ผมร่วง ผมบาง หรือหัวล้าน เป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนสูญเสียความมั่นใจไม่ใช่น้อย แม้จะใช้แชมพูเร่งผมหนาหรือยาแก้ผมร่วง ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ การศัลยกรรมปลูกผมบาง ผมร่วงที่ช่วยให้ผมขึ้นได้จริงแบบถาวร จึงกลายเป็นทางออกของใครหลายคน
ทั้งนี้ การปลูกผมเป็นหัตถการที่ต้องดำเนินการด้วยแพทย์เฉพาะทาง ผู้ที่สนใจปลูกผมจึงควรทำความเข้าใจให้ดีก่อนค่ะ ในบทความนี้หมอจะมาพามารู้จักการปลูกผมให้มากขึ้น เพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณค่ะ
สรุป หัตถการปลูกผม ตัวช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง
- การปลูกผม เป็นการใช้เซลล์ต้นกำเนิดผมมาปลูกถ่ายกลับไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา ซึ่งผมที่งอกใหม่จากการปลูกผมจะเจริญเติบโตได้เหมือนกับเส้นผมปกติค่ะ
- ข้อดีของการปลูกผม คือ ช่วยรักษาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านได้ ช่วยเสริมไรผมและปรับรูปหน้าให้ใบหน้าดูละมุนขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาผมแหว่งได้เช่นกัน
- การปลูกผมถาวร มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การปลูกผม FUE และการปลูกผม FUT ทั้งนี้หากจำแนกตามเทคนิคจะแบ่งออกเป็น การปลูกผม Long hair FUE, ปลูกผม Strip FUT, ปลูกผม DHI และปลูกผม LLLT ซึ่งมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไปค่ะ
- การปลูกผมไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงหรือผมบางทั่วศีรษะ ที่อาจมีสาเหตุมาจากโรคทางเส้นผมและหนังศีรษะ หรือโรคที่มีผลต่อการงอกของเส้นผมค่ะ เพราะจะมีจำนวนกราฟผมไม่เพียงพอต่อการปลูกผมนั่นเอง
- สิ่งสำคัญที่คนไข้ควรทำหลังปลูกผม คือ การดูแลเส้นผมและปกป้องเส้นผมให้ดี เพราะช่วงแรกเซลล์ต้นกำเนิดผมอาจยังติดบนหนังศีรษะได้ไม่แน่นมากนัก แต่หากฝังตัวเป็นได้อย่างดีแล้วก็จะดูเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับเส้นผมปกติค่ะ
ปลูกผม (Hair Transplant) คืออะไร
การปลูกผม (Hair Transplant) คือ การใช้เซลล์ต้นกำเนิดผมจากท้ายทอยมาปลูกถ่ายยังบริเวณที่ต้องการรักษา หรือปลูกถ่ายเพิ่มแนวไรผม เพื่อเสริมให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ ละมุนขึ้นได้ค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถปลูกผมทับรอยแผลเป็นที่แหว่งไปเพื่อปกปิดได้เช่นกัน ซึ่งผมที่ขึ้นมาใหม่นี้ก็สามารถอยู่ได้อย่างถาวร แม้จะโกน ถอน หรือตัดออกไปก็กลับมางอกใหม่ได้เหมือนเส้นผมปกติค่ะ
ปัญหาผมร่วงที่ส่งผลให้ผมบาง หัวล้าน เกิดจากอะไร?
