ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน
พอพูดถึงผมร่วงสิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงมากที่สุดคือคนเราผมร่วงวันละกี่เส้น แต่นอกจากคำถามว่าในแต่ละวันร่วงวันละกี่เส้นแล้ว สาเหตุของผมร่วงในหลายๆ สาเหตุก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเช่นเดียวกัน เพราะในบางครั้งบางสาเหตุอาจเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
อย่างผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินก็ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับหลายๆ คน ซึ่งการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันที่ไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดการขาดสารอาหารอย่างวิตามินบำรุงผมได้ แล้วแบบนี้ผมร่วงขาดวิตามินอะไร ต้องทานวิตามินตัวไหน กินวิตามินอะไรดีที่จะช่วยแก้ปัญหาผมร่วงได้บ้าง Dr.Tarinee Hair Clinic มีคำตอบ!
ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน จริงเหรอ?
ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน จริงเหรอ? จริงๆ แล้วเส้นผมกับวิตามินถือเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอย่างโดยตรง เพราะว่าเส้นผมจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างวิตามินควบคู่กับสารอาหารอื่นๆ ในชีวิตประจำวันเพื่อบำรุงเส้นผม
เมื่อได้รับวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลในเรื่องของการเจริญเติบโต ความแข็งแรง เงางามของเส้นผมที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในบางท่านที่มีปัญหาผมร่วง วิตามินจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการผมร่วงให้เบาลง อย่างไรก็ตามอาการผมร่วงยังมีหลากหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดขึ้นได้ เช่น
1. กรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดส่งต่อกันในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นลักษณะผิวพรรณ และหน้าตาแล้ว สภาพเส้นผมถือเป็นอีกหนึ่งในนั้นที่ถูกถ่ายทอดส่งต่อกันในครอบครัว หลายคนมีผมหยิก หลายคนมีผมตรง และในบางคนยังมีลักษณะผมบางที่ถ่ายทอดส่งต่อกันทางพันธุกรรมอีกด้วย ซึ่งลักษณะผมร่วง ผมบางจะแสดงให้เห็นได้ชัดเมื่อมีอายุที่มากขึ้น
2. ฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุผมร่วงในผู้หญิงอย่างอาการผมร่วงหลังคลอดที่เมื่อคลอดลูกระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากช่วงที่ตั้งครรภ์ จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนผมร่วงเป็นจำนวนมาก นอกจากการเกิดผมร่วงหลังคลอดในผู้หญิงแล้ว ยังมีการเกิดผมร่วงจากฮอร์โมน DHT ที่ทำให้วงจรของเส้นผมมีอายุสั้นลง จนผมหลุดร่วงมากขึ้น และอาจนำไปสู่การเกิดหัวล้านได้
3. ความเครียด
การเกิดความเครียดไม่ใช่เรื่องดีต่อร่างกายและเส้นผม เพราะในบางคนยังมีพฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด และต้องการปลดปล่อยออกมา จึงแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะท่าทางที่มีการดึงผมตัวเองบ่อยๆ โดยพฤติกรรมดังกล่าวสามารถนำไปสู่โรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเกิดความเครียดจะทำให้ร่างกายภูมิคุ้มกันตก ภูมิคุ้มกันเกิดการทำงานที่ผิดปกติ จนทำให้รากผมอ่อนแอจนนำไปสู่ผมร่วงได้เช่นกัน
4. ขาดวิตามิน
ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่หลายๆท่านอาจกำลังเผชิญอยู่ เพราะเมื่อขาดวิตามินบำรุงผม เส้นผมจะเปราะขาดหลุดร่วงง่าย แลดูไม่แข็งแรง ขาดความสุขภาพดีที่ส่งต่อจากภายในสู่ภายนอก โดยผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินเกิดจากการที่ในแต่ละวันการรับประทานอาหารแต่ละชนิดที่ทานสู่ร่างกายอาจทำให้ร่างกาย และเส้นผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จึงเกิดการขาดวิตามินบางชนิดที่จำเป็นต่อเส้นผม เช่น วิตามินบี สังกะสี วิตามินซี วิตามินดี เป็นต้น
5. การทำร้ายเส้นผมจากการใช้ชีวิตประจำวัน
นอกจากผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินแล้ว สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้ผมร่วงได้ก็คือการทำลายเส้นผมจากการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวันของคนเรานั่นเอง ซึ่งแต่ละคนมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันโดยเฉพาะการจัดแต่ง ปรับเปลี่ยนทรงผมที่มีการใช้สารเคมีอย่างการทำสีผม ยืดผมบ่อยๆ หรือการใช้ความร้อน เช่น การหนีบผมให้ตรง เซ็ทผมให้ดูสวยงามในแต่ละวัน ไปจนถึงการทำความสะอาดดูแลเส้นผมที่ในบางครั้งก็มีการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ไม่อ่อนโยน เช็ดผมแรงๆ หวีผมตอนเปียก และอื่นๆ ที่เป็นมีส่วนกระตุ้นทำให้รากผมเกิดความอ่อนแอมากขึ้น และมากขึ้น จนเกิดความเสียหายและผมร่วงไม่แพ้กับสาเหตุอื่นๆ
หากเกิดปัญหาผมร่วงจากสาเหตุข้างต้น แต่ไม่รู้จะแก้ยังไง อ่านบทความนี้ช่วยได้ : 10 วิธีแก้ผมร่วง ลดผมร่วงพร้อมโบกมือลาปัญหาผมร่วงทันที
“ไบโอติน” วิตามินแก้ผมร่วง
หากพูดถึงการบำรุงผมหรือมีปัญหาผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน ใครต่อใครก็มักจะพูดถึงไบโอตินขึ้นมาเป็นอันดับแรก เพราะไบโอตินมีส่วนช่วยในการบำรุงเส้นผมที่สำคัญมาก ด้วยสรรพคุณของไบโอติน มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเล็บ ผิวหนังและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเส้นผม
เพราะไบโอตินช่วยเสริมสร้างการทำงานของเคราติน (Keratin) องค์ประกอบหลักที่สำคัญของเส้นผมคนเรา พร้อมทั้งยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน สารอาหารที่สำคัญให้กับร่างกายและเส้นผมอีกด้วย จึงทำให้เส้นผมและหนังศีรษะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง ไม่เปราะขาดง่าย จึงทำให้ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมบางได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามนอกจากสรรพคุณที่โดดเด่นของไบโอตินในเรื่องเส้นผมแล้ว ไบโอตินยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ สำหรับร่างกายอีกมากมาย เช่น ช่วยบำรุงระบบประสาท มีส่วนช่วยในระบบเผาผลาญของร่างกาย บำรุงเล็บ บำรุงผิวพรรณ ยังช่วยเพิ่มปริมาณไขมันดีและลดปริมาณไขมันไม่ดี พร้อมทั้งยังช่วยลดการอักเสบในร่างกายของคนเราอีกด้วย
แต่การขาดไบโอตินก็ส่งผลเสียต่อเส้นผม และส่วนอื่นๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากเส้นผมจะเปราะขาดง่าย ผมแห้งเสีย สุขภาพเส้นผมไม่ดี มีลักษณะผมแตกปลาย ผมแลดูบางลงแล้ว การขาดไบโอตินยังสามารถทำให้ผื่นขึ้นรอบดวงตา ปาก และจมูก มีอาการเซื่องซึม รวมไปถึงสามารถเกิดเหน็บตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายได้
วิตามินแก้ผมร่วง มีอะไรบ้าง?
สงสัยไหมว่าผมร่วงขาดวิตามินอะไร? หลายคนเมื่อเจอปัญหาผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน จึงมองหาวิตามินที่กำลังช่วยบำรุงเส้นผมบำรุงสุขภาพผมให้กลับมาแข็งแรงดูสุขภาพดีเหมือนเก่า แต่ก็เกิดข้อสงสัยว่าแล้ววิตามินบำรุงผม วิตามินแก้ผมร่วง มีอะไรบ้าง? ผมร่วงแบบนี้ควรกินวิตามินอะไรดี วันนี้ Dr.Tarinee Hair Clinic ไม่ปล่อยให้สงสัยนาน มาพร้อมวิตามินต่างๆ ที่ดีต่อเส้นผม ช่วยแก้ผมร่วง บำรุงผมให้สุขภาพดี ดังต่อไปนี้
1. วิตามินเอช (Vitamin H)
วิตามินเอช หรือไบโอติน (Biotin) เป็นอาหารเสริมบำรุงผมที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากไบโอตินเป็นส่วนประกอบสำคัญของเส้นผม เมื่อร่างกายขาดไบโอตินหรือวิตามินเอช จะทำให้ผมเปราะบาง ขาดหลุดร่วงง่าย โดยวิตามินเอชมักพบในตับ ไข่ ถั่วเหลือง นม เนยถั่ว ปลาแซลมอน มันหวาน เห็ด และกล้วย
2. วิตามินเอ(Vitamin A)
วิตามินเอถือเป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม เพราะวิตามินเอช่วยกระตุ้นการเติบโตของเส้นผม ทำให้รากผมแข็งแรง ลดการหลุดร่วง แถมเส้นผมยังเกิดความชุ่มชื้นจากผลิตน้ำมันบนหนังศีรษะที่อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเราสามารถพบวิตามินเอในอาหารจำพวกผักใบเขียว มะละกอ ฟักทอง แครอท มันเทศ เป็นต้น
3. วิตามินซี (Vitamin C)
