สิวที่หัว

สิวที่หัว คือ การที่หนังศีรษะของเราเป็นสิวจากการอักเสบของรูขุมขน ทำให้มีอาการเจ็บ คัน และปวดเมื่อสัมผัสโดน ซึ่งสิวที่หัวเป็นหนึ่งในปัญหากวนใจของคนยุคใหม่ เพราะอาจรักษายากกว่าสิวที่บริเวณใบหน้า นอกจากนี้ยังสามารถสร้างปัญหาอื่น ๆ อย่างโรคหนังศีรษะอักเสบ หรืออาการผมร่วงตามมากวนใจเราได้อีกด้วย

สำหรับใครที่กำลังกังวลว่าอยากจะหายขาดจากสิวที่หัวต้องทำยังไง? บทความนี้มีคำตอบให้ คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักว่า สิวที่หัวคืออะไร, เกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไร, มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง, และต้องทำอย่างไรหากเราต้องการรักษาหรือป้องกันสิวที่หัว ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านด้วยกันได้เลยค่ะ

สิวที่หัวคืออะไร?

ตำแหน่งของสิวที่หัว
ตำแหน่งของสิวที่หัว

สิวที่หัว คือ ภาวะที่หนังศีรษะเป็นสิว และมีอาการเจ็บ คัน รวมไปถึงปวดเมื่อไปสัมผัสโดน ซึ่งสิวขึ้นหัวมักมีสาเหตุเกิดจากการที่รูขุมขนบนศีรษะอุดตันจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ขี้ไคล ไขมันจากผิวหนัง สิ่งตกค้างจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมเองก็มีส่วนที่ทำให้หนังศีรษะเป็นสิวได้เช่นกัน

ส่วนใหญ่เราจะพบสิวที่หัวในช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงอายุที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่ในบางคนก็อาจจะเจอสิวที่หัวขึ้นในช่วงอายุอื่น ๆ ด้วยสาเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป แล้วสาเหตุจะมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันกับคุณหมอได้ในหัวข้อต่อไปได้เลยค่ะ

สาเหตุส่วนใหญ่ของสิวที่หัวเกิดจากอะไร?

สาเหตุของสิวที่หัว
สาเหตุของสิวที่หัว

เชื่อว่าหลายคนคงยังสงสัย และไม่รู้ว่าสาเหตุของสิวที่หัวมีอะไรบ้าง อาจจะคิดว่าสิวที่หัวเกิดจากความสกปรกของหนังศีรษะเป็นหลักเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยด้วยกันที่สามารถทำให้เกิดสิวที่หัวได้ โดยคุณหมอแบ่งเป็นหัวข้อให้ตามนี้ค่ะ

1. การอุดตันของสิ่งสกปรกสะสม

สาเหตุแรกของสิวที่หัวคือ การอุดตันของสิ่งสกปรกกับน้ำมันจากรูขุมขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราสระผมน้อยเกินไปจนสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมกับความมันบนศีรษะ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนอุดตันบริเวณรูขุมขน ทำให้น้ำมันจากต่อมไขมันสะสมไม่ระบายออก สะสมรวมกับสิ่งสกปรกจนกลายเป็นสิวที่หัวนั่นเอง

2. รูขุมขนบนหนังศีรษะอักเสบ

บางครั้งสิวที่หัวก็อาจเกิดจากรูขุมขนอักเสบได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่รูขุมขนของเราถูกรบกวนจากพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันมากจนเกินไป เช่น การโกนผม, การดึงผม, การมัดผมที่ตึงเกินไป หรือการเกาหนังศีรษะจนเป็นแผลเปิดขนาดเล็ก ทำให้เชื้อราบนหนังศีรษะและแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนังสามารถเข้าไปในรูขุมขน ส่งผลให้เกิดการอักเสบในเวลาต่อมา กลายเป็นอาการรูขุมขนอักเสบในที่สุด

3. ความมันบนหนังศีรษะ

สาเหตุสำคัญอีกอย่างของสิวที่หัวก็คือ ความมันบนหนังศีรษะ ซึ่งเกิดจากการที่รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะของเราหลั่งน้ำมันออกมาในปริมาณมาก และรวมตัวเข้ากับสิ่งสกปรกหรือเซลล์ที่ตายแล้ว จนเกิดการอุดตันที่รูขุมขน กลายเป็นตุ่มและไตแข็ง ส่งผลให้กลายเป็นสิวที่หัวในเวลาต่อมา