ปัญหาผมร่วงที่ส่งผลให้ผมบาง หัวล้าน เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยสาเหตุหลักที่พบบ่อย มีดังนี้ค่ะ
- พันธุกรรม เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้าน ส่วนมากมักจะพบในผู้ชาย เรียกว่า “ศีรษะล้านแบบพันธุกรรม” หรือ Androgenetic Alopecia แต่ผมบางจากกรรมพันธ์ุก็พบในผู้หญิงได้เช่นกัน
- ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนบางชนิดสามารถทำให้รากผมอ่อนแอลงและหลุดร่วงได้ง่าย
- ความเครียด ความเครียดเรื้อรังหรือเหตุการณ์ที่กระทบกับจิตใจอย่างรุนแรง อาจทำให้ผมเข้าสู่ช่วงพักตัวและหลุดร่วงได้
- ภาวะโภชนาการไม่สมดุล การขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก หรือวิตามินบี สามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมได้
- มีโรคประจำตัว โรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ โรคผิวหนัง หรือโรคภูมิแพ้ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้ค่ะ
- การใช้ยาบางชนิด ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด หรือยาลดไขมันในเลือด อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผมร่วง
- การดูแลเส้นผมไม่ถูกวิธี การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ไม่เหมาะสม การทำสีผม ดัดผม ยืดผมบ่อยเกินไป การสระผมด้วยน้ำร้อน หรือการหวีผมแรง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมเสียและขาดหลุดร่วงได้
ทั้งนี้ ปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้านสามารถทำการรักษาได้ ซึ่งปัจจุบันมีวิธีรักษาให้เลือกหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาลดระดับฮอร์โมน การใช้ยาทาภายนอก การรักษาด้วยเลเซอร์ การฉีด PRP ผม และการศัลยกรรมปลูกผม แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้านของแต่ละคนจะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน ก็ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนทำการรักษาทุกครั้งนะคะ
วิธีปลูกผมแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร
การปลูกผมเพื่อแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การปลูกผม FUE และการปลูกผม FUT ค่ะ ในหัวข้อนี้หมอจะพาไปดูว่าการปลูกผมมีวิธีอะไรบ้าง และแต่ละวิธีต่างกันอย่างไร
ปลูกผม FUE
ปลูกผม FUE เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน สามารถคัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดผม และปลูกผมกลับได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ค่ะ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กมาก ๆ เจาะกราฟผมออกมาทีละกอ แล้วปลูกกลับไปยังบริเวณที่ต้องการ ทำให้ไม่มีแผลใหญ่ คนไข้จึงฟื้นตัวได้เร็วค่ะ
จุดเด่นของการปลูกผม FUE
- ไม่ต้องผ่าตัดแผลยาว คนไข้ฟื้นตัวได้เร็ว
- ไม่ทิ้งรอยแผลเป็นที่ชัดเจนไว้ ผมที่ขึ้นใหม่ก็ดูเป็นธรรมชาติค่ะ
ข้อจำกัดของการปลูกผม FUE
- ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาผมในบริเวณกว้าง หรือต้องใช้กราฟผมเป็นจำนวนมาก เพราะจะทำให้ผมท้ายทอยบางลงค่ะ
- แพทย์มีประสบการณ์และมีความอดทนมากค่ะ เพราะเป็นวิธีที่ใช้ความละเอียดสูง
- ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการผมร่วง ผมบางทั่วศีรษะ เนื่องจากบริเวณที่นำกราฟผมออกมาเส้นผมจะไม่งอกขึ้นมาใหม่อีกครั้งค่ะ
- คนไข้อาจต้องโกนผมบริเวณที่ต้องการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดผม เพื่อให้เจาะกราฟผมได้ง่ายขึ้น
หากสนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผม FUE เพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ : ชวนรู้จักการแก้ปัญหาผมร่วง ผมบางอย่างถาวร ด้วยเทคนิคปลูกผม FUE
ปลูกผม Long hair FUE
ปลูกผม Long hair FUE เป็นหนึ่งในเทคนิคการปลูกผม FUE ที่ไม่จำเป็นต้องโกนผมออกค่ะ แต่จะใช้การจะเจาะแยกกราฟผมออกในขณะที่เส้นผมยังยาวอยู่อย่างนั้น เทคนิคนี้ต้องอาศัยเครื่องมือที่มีคุณภาพและความชำนาญของแพทย์เป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้กราฟผมสภาพดีที่สุด ซึ่งหลังการรักษาคนไข้จะมีผมยาวดูเป็นธรรมชาติมากค่ะ
