู้ชาย และ ผู้หญิง ผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วงกับความแตกต่างของผู้หญิงและผู้ชาย
ผู้ชาย และ ผู้หญิง ผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วงในผู้หญิงและผู้ชายอาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยผู้ชายจะมีจำนวนผมที่ร่วงต่อวันน้อยกว่า คือ 50-60 เส้นต่อวัน ส่วนผู้หญิง จะร่วง 100-150 เส้นต่อวัน และส่วนใหญ่ผู้หญิงจะผมยาวกว่าจึงเห็นผมร่วงเป็นก้อน หรือปริมาณมากกว่าผู้ชายที่ผมสั้นกว่า และสาเหตุการร่วงของทั้งสองเพศก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุโดยแพทย์ละเอียดอีกครั้ง หากคุณผมร่วงมากกว่าปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ค่ะ


ผมร่วงวันละกี่เส้น นับอย่างไร

นับว่าผมร่วงวันละกี่เส้นอย่างไร
ผมร่วงวันละกี่เส้น นับอย่างไร

ส่วนใหญ่หมอจะแนะนำให้สุ่มนับจำนวนเส้นผมที่ร่วงทั้งหมดในแต่ละวันแล้วจดไว้ เพื่อดูแนวโน้มว่าผมเราร่วงดีขึ้นหรือยัง แต่ไม่อยากให้คนไข้เครียดกับจำนวนผมที่ร่วงมากเกินไป เพราะความเครียดทำให้ผมยิ่งร่วงมากขึ้น จึงแนะนำให้ลองสุ่มบางวันนับผมที่ร่วงดูว่าได้เท่าไหร่ มากขึ้น หรือลดลงอย่างไร

หรือบางท่านหมอจะแนะนำให้ลองเอามือสางผมทั่วๆ ดูว่ายังมีผมหลุดร่วงติดมือมามากน้อยแค่ไหน เพื่อเป็นการประเมินการรักษาไปด้วย


สังเกตอย่างไรว่า ผมร่วงเยอะผิดปกติ 

ผมร่วงเยอะมากผิดปกติ
สังเกตอย่างไรว่า ผมร่วงเยอะผิดปกติ

อาการอย่างไรที่บ่งบอกว่าผมเราร่วงมากกว่าปกติ 

  • ผมร่วงมากกว่า 100-150 เส้นต่อวัน
  • ผมร่วงเป็นกำทุกครั้งที่เอามือสางผม
  • ผมร่วงเป็นหย่อม
  • เจ็บศีรษะทั่วพร้อมกับมีผมร่วง
  • ผมบางลงเร็วจะเห็นหนังศีรษะชัดเจน
  • มีผื่นแผล หรือรังแคที่ศีรษะ ร่วมกับมีผมร่วง
  • ผมร่วงหลังคลอด หรือหลังเจ็บป่วยไม่สบายนานเกิน 3 เดือนยังไม่ดีขึ้น
  • ผมร่วงหลังรับประทานยาบางชนิด

ผมร่วงเยอะมาก ควรพบแพทย์ไหม

หากมีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ จะช่วยชะลอการหลุดร่วง และหากมีสาเหตุที่แก้ไขได้ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที ไม่ทำให้ผมร่วงบางไปมากกว่าเดิมจนเกิดความไม่สบายใจ หรือกังวลใจกับตัวคนไข้


วิธีแก้ปัญหาผมร่วงเยอะ 

วิธีแก้และรักษาปัญหาผมร่วง
วิธีแก้ปัญหาผมร่วงเยอะ

เมื่อเรามีปัญหาผมร่วงเกิดขึ้น หมอจะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือบางท่านต้องตรวจเลือดหาสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงมากผิดปกติ หลังจากนั้น จะแนะนำการดูแลตัวระหว่างที่ผมร่วง การใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน หรือในบางรายที่มีรังแคต้องใช้แชมพูรักษารังแค งดหวีผมแรง ทานอาหารให้ครบหมู่ พักผ่อน คลายความเครียดลง ทานวิตามินช่วยบำรุงหนังศีรษะช่วยฟื้นฟูหนังศีรษะและเส้นผม หรือเมื่อพบสาเหตุเกิดจากอะไร แก้ไขไปตามสาเหตุ หากการรักษาดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น หมอจะแนะนำวิธีแก้ผมร่วงดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยเพิ่มความหนาของผม และชะลอการร่วงของผม 

