เชื้อราบนหนังศีรษะ

เชื้อราบนหนังศีรษะเป็นปัญหาที่หลายท่านกังวลว่า เวลาเราผมร่วง หรือมีรังแค หรือคันหนังศีรษะมากๆ อาการเหล่านี้ มันกำลังบอกเราว่า เรากำลังเป็นเชื้อราที่หนังศีรษะ หรือเราเป็นโรคกลากหรือเปล่านะ บทความนี้จะมาอธิบาย ว่าเชื้อราบนหนังศีรษะ คืออะไร มีอาการอย่างไร และแนะนำการรักษาเบื้องต้นให้ผู้อ่านได้เข้าใจ เรื่องเชื้อราบนหนังศีรษะมากขึ้นค่ะ



เชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) คืออะไร

เชื้อราบนหนังศีรษะ หรือ โรคเชื้อกลากที่ศีรษะ หรือชื่อทางการแพทย์ Tinea capitis คือการติดเชื้อราไปที่บริเวณที่หนังศีรษะ หรือเส้นผม ที่มักทำให้เกิด ผื่นเป็นวงขุยเล็ก ๆ สีเทา หรือสีแดง อาจจะมีผมร่วง หรือ ผมหัก บริเวณที่ติดเชื้อ หรือบางรายอาจจะมีวงเล็ก ๆ วงเดียว หรือมีหลาย ๆ จุด หรือพบว่ามีผื่นวงเชื้อราเป็นขุยขอบแดง ๆ ที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายร่วงด้วย เช่น ใบหน้า มือ ขาหนีบ เท้า ถ้าปล่อยไว้นานอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีหนองเกิดขึ้นที่ผื่น และเกิดผมร่วงถาวรตามมาได้

โดยมากเชื้อราที่ศีรษะมักเกิดในเด็กช่วงอายุ 3-7 ปี เกิดได้ทั้งเพศชายและหญิง แต่ก็มีรายงานพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้เช่นกัน

เชื้อราที่ติดสามารถติดมาจากการสัมผัสโดยตรงผ่านทางดิน คน หรือสัตว์เลี้ยง โดยเชื้อราที่ศีรษะมักจะมาจากเชื้อราสองสายพันธุ์ซึ่งทำให้มีอาการต่างกันเล็กน้อย แต่การแยกสายพันธุ์จะช่วยในเรื่องการพิจารณาการรักษาเนื่องจากสองสายพันธุ์ตอบสนองต่อยาต่างกัน

1.Trichophyton 

มักจะเป็นสายพันธุ์ที่ติดมาจากดิน โดยสายพันธุ์นี้จะเข้าไปที่ทำลายแกนเส้นผม ทำให้เกิดผมหัก และชนิดนี้มักจะไม่สะท้อนแสง wood lamp ที่เราเอาไว้ส่องเพื่อดูการเรืองแสงของเชื้อรา

2.Microsporum 

มักจะเป็นสายพันธุ์ที่มาจากสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว เชื้อราสายพันธุ์นี้จะเกาะเพียงด้านนอกของเส้นผม จะเห็นเป็นสะเก็ดสีเทาๆ และมักจะสะท้อนแสงจาก Wood lamp 


เชื้อราบนหนังศีรษะ เกิดจากอะไร

การติดเชื้อราบนศีรษะเกิดจากการติดต่อโดยการสัมผัส หรือละอองสายลอยมา ติดที่ผิวหนัง หรือเส้นผม โดยการติดต่อ สามารถผ่านทาง 

  1. ผ่านทางดิน ไม่สัมผัสโดยตรงเช่นไม่ใส่รองเท้าไปเดินบนดิน ทำให้ติดมาทางผิวหนัง 
  2. ผ่านทางคน ติดจากการสัมผัสคนอื่น ซึ่งเป็นทางที่เกิดการติดต่อมากที่สุดคือติดจากคนในครอบครัว ติดจากเพื่อนในโรงเรียนในเด็กเล็ก ติดในสถานที่ดูแลคนชรา โดยอาจจะติดจากคนที่ยังไม่มีอาการแต่มีเชื้อก็ได้ ทั้งการสัมผัสกันโดยตรง หรือสิ่งของเสื้อผ้า หมอ หวี ที่ใช้ร่วมกัน
  3. ผ่านทางสัตว์ เช่น สุนัข หรือแมวในบ้านที่เลี้ยงไว้ หรือบังเอิญไปสัมผัสกับสัตว์นอกบ้านมา

เชื้อราบนหนังศีรษะ มีอาการอย่างไร

เชื้อราบนหนังศีรษะ มีอาการอย่างไร
เชื้อราบนหนังศีรษะ มีอาการอย่างไร

อาการของการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ มีอาการคันเป็นส่วนใหญ่ มีขุยสีเท่าเป็นวงๆ อาจจะมีวงเดียวหรือหลายวงก็ได้ อาจจะพบผมหัก หรือจุดดำเล็ก ๆ หนังศีรษะลอก บางรายอาจจะมีขุยขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีสะเก็ดสีเหลือง และผื่นสีแดงร่วมด้วย บางรายอาจจะมีหนอง และผมร่วงเป็นวง ๆ ตามมา


พฤติกรรมและปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อราที่ศีรษะมีหลายอย่าง เช่น

  • สุขลักษณะที่ไม่ดี เช่น สภาพแวดล้อมสกปรกหรืออับชื้น
  • สถานที่แออัด หรือชุมชนแออัด
  • มีคนใกล้ชิดติดเชื้อรา
  • มีใช้ของใส่ส่วนตัวร่วมกับคนที่ติดเชื้อรา เช่น หวี หมอน หมวก
  • เล่นกีฬาที่อาจจะมีการสัมผัสกันกับคนที่ติดเชื้อรา
  • สถานที่ร้อนชื้น อับชื้น
  • คนที่ขาดภูมิคุ้มกัน หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • มีสัตว์เลี้ยงที่มีเชื้อรา