จุดเด่นของการปลูกผม Long hair FUE
- ไม่ต้องโกนผมคนไข้เพื่อเจาะกราฟ บริเวณที่ปลูกผมกลับไปจะดูยาวทันทีค่ะ
- เหมาะกับคนไข้ที่ไม่มีเวลาพักฟื้นและต้องพบปะผู้คนตลอด
ข้อจำกัดของการปลูกผม Long hair FUE
- แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษโดยเฉพาะค่ะ
- ใช้เวลารักษานานกว่าการปลูกผม FUE เนื่องจากแพทย์ต้องใช้ความละเอียดในการเจาะกราฟผม
- ไม่เหมาะกับคนไข้ที่ต้องใช้กราฟผมจำนวนมากค่ะ
ปลูกผม Strip FUT
ปลูกผม Strip FUT เป็นวิธีที่แพทย์จะคำนวณจำนวนกราฟผมที่คนไข้ต้องใช้ปลูกผม เพื่อคำนวณพื้นที่ในการผ่าตัดหนังศีรษะที่มีเซลล์ต้นกำเนิดผมอยู่ แล้วแยกออกมาในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ส่วนความยาวจะขึ้นอยู่กับจำนวนกราฟที่ต้องใช้ค่ะ จากนั้นจึงนำไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อแยกกราฟผมออกจากหนังศีรษะที่ผ่าตัดออกมา แล้วจึงปลูกกลับไปยังบริเวณที่ต้องการ ส่วนบริเวณท้ายทอยแพทย์ก็จะเย็บปิดแผล และให้คนไข้มาตัดไหมอีกครั้งค่ะ
จุดเด่นของการปลูกผม Strip FUT
- กราฟผมมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด
- สามารถแยกกราฟผมออกได้มากกว่าการปลูกผม FUE จึงเหมาะกับคนไข้ที่ต้องการปลูกผมในบริเวณกว้าง
- ผมบริเวณท้ายทอยจะดูไม่บางลง
ข้อจำกัดของการปลูกผม Strip FUT
- คนไข้จะมีแผลผ่าตัดยาวที่ท้ายทอย อาจทำให้มองเห็นรอยแผลเป็นได้ค่ะ
- ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีหนังศีรษะตึงเกินไป เพราะจะทำให้เย็บปิดแผลยากค่ะ
- ไม่เหมาะกับคนที่มีประวัติเป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์
หากใครสนใจเทคนิคการปลูกผม FUT สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : เทคนิคการปลูกผม FUT คืออะไร? ต่างจากวิธีแก้ปัญหาหนังศีรษะอื่นอย่างไร
ปลูกผม DHI
การปลูกผม DHI (Direct Hair Implant) เป็นเทคนิคในขั้นตอนการปลูกกลับกราฟผม โดยใช้เครื่องมือช่วยลดความเสียหายของหนังศีรษะและเซลล์ต้นกำเนิดผม เพิ่มโอกาสให้ปลูกผมสำเร็จมากขึ้นค่ะ
จุดเด่นของการปลูกผม DHI
- เครื่องมือพิเศษจะช่วยลดความเสียหายของเซลล์ต้นกำเนิดผม จึงรักษาคุณภาพของกราฟผมได้มากที่สุด
- ช่วยให้ปลูกผมได้เร็วมากขึ้น
- ช่วยให้การปลูกผมยาวทำได้เร็วขึ้น
ข้อจำกัดของการปลูกผม DHI
- แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงมาก
ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic เราใช้เทคนิคปลูกผม DHI ในการปลูกกลับอยู่แล้วค่ะ อัตราความสำเร็จจึงสูงขึ้น
หากใครสนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผม DHI เพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ : ชวนทำความรู้จัก ปลูกผม DHI อีกหนึ่งเทคนิคช่วยรักษาปัญหาผม
ปลูกผม LLLT
อีกหนึ่งเทคนิคที่ไม่ต้องผ่าตัดโยกย้ายเซลล์ต้นกำเนิดผม คือ การปลูกผม LLLT (Low Level Laser Light Therapy) เป็นการใช้เลเซอร์แสงสีแดงที่มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนเลือดมาฉายลงไปที่หนังศีรษะ เมื่อเซลล์ต้นกำเนิดผมได้รับสารอาหารจากเลือดเพียงพอจึงเข้าไปกระตุ้นการงอกของเส้นผม ช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่เส้นผมที่งอกใหม่ และลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผมได้ค่ะ
จุดเด่นของการปลูกผม LLLT
- เป็นหัตถการที่ไม่ต้องผ่าตัดหรือปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดผม
- สามารถทำได้ต่อเนื่องบ่อยครั้งเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
- ผลข้างเคียงต่ำ คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บขณะหัตถการ
- ราคาประหยัดกว่าเทคนิคอื่น ๆ
ข้อจำกัดของการปลูกผม LLLT
- ไม่สามารถกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดผมที่ตายไปแล้วให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง จึงไม่เหมาะกับคนที่ไม่มีเซลล์ต้นกำเนิดผมหลงเหลืออยู่
ปัญหาผมบาง หัวล้าน ปลูกผมถาวรได้ผลจริงไหม?
