ปกติแล้วในหนึ่งวันเส้นผมของคนเราจะร่วงประมาณ 100 เส้นต่อวัน แต่ถ้าสังเกตแล้วมีปริมาณมากกว่านั้น ควรสำรวจตัวเองถึงปัญหาผมร่วงนี้ให้ชัดเจนว่ามีสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ ผมที่เคยหนาเต็มศีรษะอาจจะค่อย ๆ บางตาลง จนกลายเป็นปัญหาผมบาง หัวล้าน หัวเถิกได้ในที่สุด โดยคนที่พบปัญหาผมบางได้มากที่สุดนั้นก็คือผู้ชาย เรียกได้ว่าปัญหาผมบางในผู้ชายนั้นทำให้หลายคนขาดความมั่นใจเป็นอย่างมาก
วันนี้ Dr. Tarinee Clinic จะพาหนุ่ม ๆ ทุกคนมาสำรวจตัวเองกันว่าเรามีปัญหาผมร่วง ผมบางจากสาเหตุอะไรกันแน่ และจะมีวิธีแก้ผมบางในผู้ชายอย่างไรบ้างนั้น พร้อมแล้วก็ตามมาอ่านกันได้เลย
ปัญหาผมบางในผู้ชาย
ผมบางในผู้ชาย
ปัญหาผมบางในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นได้กับหนุ่ม ๆ ทุกคน เนื่องจากสาเหตุหลักมาจากระดับฮอร์โมนเพศชาย หรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่กลายเป็นฮอร์โมน DHT ฮอร์โมนที่ตัดวงจรชีวิตเส้นผมให้สั้นลง บวกกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำลายสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ โดยปัญหาผมบางในผู้ชายมักมีลักษณะที่ค่อนข้างเห็นชัด ไม่ว่าจะผมบางบริเวณกลางกระหม่อม บริเวณหน้าผาก หรือแม้แต่บริเวณกรอบหน้า ในบางรายอาจมีปัญหาหัวล้าน หัวเถิกเห็นชัดแถมรักษายากอีกด้วย
ผมบางในผู้ชาย แตกต่างกับผู้หญิงอย่างไร
ผมบางในผู้ชายและผู้หญิง
How Androgenetic Alopecia Differs in Men and Women (everydayhealth.com)
สำหรับความแตกต่างของปัญหาผมบางในผู้ชายกับผู้หญิงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ
- ตำแหน่งปัญหาผมบาง หัวล้าน
วิธีสังเกตว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาผมบาง หัวล้านอยู่หรือไม่นั้น สำหรับผู้หญิงจะสังเกตได้จากบริเวณแสกกลางผม ว่ามีลักษณะห่างกันมากน้อยแค่ไหน ส่วนปัญหาผมบางผู้ชายนั้นจะเห็นได้ชัดตั้งแต่บริเวณหน้าผาก แนวขมับ ไปจนถึงกลางศีรษะ
- สาเหตุของปัญหาผมบาง
สำหรับสาเหตุของปัญหาผมบางในผู้ชายและผู้หญิงมีจุดที่คล้ายคลึงกันอยู่ เกิดจากระดับฮอร์โมนที่ขาดความสมดุล แต่ต่างตรงที่เป็นฮอร์โมนคนละตัวกัน โดยถ้าเป็นปัญหาผมบางผู้หญิง จะเกิดขึ้นเมื่อระดับฮอร์โมนเอนโดเจนเปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือน หรือหลังคลอดบุตร ส่วนผู้ชายนั้นจะเป็นการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนไฮโดรเทสทอสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือ DHT ทำให้เซลล์รากผมที่เคยแข็งแรงค่อย ๆ เสื่อมตัวลง และส่งผลให้ผมหลุดร่วง ผมบาง
สาเหตุที่ผู้ชายผมบาง
สาเหตุผมบางในผู้ชาย
Male Androgenetic Alopecia – Endotext – NCBI Bookshelf (nih.gov)
เพื่อให้การดูแลรักษาปัญหาผมบางในผู้ชายเห็นผลและตรงจุดมากที่สุด เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายผมบางกันก่อน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
1.กรรมพันธุ์
ถ้าหากคนในครอบครัวของคุณเคยมีประวัติผมร่วง ผมบาง หัวล้าน หัวเถิก คุณก็มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ได้ในอนาคต อาจมีลักษณะผมร่วงทีละน้อย เห็นได้ชัดบริเวณกลางกระหม่อม หรืออาจคาดเดารูปแบบการร่วงของเส้นผมไม่ได้
2.อายุ
เมื่อไหร่ที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ บวกกับการดูแลสุขภาพร่างกายในวัยที่ผ่านมาไม่ดี ก็มีส่วนทำให้เซลล์ร่างกาย หรือแม้แต่เซลล์ที่เลี้ยงรากผมเกิดความเสื่อมสภาพอ่อนแอลงมากยิ่งขึ้น จนทำให้ผมบางมากกว่าเดิม
3.โรคภัยต่างๆ
โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีส่วนทำให้เกิดปัญหาผมบางในผู้ชายนั้นมีอยู่หลายโรค เช่น โรคที่เกิดกับสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะโดยตรง อย่างพวกโรคผมร่วงผมบางจากเชื้อรา โรคฝีหนองบนศีรษะ โรคภูมิแพ้รากผม รวมไปถึงโรคประจำตัวที่ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมจนทำให้ผมบาง เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคซิฟิลิส โรคโลหิตจาง
4.พฤติกรรมการใช้ชีวิต
รู้หรือไม่? ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบางในอนาคตได้ ดังนี้
- พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือทำงานผิดปกติ ส่งผลเสียต่อความแข็งแรงของรากผม และทำให้ผมร่วง ผมบาง
- ความเครียด สามารถส่งผลเสียต่อการทำงานของโกรทฮอร์โมน ที่มีหน้าหลักช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ
- ใช้สารเคมีกับเส้นผม หรือแม้แต่การใช้ความร้อนเพื่อดัด ยืด ทำสีผม สารเคมีเหล่านี้จะทำลายเส้นผมและรากผมให้อ่อนแอ ทำให้กลายเป็นปัญหาผมร่วง ผมบาง
- หวีผมผิดวิธี สามารถทำให้ผมร่วง ผมบางได้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หลายคนมักทำบ่อยโดยไม่รู้ตัว สามารถทำให้เส้นผมหลุดร่วงจนผมบางได้
- รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น โปรตีน วิตามิน B6 วิตามิน B12 กรดโฟลิก
- ดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ได้ ทำให้ผมขาดหลุดร่วง และผมบางลงได้
- สูบบุหรี่ ในบุหรี่จะมีสารนิโคติน ตัวการที่ทำให้เส้นเลือดบนศีรษะหดตัว ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี และมีส่วนเร่งการผลิตฮอร์โมน DHT ทำให้ผมร่วงได้ง่ายจนเกิดปัญหาผมบางในผู้ชาย
5.ผลข้างเคียงจากยา
การใช้ยาบางประเภท เช่น กลุ่มยารักษาสิว ยาฆ่าเชื้อ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ก็มีส่วนทำให้ผู้ชายผมบางได้ เนื่องจากยาเหล่านี้อาจไปรบกวนการทำงานของต่อมไขมัน หรือระบบไหลเวียนเลือด และวงจรของเส้นผม ทำให้เส้นผมอ่อนแอ จนเกิดปัญหาผมบางได้ในที่สุด
6.ฮอร์โมน
ปัญหาผมบางในผู้ชายมักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนไฮโดรเทสทอสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือ DHT ซึ่งหนังศีรษะของใครมีความไวต่อฮอร์โมนชนิดนี้ ก็จะทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลง เกิดปัญหาผมร่วง ปัญหาผมบางมาก เส้นผมขนาดเล็กลง ทำให้เกิดหัวล้าน หัวเถิกในผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด
7.การทำเคมีบำบัด
ในการรักษาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติโดยการทำเคมีบำบัดนั้น ยาที่ใช้รักษาบางชนิดอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ วงจรของเส้นผม รวมถึงเซลล์ที่ช่วยในการเจริญเติบโตต่อของเส้นผม ทำให้เส้นผมร่วง และเกิดปัญหาผมบางได้
8.ภาวะขาดสารอาหาร
เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ หรืออยู่ในภาวะขาดสารอาหารนั้นก็ทำให้สุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะเสียตามไปด้วย รากผมอาจอ่อนแอ จนทำให้เส้นผมหลุดร่วงและเกิดปัญหาผมบางได้ง่าย
ปลูกผม FUEวิธีรักษาผมบางในผู้ชาย
วิธีรักษาผมบางในผู้ชาย
ปลูกผม FUE หรือ Follicular Unit Extraction เทคนิคปลูกผมถาวรที่ได้รับการพัฒนาต่อมาจากการปลูกผม FUT โดยอาศัยการเจาะเซลล์รากผมที่แข็งแรงด้วย Micropunch มาปลูกลงบนตำแหน่งที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน และจัดแต่งให้ได้ทิศทางตามที่ต้องการ เพื่อแก้ปัญหาผมบางผู้ชายอย่างตรงจุดและได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้นอีกครั้ง
แนะนำทางเลือกอื่นสำหรับการรักษาผมบางในผู้ชาย