เชื้อราบนหนังศีรษะ รักษาอย่างไร

เชื้อราที่ศีรษะควรได้รับการรักษาด้วยยารับประทานต้านเชื้อรา และยาทาฆ่าเชื้อรา และยาสระผมฆ่าเชื้อรา และควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้นาน อาจจะเกิดการติดเชื้อเพิ่มบริเวณอื่น หนังศีรษะอักเสบ หรือติดคนอื่นในครอบครัวได้ และถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้ เกิดผมร่วง หรือกลายเป็นผมร่วงแบบถาวรได้

เมื่อสงสัยว่าเป็นเชื้อราที่หนังศีรษะหรือไหม แนะนำในให้ตรวจกับแพทย์ผิวหนัง และได้รับการรักษาที่ตรงจุด และระยะเวลาที่รักษามีส่วนสำคัญ ควรทานยา ทายาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยหลายรายมักกลับมาเป็นซ้ำเพราะรักษาไม่นานเพียงพอ หรือไม่ทำตามแพทย์แนะนำจนครบ ทำให้กลับมาติดซ้ำ

อีกเรื่องที่ต้องคำนึง คือยารับประทานเชื้อรามีผลต่อตับ และส่งผลต่อยาหลายตัว ดังนั้น ในเรื่องการรักษา อยากแนะนำให้พบแพทย์เพื่อประเมินว่าคุณควรทานยาตัวไหน ทานอะไรได้ ไม่ได้ และคุณควรแจ้งชื่อยาทุกตัวที่รับประทานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบว่ายาแต่ละตัวจะไม่ส่งผลต่อกัน

หากว่าผู้ป่วยรายใดได้รับผลข้างเคียงของการติดเชื้อจนผมร่วงถาวร เมื่อรักษาการติดเชื้อหายแล้ว แต่ผมยังไม่ขึ้น สามารถเข้ามาปรึกษาที่คลินิกได้ ว่าสามารถรักษาผมร่วงได้ด้วยวิธีใดต่อ เช่น ทายา ฉีดPRP หรือปลูกผมลงบนตำแหน่งที่ร่วง ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของผมร่วง โดยคุณหมอแก้วจะประเมินการรักษาให้เฉพาะราย


ป้องกันหัวเป็นเชื้อรา ต้องทำอย่างไร

วิธีป้องกันหัวเป็นเชื้อรา
ป้องกันหัวเป็นเชื้อรา ต้องทำอย่างไร

นอกจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดเชื้อราขึ้นดังกล่าวข้างต้นแล้วเราอาจจะมีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อราที่ศีรษะดังนี้

  • ทำความสะอาดหนังศีรษะสม่ำเสมอ รวมไปถึงการดูแลสุขอนามัยโดยรวมของร่างกายและที่อยู่ของเราด้วย
  • ล้างมือช่วยลดโอกาสการติดต่อได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน หวี ควรนำของตัวเองเป็นชุดเล็กๆพกไปเอง
  • หลีกเลี่ยงไปสถานที่เสี่ยง เช่น ที่ชุมชนแออัด ที่อับชื้น
  • หากมีสัตว์เลี้ยง ควรดูแลเรื่องความสะอาดให้สม่ำเสมอ หากมีเชื้อราให้รีบรักษา
  • หากมีคนใกล้ชิดมีเชื้อราที่ศีรษะ หรือ ผิวหนังบริเวณอื่น ให้รีบรักษา และแยกของใช้ส่วนตัว ป้องกันการติดต่อกัน
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อยู่เสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ถ้าเรามีสุขภาพที่ดี สุขภาพผิวและหนังศีรษะที่ดี เมื่อสัมผัสเชื้อมา ร่างกายของเราจะพยายามเอาภูมิไปทำลายเชื้อโรค อาจจะไม่เกิดการติดเชื้อต่อมาได้

สรุปปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะ

สรุป เชื้อราที่หนังศีรษะเป็นการติดเชื้อราที่อาจจะติดจาก ดิน คน หรือสัตว์เลี้ยง โดยเมื่อติดเชื้อราจะทำให้หนังศีรษะมีขุย ผื่น แดง เป็นวงๆ หรือมีผมหัก หรือผมร่วงตามมา การวินิจฉัยโดยการตรวจพบเชื้อที่ผม หรือหนังศีรษะ และการรักษาควรพบแพทย์เนื่องจากควรได้ยารับประทานต้านเชื้อรา และควรมีระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ฆ่าเชื้อราได้อย่างเต็มที่ เพราะโอกาสการเกิดซ้ำมีสูงมาก และถ้าไม่รักษา หรือปล่อยไว้ อาจจะทำให้เกิดผมร่วงถาวรได้ 

หากท่านใดมีปัญหารังแค ผื่น หรือผมร่วงผมหัก สงสัยว่าเป็นเชื้อราที่ศีรษะ สามารถเข้ามาตรวจปรึกษาที่ Dr.Tarinee Hair Clinic ได้เลยนะคะ

Website : Dr.Tarinee Hair Clinic

Line : @drtarinee 

Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง


Ref

Ahmad M. Al Aboud; Jonathan S. Crane.(August 8, 2022).Tinea capitis, Continuing Education Activity

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK536909/?report=classic

Tinea Capitis – StatPearls – NCBI Bookshelf (nih.gov)

Amanda Oakley(September 2020).Tinea Capitis.

https:// dermnetnz.org/topics/tinea-capitis

Tinea capitis | DermNet (dermnetnz.org)