ผมบางปลูกผม หัวล้านปลูกผม ได้ผลจริงไหม? เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่ใครหลายคนมักสงสัย ซึ่งคำตอบคือ ได้ผลจริงค่ะ เนื่องจากการปลูกผมถาวรเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยจะนำรากผมจากบริเวณที่ยังมีผมอยู่และมีความแข็งแรงอย่างเช่นท้ายทอย มาปลูกในบริเวณที่มีปัญหาผมบางหรือหัวล้าน ทำให้ได้ผมขึ้นมาใหม่ที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยดังนี้ค่ะ
- เทคนิคการปลูกผม ปัจจุบันมีเทคนิคการปลูกผมหลายแบบ เช่น FUE, Long hair FUE, Strip FUT, DHI และ LLLT ซึ่งแต่ละเทคนิคก็มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป
- ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการปลูกผม ความชำนาญของแพทย์มีผลต่อความสำเร็จในการปลูกผมเป็นอย่างมากค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจปลูกผม จึงควรศึกษาข้อมูลและประวัติของแพทย์อย่างละเอียด
- สภาพเส้นผมและหนังศีรษะของคนไข้ สภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่แข็งแรงจะทำให้การปลูกผมของคนไข้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
- การดูแลหลังปลูกผม การดูแลเส้นผมหลังการปลูกผมอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ผมที่ปลูกงอกออกมาได้ดีและแข็งแรง
ส่วนระยะเวลาที่จะเห็นผลลัพธ์หลังการปลูกผมก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการปลูกผม สภาพร่างกายของแต่ละบุคคล รวมถึงการดูแลตัวเองหลังปลูกผม แต่โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จะเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนได้ประมาณ 6-12 เดือน หลังจากที่ทำศัลยกรรมปลูกผมไปแล้วค่ะ
ข้อดีและข้อจำกัดในการปลูกผมที่ควรทราบก่อนตัดสินใจปลูกผมถาวร
ก่อนจะตัดสินใจทำหัตถการปลูกผมเพื่อแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ควรทราบข้อดีและข้อจำกัดของการปลูกผมเสียก่อน ซึ่งหมอได้รวบรวมข้อมูลมาให้คนไข้แล้วค่ะ
ข้อดีในการปลูกผม
- รักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ทั้งที่เกิดขึ้นตามวัยและเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ค่ะ
- แก้ไขปัญหาผมแหว่งจากแผลเป็นได้
- เป็นวิธีปลูกถ่ายที่ปลอดภัยและมีผลข้างเคียงต่ำ คนไข้จึงเจ็บตัวน้อยค่ะ
- ช่วยปรับรูปหน้าให้ดูแคบลงและละมุนขึ้น
- ผมที่งอกใหม่จะเจริญเติบโตได้เช่นเดียวกับเส้นผมปกติค่ะ
- แม้ว่าจะทำหัตถการปลูกผม FUE และ FUT เพียงครั้งเดียว เส้นผมก็สามารถกลับมางอกใหม่ได้อย่างถาวรค่ะ
ข้อจำกัดในการปลูกผม
- หลังปลูกผม คนไข้ต้องดูแลตนเองอย่างดี เพราะในช่วงแรกกราฟผมจะยังไม่ติดดีนัก ซึ่งหากหลุดออกไปก็จะไม่มีผมงอกขึ้นมาค่ะ
- ไม่เหมาะกับคนไข้มีภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วง หรือผมบางทั่วศีรษะค่ะ เพราะต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดผมที่แข็งแรงในจำนวนที่มากพอค่ะ
- ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีอาการผมร่วง ผมบาง ด้วยสาเหตุจากโรคทางเส้นผมและหนังศีรษะ หรือโรคที่มีผลต่อการงอกของเส้นผมบางโรค เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคเส้นผมและหนังศีรษะอักเสบ เป็นต้น
ขั้นตอนและวิธีการปลูกผมถาวร
การปลูกผมถาวรเพื่อรักษาอาการผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน มีขั้นตอนดังนี้ค่ะ
- คนไข้ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพหนังศีรษะและเส้นผม เพื่อดูว่าสามารถทำการปลูกผมได้หรือไม่ และใช้วิธีปลูกผมแบบไหนจึงจะเหมาะกับคนไข้มากที่สุด
- คนไข้ที่สามารถปลูกผมได้ แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาอย่างละเอียด ตั้งแต่การเตรียมพร้อม, ขั้นตอนการรักษา, ผลลัพธ์หลังรักษา, ข้อควรระวัง ไปจนถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ก่อนเริ่มการปลูกผม เจ้าหน้าที่จะทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะของคนไข้ด้วยแชมพูฆ่าเชื้อ ทั้งนี้อาจมีการถ่ายภาพไว้เพื่อติดตามผลค่ะ