4. ผลจากฮอร์โมน

อีกสาเหตุของสิวที่หัวคือฮอร์โมน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ว่าจะมาจากฮอร์โมนคนละชนิดกัน โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

สำหรับผู้ชาย สิวที่หัวจะมาจากการที่ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เพิ่มระดับขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และจะส่งผลกับการทำงานของต่อมไขมันให้สร้างน้ำมันออกมามากขึ้น น้ำมันส่วนเกินที่อุดตันจึงส่งผลทำให้เกิดเป็นสิวที่หัวหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ส่วนสิวที่หัวจากฮอร์โมนของผู้หญิง จะเกิดจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ส่งผลให้เป็นสิวที่หัวได้มากในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ช่วงเข้าสู่วัยทอง และช่วงหลังคลอด เพราะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนของเพศหญิงนั้นลดลงจนกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานเพิ่มขึ้น

ลักษณะของสิวที่หัวมีแบบไหนบ้าง?

ลักษณะของสิวที่หัว
ลักษณะของสิวที่หัว

แล้วรู้หรือไม่คะว่า สิวที่หัวเองก็สามารถเกิดได้หลายรูปแบบเหมือนกับสิวบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1.สิวหัวดำ (Blackheads) 

สิวหัวดำเป็นสิวหัวเปิดชนิดหนึ่งที่สามารถขึ้นเป็นสิวที่หัว มองเห็นหัวสิวได้จากภายนอก ปกติสิวหัวดำจะไม่เจ็บ และไม่ค่อยมีรอยแดงรอบ ๆ ถ้าไม่มีการอักเสบร่วมด้วยแล้ว โดยสิวหัวดำจะมีหัวสิวที่เป็นไตแข็งจากการทับถมของน้ำมันที่สร้างจากต่อมไขมัน สิ่งสกปรก รวมไปถึงเซลล์ที่ตายแล้ว ส่งผลให้เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนจนกลายเป็นสิวหัวดำ 

2.สิวหัวขาว (Whiteheads)

สิวหัวขาวเป็นสิวที่หัวปิดและเป็นสีขาว มีลักษณะคล้ายกับสิวหัวดำเพราะเป็นสิวอุดตันเหมือนกัน แต่จะไม่มีรูเปิดให้เห็นหัวสิว ทำให้บีบยากและเมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกว่าเป็นตุ่มนูนออกมา สิวประเภทนี้จะเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำมันจากต่อมไขมันและเซลล์ที่ตายแล้ว หากไม่รักษาก็อาจติดเชื้อและอักเสบจนเป็นสิวอักเสบที่หัวได้

3.สิวอักเสบขนาดเล็ก (Papule) 

สิวอักเสบขนาดเล็ก หรือที่เรียกอีกอย่างว่าสิวตุ่มนูนแดง เป็นสิวหัวขาวที่ติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดการอักเสบขึ้น มีลักษณะเป็นสิวหัวปิดที่เป็นตุ่มนูนและมีอาการแดงร่วมด้วย หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีจะทำให้ระคายเคืองได้มากกว่าเดิมจนกลายเป็นสิวอักเสบที่หัวขนาดใหญ่แทนได้

4.สิวหัวหนอง (Pustule)

สิวหัวหนองเป็นสิวที่พัฒนามาจากสิวอักเสบ ลักษณะเป็นสิวหัวปิดที่เป็นตุ่มนูน มีอาการบวมแดงรอบ ๆ ตุ่มสิว และมีหนองสีขาวเหลืองอยู่ใต้ผิวหนัง สิวที่หัวชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อเราติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่รูขุมขน โดยร่างกายของเราจะผลิตเม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพื่อทำลายแบคทีเรียกับเชื้อรา รวมไปถึงป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในระบบอื่น ๆ กระบวนการนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เมื่อแบคทีเรีย เชื้อรา และเม็ดเลือดขาวตายจะกลายเป็นหนองบริเวณสิวที่หัวนั่นเอง

หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีจนเวลาผ่านไปนาน หรือเราไปแกะเกาสิวอยู่บ่อย ๆ จนทำให้เกิดแผลขึ้น อาจทำให้กลายเป็นหลุมสิว และเกิดเป็นอาการหัวล้านเฉพาะจุดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผมร่วงร่วมด้วยในเวลาต่อมา

5.สิวอักเสบขนาดใหญ่ (Nodule)

สิวอักเสบขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นตุ่มแดงนูน ไม่สามารถมองเห็นหัวหนองของสิวได้จากภายนอก เมื่อจับแล้วจะรู้สึกเป็นไตแข็ง รวมถึงมีอาการปวด บวม และเจ็บร่วมด้วย สิวที่หัวประเภทนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลึกลงไปถึงใต้ผิวหนัง จนทำให้สิวที่หัวเกิดการอักเสบยาวนานและเรื้อรัง หากไม่รักษาและทิ้งเป็นเวลานาน ก็สามารถเป็นแผลเป็นได้แม้จะรักษาหายแล้ว และส่งผลให้ผมหายเป็นหย่อม ๆ ได้อีกด้วย

6.สิวหัวช้าง (Cyst)

สิวหัวช้าง เป็นสิวเม็ดใหญ่จากการอักเสบที่ติดเชื้อรุนแรง มีลักษณะของสิวที่หัวเป็นไตแข็งคล้ายกับสิวอักเสบขนาดใหญ่ แต่ว่าจะเจ็บกว่าและมีขนาดใหญ่กว่ามาก หากไม่ได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธีและปล่อยไว้นาน เมื่อสิวที่หัวหายแล้วอาจมีแผลเป็นขนาดใหญ่ ทำให้ผมร่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหัวล้านในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ถาวรเช่นเดียวกันกับสิวอักเสบชนิดอื่น ๆ

อาการข้างเคียงเมื่อมีสิวที่หัวของเรา

อาการของสิวที่หัว
อาการของสิวที่หัว

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าการเป็นสิวที่หัวก็สามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ กับหนังศีรษะของเราได้ โดยอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็มีด้วยกันหลายอย่างค่ะ ซึ่งคุณหมอได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่ามีอะไรบ้าง ดังนี้

1.อาการคัน ระคายเคือง

หนังศีรษะแห้งจากการเป็นสิวที่หัว ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคือง โดยเกิดจากสิ่งสกปรกและน้ำมันจากต่อมไขมันรวมตัวกันอุดตันที่รูขุมขน ทำให้น้ำมันจากต่อมไขมันที่สร้างขึ้นไม่สามารถออกจากรูขุมขนได้ และทำให้ผิวหนังในบริเวณนั้นแห้งจนเกิดอาการระคายเคืองขึ้น

2.หนังศีรษะลอก

หนังศีรษะลอกหรือรังแค เป็นอาการที่เกิดได้ทั้งก่อนและหลังการเกิดสิวที่หัว โดยมีสาเหตุที่ทำให้เกิดต่างกันดังนี้

  • หนังศีรษะลอกก่อนเป็นสิวที่หัว
    หนังศีรษะลอกก่อนเป็นสิวที่หัวมักเกิดจากอาการต่าง ๆ เช่น การเป็นรังแคเปียก การแพ้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือการที่หนังศีรษะแห้งเกินไป เมื่อหนังศีรษะลอกและเกาะตัวรวมกับน้ำมันจากรูขุมขน ก็จะทำให้เกิดการอุดตันจนกลายเป็นสิวที่หัวนั่นเอง
  • หนังศีรษะลอกหลังเป็นสิวที่หัว
    สิวที่หัวเป็นสาเหตุให้หนังศีรษะลอกได้ เพราะหัวสิวนั้นอุดตันรูขุมขนจนทำให้ไม่มีที่ให้น้ำมันออกมาจากต่อมไขมัน ส่งผลให้ผิวหนังแห้งและลอก เพราะไม่มีน้ำมันช่วยรักษาความชุ่มชื้นนั่นเอง

3.หนังศีรษะอักเสบ

อาการของหนังศีรษะอักเสบคือ การที่หนังศีรษะของเราเป็นผื่นบวมแดงและลอกเป็นขุย ทำให้รู้สึกคันและเจ็บ ซึ่งอาการนี้จะกำเริบก็ต่อเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เช่น สภาพอากาศ, อาหาร, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการที่ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ เป็นต้น

โดยวิธีการรักษาส่วนใหญ่แล้วจะคล้ายกับการรักษาสิว เช่น ใช้ยาสระผมที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ ทั้งนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอแนะนำและรักษาหากมีอาการรุนแรงค่ะ

4.อาการปวดหรือเจ็บที่ตุ่มสิว

อาการปวดหรือเจ็บที่ตุ่มสิว ถือเป็นอาการที่มีทุกคน มีสาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันของเราที่ป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย และพยายามที่จะทำลายเชื้อเหล่านี้จนเกิดการอักเสบขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวด, บวม, แดง และรู้สึกเจ็บบริเวณผิวหนังที่เป็นสิวนั่นเอง

