androgenetic alopecia คือ

เมื่อเห็นผมร่วงเป็นกระจุกจนผมบนศีรษะเริ่มน้อยลงก็คงจะรู้สึกกังวลใช่ไหมคะ ว่าทำไมผมถึงร่วงเยอะ ผมร่วงเพราะเป็นโรคหรือเปล่า? อาการผมร่วงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งพันธุกรรมก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของผมร่วงด้วยเช่นกัน ในบทความนี้จะมากล่าวถึงปัญหาผมบาง หัวล้านกรรมพันธุ์ หรือที่เรียกว่า androgenetic alopecia คืออะไร สามารถรักษาได้อย่างไรบ้างกันค่ะ



หัวล้านกรรมพันธุ์
หัวล้านกรรมพันธุ์

โรคหัวล้านกรรมพันธุ์ หรือ androgenetic alopecia คือ ลักษณะของผมร่วง กระหม่อมบางหรือหัวล้านที่เกิดจากพันธุกรรมแล้วส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หรืออาจมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวกระตุ้น โดยปัญหาผมบางกรรมพันธุ์มักเกิดขึ้นกับเพศชาย แต่เพศหญิงก็สามารถประสบปัญหานี้ได้ด้วยเช่นกัน

หัวล้านกรรมพันธุ์สามารถเกิดขึ้นในกลุ่มช่วงวัยรุ่นอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึงกลุ่มวัยสูงอายุ โดยเมื่ออายุเพิ่มขึ้น อาการผมร่วง ผมบาง หัวล้านก็จะเริ่มเห็นชัดมากขึ้น ซึ่งอาการหัวล้าน ผมบางกรรมพันธุ์ไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจสร้างแผลใจให้กับผู้ที่กำลังประสบปัญหาได้ค่ะ 


androgenetic alopecia คือ ปัญหาผมบาง ผมร่วง หัวล้านที่เกิดจากระดับเอนไซม์ 5-alpha reductase บนหนังศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งเอนไซม์นี้จะเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ทำให้รูขุมขนหนังศีรษะมีขนาดเล็กลง เส้นผมเล็กลงหรือบางลง และผมก็จะค่อย ๆ หลุดร่วงลงจนกลายเป็นภาวะหัวล้านค่ะ

หมายเหตุ

dihydrotestosterone คือ ฮอร์โมนเพศชาย มีหน้าที่กำหนดลักษณะของเพศชาย แต่เมื่อไปจับกับ Androgen receptor ที่รากผม จะทำให้เส้นผมเส้นเล็กลงและไม่แข็งแรง


โรคผมบางกรรมพันธุ์ หรือ androgenetic alopecia คือ อาการผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม หัวล้านที่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอาจมีโอกาสเป็นได้ โดยอาการจะเริ่มพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยสูงอายุ (ช่วงอายุ 18-90 ปี) ค่ะ


สำหรับหลาย ๆ คนแล้ว androgenetic alopecia คือ อาการผมร่วง หัวล้าน ที่ไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็ไม่อยากเป็น แต่ในกรณีที่กำลังประสบปัญหาจากโรคผมบางกรรมพันธุ์อยู่ ก็จะมีวิธีรักษาที่ช่วยให้ผมกลับมาขึ้นได้อีกครั้งค่ะ

ในการรักษาผมบางผู้หญิงและผู้ชายด้วยยา จะมีทั้งยาแบบทาและยาแบบรับประทาน โดยยาที่มักใช้จะมีดังนี้

  • minoxidil คือ ยาทาศีรษะ ทำให้หลอดเลือดขยาย ช่วยให้เลือดไหลเวียนหนังศีรษะดี ส่งผลให้เส้นผมงอกใหม่เร็วขึ้น แล้วเส้นขนาดใหญ่ขึ้น
  • finasteride คือ ยารับประทาน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5-alpha reductase ทำให้ฮอร์โมนDHT ลดลง

ยาที่ใช้รักษาผมบางกรรมพันธุ์ในเพศหญิง

  • ยา minoxidil แบบทา (ความเข้มข้น 2-5% ขึ้นไป ทายา 2 ครั้งต่อวัน)

ยาที่ใช้รักษาผมบางกรรมพันธุ์ในเพศชาย

  • ยา minoxidil แบบทา (ความเข้มข้น 5% ขึ้นไป ทายา 2 ครั้งต่อวัน)
  • ยา finasteride แบบรับประทาน (ขนาดยา 1 มิลลิกรัมต่อวัน)

สำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาหาวิธีรักษาผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงหรือผู้ชายด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้ยา ในปัจจุบันก็จะมีวิธีรักษาทางการแพทย์ เช่น เลเซอร์ ฉีดสาร หรือปลูกผม ซึ่งแต่ละวิธีการรักษาจะมีจุดเด่นแตกต่างกันดังนี้ค่ะ

  • เลเซอร์ LLLT

เลเซอร์ LLLT คือ การนำเลเซอร์แสงสีแดงที่มีความยาวคลื่น 630-680 นาโนเมตรมาฉายศีรษะ เพื่อให้เซลล์รากผมให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแสงจะไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดใต้หนังศีรษะ ส่งผลให้มีผมเส้นใหม่งอกขึ้นมา และช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม

  • ปลูกผม FUE

ปลูกผม FUE คือ การนำเครื่องมือ Micropunch ซึ่งเป็นเข็มขนาดเล็กมาเจาะกราฟผมที่มีเซลล์ต้นกำเนิด แล้วนำกราฟกลับไปปลูกบริเวณที่ต้องการเพื่อให้ผมกลับมางอกใหม่ได้อีกครั้งได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับผู้มีผมบางกรรมพันธุ์แล้วอยากให้มีผมขึ้นไว แต่ไม่อยากให้มีรอยแผลเป็นปรากฏค่ะ

  • ปลูกผม FUT

ปลูกผม FUT คือ วิธีแก้หัวล้าน ผมบางทั้งผู้หญิงและผู้ชายด้วยการผ่าตัดหนังศีรษะ โดยจะผ่าตัดเอาหนังศีรษะที่มีเซลล์ต้นกำเนิด มาปลูกถ่ายเซลล์ไปยังบริเวณที่มีปัญหา เพื่อให้เซลล์ต้นกำเนิดติด และเกิดกระบวนการงอกผมขึ้นมาใหม่ตามธรรมชาติ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาหัวล้าน ผมบางบริเวณกว้าง ต้องใช้กราฟผมเยอะ

  • ปลูกผม DHI

ปลูกผม DHI คือ หนึ่งในขั้นตอนของการปลูกกราฟผม FUE หรือ FUT โดยจะใส่กราฟผมในปากกา Implanter pen แล้วดันกราฟผมเข้าไปในหนังศีรษะตามแนวเส้นที่วาดไว้ ทำให้ผมขึ้นเป็นแนวสวยอย่างเป็นธรรมชาติโดยที่สภาพกราฟผมยังคงความสมบูรณ์ จึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนการรักษาหัวล้านกรรมพันธุ์ที่ช่วยถนอมกราฟผมให้ผมขึ้นไวและใช้เวลาพักฟื้นน้อย

  • ฉีด PRP

ฉีด PRP ผม คือ การนำเกล็ดเลือดมาฉีดหนังศีรษะเพื่อ กระตุ้นให้ผมงอกขึ้นใหม่ และช่วยชะลอกระบวนการหลุดร่วงของเส้นผม โดยจะนำเลือดของผู้เข้ารับการรักษามาปั่นแยกเกล็ดเลือด แล้วนำเกล็ดเลือดที่ปั่นมาฉีดกลับเข้าหนังศีรษะ จึงนับว่าเป็นวิธีช่วยให้มีเส้นผมงอกขึ้นใหม่ พร้อมบำรุงให้เซลล์รากผมแข็งแรงมากขึ้น


androgenetic alopecia คือ ปัญหาผมบาง ผมร่วง หัวล้านที่มีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม ปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้มีผมขึ้นสวยได้อีกครั้ง ในการรักษาปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ด้วยวิธีทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้ทักษะความชำนาญของแพทย์เพื่อให้การปลูกถ่ายผมประสบความสำเร็จค่ะ

สำหรับการรักษาปัญหาผมบาง ผมขึ้นเป็นหย่อม ผมร่วง หัวล้านกับทาง Dr.Tarinee Hair Clinic จะมีคุณหมอที่จบเฉพาะทางด้านการปลูกผมจะเป็นผู้ดูแลผู้เข้ารับการรักษาด้วยตนเองทุกเคส โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางต่อไปนี้ค่ะ

ช่องทางการติดต่อ


Reference

Ho, CH. Sood, T. & Zito, PM. Androgenetic Alopecia. [Updated 2024 Jan 7]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430924

Memon, R. & Avram, M. (2022). The pros and cons of follicular unit extraction (FUE) versus elliptical donor harvesting (FUT). Journal of cosmetic and laser therapy, 24(6-8):63-65. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36040012/

Emer, J. (2019). Platelet-Rich Plasma (PRP): Current Applications in Dermatology. Skin Therapy Letter, 24(5):1-6. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31584784/