- แพทย์จะวาดแนวผมที่ต้องการปลูกผมลงไป เพื่อออกแบบแนวไรผมและนำพื้นที่ไปคำนวณปริมาณกราฟผมที่ต้องใช้ ซึ่งขั้นตอนนี้คนไข้สามารถร่วมออกแบบกับแพทย์ได้ค่ะ จากนั้นแพทย์จะถ่ายภาพหนังศีรษะอีกครั้งก่อนเริ่มทำหัตถการ
- ในขั้นตอนการปลูกผม แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่แก่คนไข้ โดยคนไข้ต้องนอนคว่ำหน้าเพื่อเตรียมย้ายเซลล์ต้นกำเนิดผมออกจากหนังศีรษะค่ะ ด้วยเทคนิคปลูกผมแบบ FUT หรือ FUE
- แพทย์จะนำกราฟผมที่แยกออกมาไปแช่ในน้ำยาแช่กราฟผม เพื่อรักษาคุณภาพของกราฟผม ซึ่งหลังเก็บเกี่ยวเซลล์ต้นกำเนิดผมเสร็จ คนไข้สามารถพักรับประทานอาหารได้ระหว่างรอการปลูกกลับค่ะ
- ขั้นตอนต่อมาคือการปลูกกลับผม โดยแพทย์จะเริ่มต้นฉีดยาชาบริเวณที่ต้องปลูกผมกลับ แล้วใช้เครื่องมือเจาะนำกราฟผมที่แยกออกมาปลูกกลับเข้าไปที่หนังศีรษะ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ที่ต้องการรักษา
- เมื่อปลูกผมกลับเรียบร้อยแล้ว คนไข้จะได้รับการฉายแสงจากเครื่อง Heallite หรือ LLLT เพื่อกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น
- หลังปลูกผม คนไข้สามารถพักฟื้นที่บ้านได้ และแพทย์จะให้กลับมารับการฉายแสงซ้ำในวันถัดไปและอีกสองวันหลังจากนั้นค่ะ
การปลูกผมเหมาะกับใครบ้าง
การปลูกผมเป็นหัตถการที่เหมาะกับใครบ้าง?
- คนไข้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจและเป็นที่กังวลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- คนไข้ที่มีปัญหาหน้าผากเถิก หน้าผากกว้างและเป็นลักษณะที่คนไข้ไม่ต้องการ
- คนไข้ที่ต้องการปลูกผมเพื่อปกปิดรอยแผลเป็น
- คนไข้ที่ต้องการปรับรูปหน้าให้ละมุนขึ้น
ใครบ้างที่ไม่ควรปลูกผม
การปลูกผมมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ทำให้คนไข้อีกหลาย ๆ คนที่มีปัญหาลักษณะนี้ไม่เหมาะกับหัตถการนี้
- คนไข้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางทั่วศีรษะ เนื่องจากจะทำให้มีจำนวนกราฟผมไม่เพียงพอต่อการนำไปปลูกผมและทำให้บริเวณที่นำผมออกบางลงได้
- คนไข้ที่มีการอักเสบบนหนังศีรษะและโรคยังอยู่ในช่วงกำเริบ เช่น หนังแข็ง ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงจากพังผืดใต้ผิว เป็นต้น
- คนไข้ที่มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของการหลุดร่วงของเส้นผม เช่น แพ้ภูมิตัวเอง
- คนไข้โรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงการรักษา
- คนไข้ที่ติดเชื้อบนหนังศีรษะหรือติดเชื้อในกระแสเลือด
- คนไข้ที่มีภาวะเลือดหยุดไหลยาก
- คนไข้สตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร
ผลลัพธ์จากการปลูกผมกี่วันกว่าเซลล์ต้นกำเนิดผมจะติดดี
หลังปลูกผม ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ กว่ากราฟผมจะติดและฝังตัวกับหนังศีรษะอย่างแนบแน่น หากผมหลุดร่วงออกมาก่อนจะทำให้การปลูกผมไม่ประสบความสำเร็จค่ะ ช่วงแรกหลังปลูกผมจึงสำคัญมาก คนไข้ต้องดูแลเส้นผมของตนเองให้ดีค่ะ ทั้งนี้ เมื่อกราฟผมติดและฝังตัวเป็นอย่างดีแล้ว หากคนไข้มีผมร่วงก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะเป็นเรื่องปกติที่เส้นผมจะเข้าสู่ระยะพักตัว ก่อนจะกลับมางอกใหม่อีกครั้งหลังผ่านไป 4-8 เดือน
เราสามารถปลูกผมควบคู่กับการรักษาแบบอื่นได้ไหม
เราสามารถปลูกผมร่วมกับการรักษาแบบอื่น ๆ ได้ค่ะ และเป็นสิ่งที่หมอแนะนำให้ทำด้วย เพื่อให้การปลูกผมประสบความสำเร็จ และให้ได้ผลลัพธ์น่าพึงพอใจยิ่งขึ้น โดยหัตถการที่นิยมรักษาควบคู่กับการปลูกผมก็มีดังนี้ค่ะ
- การฉายแสงเลเซอร์ LLLT เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้เส้นผมสามารถงอกใหม่ได้เร็วขึ้นค่ะ