5.ผมร่วง

ผมร่วง เป็นอาการที่สามารถเกิดได้ทั้งจากสิวอักเสบและสิวที่ไม่อักเสบ สำหรับสิวที่หัวไม่อักเสบ หากทิ้งไว้นานจะมีขนาดใหญ่ ทำให้เมื่อหัวสิวหลุดออกไปจะทำให้เกิดหลุมสิวขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อรูขุมขนถูกทำลายจนกลายเป็นแผลแล้วเส้นผมก็จะไม่สามารถงอกขึ้นมาได้อีก จนผมร่วงและทำให้เป็นหัวล้านเฉพาะจุด

ส่วนสิวที่อักเสบนั้นจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ด้วย ทำให้เกิดการอักเสบใต้ผิวหนังและเซลล์รากผมบางส่วนถูกทำลาย และเมื่อเซลล์รากผมเสียหายก็จะทำให้ผมร่วง แม้การอักเสบจะหายไปแล้ว แต่เพราะรากผมถูกทำลายอย่างถาวร จึงทำให้หัวล้านในบริเวณที่เกิดสิวที่หัวนั่นเอง

รวม 5 เคล็ดลับ วิธีรักษาสิวที่หัวให้ได้ผล

รักษาสิวที่หัว
รักษาสิวที่หัว

สำหรับใครที่กังวลว่าจะรักษาสิวที่หัวอย่างไรดี คุณหมอได้รวบรวมลิสต์ข้อเคล็ดลับมาให้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

  1. รักษาความสะอาดของหนังศีรษะและเส้นผม เพื่อรักษาสมดุลของน้ำมันบนศีรษะและลดการเกิดสิวที่หัว
  2. หลีกเลี่ยงการแกะ เกา หรือบีบสิวที่หัว เพื่อไม่ให้เกิดแผลเปิด ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและการอักเสบ
  3. ใช้ยาหรือแชมพูที่มีส่วนประกอบช่วยดูแลหนังศีรษะ สามารถหาซื้อเองได้ตามร้านขายยา หรือปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนการเลือกซื้อ
  4. รักษาด้วยการฉายแสงบำบัด (Blue Light Therapy) เพื่อทำลายเชื้อต้นเหตุของสิวที่หัว ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมได้
  5. หากมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับการรักษาสิวที่หัวที่ถูกต้องและปลอดภัยได้

เป็นสิวที่หัว “Dr.Tarinee Hair Clinic” ช่วยคุณรักษาได้

หมอรักษาสิวที่หัว
หมอรักษาสิวที่หัว

สิวที่หัวเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมักมีสาเหตุจากการที่รูขุมขนบนศีรษะอุดตันจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ไขมันจากผิวหนัง ขี้ไคล สิ่งตกค้างจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมไปถึงปัจจัยอื่นของสภาพแวดล้อมก็มีส่วนทำให้หนังศีรษะเป็นสิวได้เช่นกันค่ะ 

ปัญหาสิวที่หัวไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่จัดการได้ด้วยตนเอง อีกทั้งหากจัดการผิดวิธีก็อาจจะทำให้มีอาการเรื้อรังได้อีกด้วย แต่อย่าพึ่งกังวลไป เพราะว่าทางคุณหมอเป็นผู้มีประสบการณ์รับมือกับด้านนี้โดยตรง หากคุณกำลังประสบกับปัญหาสิวที่หัว รูขุมขนอักเสบ หรือมีอาการผิดปกติที่หนังศีรษะ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ขอคำปรึกษา หรือนัดหมายเพื่อพบกับแพทย์เฉพาะทางของคลินิกปลูกผม Dr. Tarinee ได้ที่

References

Bard, S. & Leonard, J. (2023, May 19). The benefits and side effects of blue light treatment for acne. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319254

Jonhson, J. & Iavarone K. (2023, January 12). How to treat and prevent scalp acne. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320968

Hickman-Kirby, JM. (2019, August 28). Everything You Need to Know About Scalp Acne. Allure. https://www.allure.com/story/scalp-acne-treatments-shampoo

Marcin J. (2023, May 23). Pimple on Scalp: How It Happens and How to Treat It. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/scalp-acne


What to Know About Scalp Acne. (2023, July 24). WebMD. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/what-to-know-about-scalp-acne