- ปลูกผม FUT วิธีการรักษาผมบางผู้ชายแบบดั้งเดิม สามารถแยกจำนวนเซลล์รากผมได้มากกว่าการปลูกผมเทคนิคใหม่ ๆ โดยจะผ่าตัดหนังศีรษะด้านหลังศีรษะ เก็บรากผมมาปลูกบริเวณที่มีปัญหา ก็จะช่วยลดผมบางในผู้ชายได้อย่างตรงจุด แต่ไม่เหมาะกับคนที่ไว้ผมสั้น เพราะอาจจะเห็นเป็นรอยแผลเป็นเส้นยาว ๆ ที่ท้ายทอยได้
- ปลูกผม DHI เทคนิคการปลูกผมถาวร ที่ใช้ปากกาช่วยส่งต่อกอผมลงไปที่หนังศีรษะ ลดการบอบช้ำของกอผม โดยสามารถทำควบคู่กับเจาะเอากอผมแบบ FUE หรือจากการผ่าตัดแบบ FUT ก็ได้ เพราะ DHI เป็นเพียงเทคนิคในการปลูกผมกลับเข้าไปเท่านั้น
- ฉีด PRP ผม ทางเลือกแก้ผมบางผู้ชาย โดยใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นฉีดทั่วบริเวณที่มีปัญหาผมบาง หรือทั่วหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผมที่มีอยู่ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้ผมกลับมาดูหนา ลดปัญหาผมร่วง ผมบางได้เป็นอย่างดี
- ฉีดสเต็มเซลล์ผม การฉีดสเต็มเซลล์ผม หรือ Rigenera Activa วิธีแก้ผมบางผู้ชายโดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากรากผมมาสกัดด้วยเครื่องมือพิเศษ แล้วฉีดกลับบริเวณหนังศีรษะที่มีผมบาง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รากผมที่มีอยู่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น สามารถลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง ผมบางได้ รวมถึงยังช่วยลดระดับฮอร์โมน DHT สาเหตุผมร่วง ผมบางได้อีกด้วย
- LLLT หรือ Low Level Laser Therapy หรือนวัตกรรมเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำ ที่ถูกฉายลงบนหนังศีรษะ มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบนหนังศีรษะ ช่วยให้เซลล์รากผมได้รับสารอาหารและเจริญเติบโตแข็งแรงมากยิ่งขึ้น สามารถลดปัญหาผมบางได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อดีคือผู้เข้ารับการรักษาไม่ต้องเจ็บตัว
ผู้ชายผมบาง แนะนำ Dr. Tarinee Hair Clinic
คลินิกรักษาผมบางในผู้ชาย
ที่ Dr. Tarinee Hair Clinic เราให้บริการดูแลปัญหาผมบางผู้ชายด้วยการปลูกผมถาวรเทคนิค FUE เทคนิคปลูกผมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยทุกเคสอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอธาริณี หรือคุณหมอแก้ว ผู้มีความชำนาญการสูงในการดูแลปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะมายาวนานกว่า 15 ปี ซึ่งคนไข้ทุกคนจะได้รับการตรวจประเมินและดำเนินการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อสามารถแก้ปัญหาผมบางได้อย่างตรงจุดมากที่สุด
สรุปปัญหาผมบางในผู้ชาย
ผมบางในผู้ชาย ปัญหาที่ทำให้หนุ่ม ๆ หลายคนขาดความมั่นใจ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งจะส่งผลให้รากเส้นผมอ่อนแอ หลุดร่วง และก่อให้เกิดปัญหาผมบางในที่สุด สำหรับวิธีแก้ผมบางผู้ชายเริ่มตั้งแต่การใช้ยารับประทาน การทายา หรือ Treatment ซึ่งจะดูตามความรุนแรงและความต้องการของคนไข้ การรักษาโดยการผ่าตัดปลูกผม โดยเฉพาะเทคนิค FUE เป็นการปลูกผมถาวรแบบไร้แผล แก้ผมบางผู้ชายได้อย่างตรงจุด
สำหรับหนุ่ม ๆ คนไหนที่กำลังเผชิญกับปัญหาผมบาง หัวล้าน หัวเถิกอยู่ สามารถติดต่อพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง เพื่อรับคำปรึกษาและแนะนำเพิ่มเติม หรือสามารถส่งรูปถ่ายหนังศีรษะที่มีปัญหาให้แพทย์ประเมินเบื้องต้นได้ทางช่องทางต่อไปนี้
- Website : Dr.Tarinee Hair Clinic
- Line : @drtarinee
- Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง
Reference
How Androgenetic Alopecia Differs in Men and Women (everydayhealth.com)
Male pattern baldness: Causes and treatment (medicalnewstoday.com)
Hair loss – Symptoms and causes – Mayo Clinic
Male Androgenetic Alopecia – Endotext – NCBI Bookshelf (nih.gov)