- การทำ PRP จะช่วยบำรุงเซลล์ต้นกำเนิดผมให้แข็งแรง ให้แผลหายเร็วขึ้น
- การใช้ยาทาหรือรับประทานยาร่วมกับการปลูกผม เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีภาวะผมบางกรรมพันธุ์ และมีโอกาสผมร่วงในบริเวณที่ไม่ได้ทำการปลูกผม ซึ่งจะทำให้ผมดูบางลงค่ะ
วิธีเตรียมตัวก่อนผ่าตัดปลูกผมถาวร
- นัดหมายวันที่เข้ารับการทำหัตถการปลูกผม โดยพิจารณาไปถึงหลังวันผ่าตัดด้วยว่ามีกิจกรรมหรือธุระใด ๆ ที่อาจส่งผลต่อการปลูกผมหรือไม่
- หากมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือมีภาวะแพ้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- หากคนไข้มียาที่รับประทานประจำหรือกำลังรับประทานยาอยู่ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง
- ก่อนทำการปลูกผม 7 วัน คนไข้ต้องงดยาหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน วิตามินอี ยาสลายลิ่มเลือด และกลุ่มวิตามินสมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น
- งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ทั้งก่อนและหลังทำหัตถการปลูกผมอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
- ก่อนวันปลูกผม คนไข้ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- วันเข้ารับการปลูกผม แนะนำให้คนไข้รับประทานอาหารและน้ำมาก่อนค่ะ เพราะการปลูกผมจะใช้เวลาค่อนข้างนานหลายชั่วโมง
- คนไข้ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ง่ายต่อการถอดเปลี่ยนชุด เช่น เสื้อคอกว้าง หรือเสื้อกระดุมหน้า
วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าตัดปลูกผมถาวร
ความสำเร็จของการปลูกผมมักขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของคนไข้ค่ะ ซึ่งหมอก็มีข้อแนะนำในการดูแลตัวเอง ดังนี้
- ช่วง 1-5 วันแรกหลังปลูกผม แพทย์จะนัดคนไข้เข้ามาเพื่อทำความสะอาดแผล เส้นผม และหนังศีรษะให้ค่ะ คนไข้ห้ามสระผมเองในช่วงนี้เด็ดขาด เพราะมีโอกาสสูงที่กราฟผมจะหลุดออกมา
- เมื่อแพทย์อนุญาตให้สระผมเองแล้ว แนะนำให้ใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนหรือแชมพูเด็กอย่างน้อย 1 เดือนค่ะ
- รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบตามที่แพทย์จ่ายให้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการดื้อยาฆ่าเชื้อในอนาคต
- หากมีอาการปวดแผลผ่าตัด ก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดวันละ 1 เม็ดได้
- งดแอลกอฮอล์และบุหรี่ก่อนและหลังปลูกผมอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
- งดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกหรือสัมผัสกับน้ำ อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังปลูกผม
- คนไข้สามารถตกแต่ง ตัดแต่งทรง หรือย้อมสีผม หลังปลูกผมไปแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- แพทย์จะนัดคนไข้เข้ามาดูแผลและติดตามอาการในช่วง 1-5 วันแรก และจะเพิ่มระยะนัดเรื่อย ๆ เพื่อติดตามผล
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกมาก หนังศีรษะไม่มีความรู้สึก หรือปวดแผลมาก ให้รีบเข้ามาพบแพทย์ทันทีค่ะ
การดูแลรักษาผมระยะยาวหลังปลูกผมถาวร
การดูแลรักษาผมระยะยาวหลังปลูกผมถาวร เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผมของคนไข้หลังปลูกงอกออกมาแข็งแรง สวยงาม มีเส้นผมที่ดูเป็นธรรมชาติ และอยู่กับคนไข้ไปได้ยาวนาน โดยข้อควรปฏิบัติหลังปลูกผมที่หมอแนะนำมีดังนี้ค่ะ
- สระผมอย่างถูกวิธี หลังศัลยกรรมปลูกผมควรใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่เหมาะสำหรับหนังศีรษะบอบบาง รวมถึงควรสระผมเบา ๆ และหลีกเลี่ยงการขยี้หรือดึงเส้นผมแรง ๆ
- บำรุงหนังศีรษะ ควรใช้เซรั่มบำรุงหนังศีรษะ เพื่อให้หนังศีรษะชุ่มชื้นและสุขภาพดี