1.ปลูกผม

การปลูกผมจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเส้นผมในบริเวณที่รากผมฝ่อไปแล้ว ในกรณีที่ผมร่วงมานาน หรือ มาตรวจพบว่าตรงบริเวณนั้นไม่มีรากผมอยู่แล้ว การปลูกจะเป็นการรักษาที่ถาวร เพราะเป็นการย้ายผมที่มีรากผมที่แข็งแรงมาปลูกบริเวณที่เราเห็นว่าบางหรือไม่มีรากผมแล้ว ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไข้ได้

2.ฉีด PRP ผม

การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ ฉีด PRP จะประกอบไปด้วยสาร growth factor และ สารที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์มากมาย ช่วยชะลอการหลุดร่วงของเส้น และทำให้ผมที่งอกใหม่และหนังศีรษะแข็งแรงขึ้น และเป็นการรักษาที่ปลอดภัย เนื่องจากใช้เลือดตัวเอง ไม่มีสารเคมีอื่นเจือปนเลย

3.ฉีดสเต็มเซลล์ผม

การ ฉีดสเต็มเซลล์ผม เป็นการฟื้นฟูรากผมและเพิ่มการงอกใหม่ที่ขั้นสูงขึ้นมาจาก PRP อีกขั้น เพราะ เราได้นำเอารากผมของคนไข้เองมาสกัดเอาสเต็มเซลล์ และได้สารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ กระตุ้นให้เซลล์รากผมที่ฝ่อกลับมาแข็งแรง และงอกออกมาใหม่ เรียกได้ว่าเป็นการเอาเซลล์มาซ่อมเซลล์นั้นเอง และปลอดภัยเนื่องจากเป็นสเต็มเซลล์จากตัวคนไข้เอง เหมาะกับคนที่ต้องการฟื้นฟูรากผมขั้นสุด และคนที่ไม่อยากปลูกผม หรือผมบางมากทั้งศีรษะไม่สามารถปลูกผมได้

4.LLLT 

การฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำจะช่วย ชะลอการหลุดร่วง ลดการอักเสบที่ศีรษะ และกระตุ้นให้รากผมใหม่แข็งแรงขึ้น โดยการฉาย LLLT มีความปลอดภัยสูงมาก ผลข้างเคียงน้อย ไม่เจ็บเลย ได้ผลดีแต่ต้องทำต่อเนื่องจึงจะได้ผล 


ข้อสรุป ผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วงเป็นภาวะปกติที่เจอได้คือร่วง 100-150 เส้นต่อวัน หากคุณมีผมร่วงมากกว่านั้น หรือมีผื่น มีแผล มีอาการเจ็บศีรษะ หรือผมร่วงมานานแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะสาเหตุของผมร่วงมีหลากหลาย และบางสาเหตุควรรีบทำการแก้ไข เพื่อไม่ให้รากผมฝ่อ หรือถูกทำลาย และทำให้ผมกลับมางอกใหม่ และหนาเหมือนเดิม เมื่อเราทำการตรวจรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ

หากคุณมีปัญหาดังกล่าว สามารถปรึกษาหมอแก้ว ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic ได้ คุณหมอจะทำการถามประประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ตรงจุด และนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับคนไข้แต่ละรายค่ะ 


Reference

Hadshiew, I. M., Foitzik, K., Arck, P. C., & Paus, R. (2004b). Burden of Hair Loss: Stress and the Underestimated Psychosocial Impact of Telogen Effluvium and Androgenetic Alopecia. Journal of Investigative Dermatology, 123(3), 455–457. https://doi.org/10.1111/j.0022-202x.2004.23237.x

MERCANTINI, S., B. A. ,. M. D. ,. (1965, June 26). Hair and Physiological Baldness. www.ncbi.nlm.nih.gov. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1928620/pdf/canmedaj01106-0048.pdf