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน การใช้ไดร์เป่าผม เครื่องหนีบผม หรือเครื่องม้วนผม อาจทำให้ผมเสียและแห้งได้ แนะนำหากต้องการใช้ควรจะลดความร้อนลงค่ะ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน, วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ จะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรงได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและส่งผลดีต่อการไหลเวียนของเลือด ซึ่งมีส่วนสำคัญในการบำรุงเส้นผมค่ะ
- หลีกเลี่ยงความเครียด ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้ การจัดการกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรหาทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำเพื่อลดความเครียด เช่น ฟังเพลง, ดูหนัง, อ่านหนังสือ, นั่งสมาธิ หรือออกกำลังกาย
ความเสี่ยงจากการศัลยกรรมปลูกผมถาวร
การศัลยกรรมปลูกผม ทั้งการปลูกผมผู้ชายและการปลูกผมผู้หญิง ถึงแม้จะเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหาผมบางหรือหัวล้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้เหมือนกันกับการผ่าตัดอื่น ๆ เช่น
- เกิดการติดเชื้อ ถึงแม้จะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกันหากไม่ดูแลรักษาความสะอาดหลังการผ่าตัด
- เกิดรอยแผลเป็น หลังปลูกผมอาจเกิดรอยแผลเป็นเล็ก ๆ ได้บริเวณที่นำรากผมออกมาและบริเวณที่ปลูกผม
- ผมไม่ขึ้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น รากผมเสียหายระหว่างการปลูก หรือปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ แต่เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้น้อยมากค่ะ
- ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ผลลัพธ์ของการปลูกผมอาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หากรับบริการปลูกผมกับแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ
- สิว หรือรูขุมขนอักเสบ อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรก จะค่อย ๆ ดีขึ้น
จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการศัลยกรรมปลูกผม ล้วนมีผลมาจากการดูแลตัวเองหลังปลูกและความชำนาญของแพทย์ที่ทำการปลูกผม เพราะฉะนั้นหลังศัลยกรรมปลูกผมจึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงก่อนตัดสินใจปลูกผมก็ควรเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการปลูกผมด้วยนะคะ
ปลูกผม ราคาเริ่มต้นเท่าไหร่ แพงไหม
ที่คลินิกและโรงพยาบาลทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับปลูกผมประมาณ 80-350 บาทต่อกราฟผม ขึ้นอยู่กับเทคนิค จำนวนกราฟที่ต้องใช้ รวมถึงประสบการณ์ของแพทย์ด้วยค่ะ
ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic เรามีอัตราค่าบริการปลูกผมราคาเริ่มต้นที่ 100 บาทต่อกราฟผม หรือเริ่มต้นที่ 89000 บาทต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ปลูกผมและจำนวนกราฟผมที่ต้องใช้ในการรักษาค่ะ
คลินิกปลูกผม ที่ไหนดี
ปัจจุบันมีคลินิกและโรงพยาบาลที่ให้บริการปลูกผมอยู่มากมาย หากใครไม่รู้ว่าจะเลือกคลินิกปลูกผมที่ไหนดี อาจพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
- ประสบการณ์ของแพทย์ศัลยกรรมปลูกผม
- มาตรฐานของโรงพยาบาลหรือคลินิก
- ตัวเลือกวิธีปลูกผมที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะกับคนไข้มากที่สุด
- ราคาเหมาะสมกับคุณภาพและบริการ
ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic มีคุณหมอแก้ว แพทย์หญิง ธาริณี ก่อวิริยกมล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมปลูกผม และโรคเส้นผมและหนังศีรษะ และเป็นคุณหมอที่จบด้านผิวหนังด้วย เป็นผู้รักษาคนไข้ทุกรายค่ะ ซึ่งคุณหมอมีประสบการณ์กว่า 15 ปี และรักษาคนไข้มากกว่า 3,000 ราย จึงมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับการดูแลใกล้ชิดอย่างแน่นอน หากใครสนใจปลูกผมเพื่อรักษาปัญหาผมและหนังศีรษะ เราพร้อมให้บริการคนไข้ด้วยใจค่ะ
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการปลูกผมถาวร
ผมร่วง ผมบาง และหนังศีรษะล้าน เกิดจากอะไร
โดยปกติหนังศีรษะจะมีเซลล์ต้นกำเนิดผมที่ทำให้เส้นผมงอกมาสู่ภายนอก และเมื่อเจริญเต็มที่ก็อาจหลุดร่วงไปเองและเข้าสู่ระยะพัก ก่อนจะกลับมางอกใหม่อีกครั้งตามวงจรชีวิตของเส้นผมค่ะ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ประกอบกับมีกรรมพันธุ์ผมบาง หรือได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน ก็ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดผมอ่อนแอลง เส้นผมที่งอกใหม่จะมีขนาดเล็กและหลุดง่ายขึ้น ทั้งยังเข้าสู่ระยะพักนานกว่าเดิม จนเมื่อเซลล์นี้ตายลงจะไม่มีเส้นผมงอกขึ้นมาอีกค่ะ
กราฟ (Graft) คืออะไร สำคัญยังไงกับการปลูกผม
กราฟ เป็นคำที่ใช้เรียกกอผมที่มีเซลล์ต้นกำเนิดผมติดอยู่ กราฟผมหนึ่งกออาจมีจำนวนเส้นผมต่างกันไปค่ะ กราฟผมสำคัญต่อการปลูกผมเป็นอย่างมาก แพทย์จึงต้องคำนวณปริมาณกราฟผมให้เพียงพอต่อการปลูกผม เพื่อให้เส้นผมใหม่ขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดค่ะ
ปลูกผมถาวรมีอันตรายไหม
การปลูกผมเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูงและเกิดผลข้างเคียงน้อยค่ะ แต่หากคนไข้มีประวัติแพ้ยาชาหรือมีการติดเชื้อ ก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ ก่อนปลูกผมแพทย์จึงต้องสอบถามและซักประวัติคนไข้เพื่อความปลอดภัยนั่นเองค่ะ
ปลูกผมอยู่ถาวรไหม
การปลูกผมจะช่วยให้ผมกลับมางอกใหม่ได้อย่างถาวรค่ะ แม้จะมีหลุดร่วง หรือผ่านการตัด โกน และถอน เส้นผมก็สามารถขึ้นใหม่ได้ตามปกติค่ะ
กราฟ (Graft) คืออะไร สำคัญยังไงกับการปลูกปลูกผมกี่วันสระผมได้ผม
หลังปลูกผมไปแล้ว วันต่อมาแพทย์จะนัดคนไข้เข้ามาสระผม โดยมีพยาบาลเข้ามาทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะให้ค่ะ
สรุป
การปลูกผม เป็นการศัลยกรรมเพื่อรักษาภาวะผมร่วงและผมบาง ซึ่งจะช่วยให้คนไข้กลับมามั่นใจได้อีกครั้ง การทำหัตถการปลูกผมเพียงครั้งเดียวเส้นผมก็สามารถงอกขึ้นใหม่ได้อย่างถาวรค่ะ และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คนไข้จึงควรเลือกคลินิกปลูกผมอย่างรอบคอบค่ะ
หากคุณกำลังเผชิญปัญหาผมร่วง ผมบาง และต้องการปรึกษาการปลูกผมกับแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ คุณหมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
Website : คลินิกปลูกผม
Line : @drtarinee
Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง
อ้างอิง
Dua, A & Dua, K. (2010). Follicular Unit Extraction Hair Transplant. Journal of Cutaneous and Aesthetic Surgery, 3(2): 78-81. doi: 10.4103/0974-2077.69015
Jewell, T. (2020, July 14). Everything to Know About a FUE Hair Transplant. Healthline. https://www.healthline.com/health/cosmetic-surgery/everything-to-know-about-a-fue-hair-transplant
Jiménez-Acosta, F. (2010). Follicular Unit Hair Transplantation: Current TechniqueTécnica actual del trasplante de pelo de unidades foliculares. Actas Dermo-Sifiliográficas (English Edition), 101(4): 291-306. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1578219010706399
Yetman, D. (2020, June 30). What You Need to Know About Follicular Unit Transplantation (FUT). Healthline. https://www.healthline.com/health/fut-hair-transplant
Yoo, HK. Moh, JS. & Park, JU. (2019). Treatment of Postsurgical Scalp Scar Deformity Using Follicular Unit Hair Transplantation. BioMed Research International, 3423657. https://doi.org/10.1155/2019/3423657