วิตามินซีถือเป็นสารอาหารที่รายล้อมในชีวิตประจำของคนเรา เพราะวิตามินซีมีประโยชน์หลักๆ ในการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ต่อเส้นผมไม่แพ้กัน ซึ่งวิตามินซีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนโลหิต ทำให้เส้นผมได้รับสารอาหารจากการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น และวิตามินซียังมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันผมหงอก ลดอาการผมร่วง พร้อมทั้งยังสร้างคอลลาเจนให้กับเส้นผม และช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารอื่นๆ อย่างเหล็กกับสังกะสีที่สำคัญต่อเส้นผมได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถพบวิตามินซีในอาหารจำพวกผักผลไม้ เช่น แอปเปิล ส้ม ฝรั่ง เสาวรส เบอร์รี่ต่างๆ มะนาว
4. วิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินอี เป็นอาหารเสริมบำรุงผม ที่มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี จึงสามารถปกป้องรากผมจากอนุมูลอิสระได้ ทำให้รากผมแข็งแรง เส้นผมไม่เปราะ ไม่ขาดหลุดร่วงง่าย อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ ไข่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันมะกอก
5. วิตามินดี (Vitamin D)
วิตามินดี เป็นอาหารเสริมบำรุงผม ที่ช่วยแก้ปัญหาผมร่วงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นโรคผมบาง โรคผมร่วงเป็นหย่อม ทำให้เส้นผมกลับมางอกเพิ่มขึ้น ร่างกายคนเราสามารถรับวิตามินดีผ่านแสงแดดตอนเช้าและตอนเย็นได้ หรือในอาหารประเภท ไขมันจากปลา เนื้อแดง ไข่แดง และตับ เป็นต้น
6. วิตามินบี (Vitamin B)
หากใครกำลังเจอปัญหาผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินอยู่ วิตามินอีกตัวที่มีความสำคัญกับเส้นผมมากก็คือวิตามินบี โดยวิตามินบีมีส่วนช่วยในการเสริมความแข็งแรงและช่วยกระตุ้นการเติบโตให้กับเส้นผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินบี 2 วิตามินบี 7 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผม บำรุงหนังศีรษะ ลดผมร่วง ซึ่งสามารถพบวิตามินบีได้ในอาหารประเภทต่างๆ มากมาย เช่น ไข่ ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ ปลา อะโวคาโด มะเขือเทศ เป็นต้น
7. ซิงค์ (Zinc)
มาถึงวิตามินบำรุงผมสุดท้ายนั่นก็คือซิงค์หรือสังกะสี เพราะการที่ร่างกายขาดสารอาหารอย่างสังกะสีจะส่งผลเสียทำให้แผลหายช้า และยังทำให้ผมร่วงอีกด้วย ที่สำคัญซิงค์หรือสังกะสียังมีส่วนช่วยทำให้เกิดความสมดุลของน้ำมันบนหนังศีรษะ พร้อมทั้งยังมีส่วนช่วยให้เส้นผมเกิดความแข็งแรง จากการเสริมสร้างเคราตินในรากผมอีกด้วย ซึ่งสามารถพบอาหารที่มีสังกะสีได้โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ หอยนางรม ถั่วชนิดต่างๆ โดยเฉพาะถั่วเปลือกแข็ง งา ผักคะน้า เป็นต้น
รวมวิธีแก้ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน
- การปลูกผม : ถ้าหากกินอาหารแก้ผมร่วงแล้วยังไม่ได้ผลการปลูกผมถาวรก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยลดผมร่วง ผมบาง หัวล้านได้ทันที การปลูกผมจะเป็นการย้ายรากผมที่ยังเหลืออยู่ จากบริเวณท้ายทอย มาปลูกที่บริเวณกลางศีรษะหรือบนหน้าผาก โดยจะมี 2 วิธีหลักๆ คือ
- การปลูกผมแบบ FUE เป็นการปลูกผมที่ใช้เครื่องมือเจาะนำเอารากผมออกมาจำนวนหนึ่ง จากนั้นย้ายไปปลูกใหม่ตามบริเวณและทิศทางที่ต้องการ โดยไม่ต้องผ่าตัดและมีรอยแผลเป็น การปลูกผมแบบ FUE จะมีเทคนิคแยกย่อยไปอีก เช่น การใช้ปากกาปลูกผม การปลูกผมในขณะที่ผมยาว เป็นต้น
- การปลูกผมแบบ FUT เป็นการปลูกผมที่ผ่าตัดหนังศีรษะและรากผม นำไปปลูกในบริเวณที่ไม่มีผม ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณท้ายทอยหลังการปลูกผมได้
- การรักษาผมร่วงด้วยการทำเลเซอร์ : นอกจากวิธีการปลูกผมแล้ว ยังมีการรักษาอาการผมร่วงด้วยวิธีการใช้เลเซอร์ที่ได้ประสิทธิภาพในการรักษา และผลลัพธ์ที่ดีด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การรักษาโดยเลเซอร์ LLLT เป็นการรักษาที่ใช้เลเซอร์ที่มีพลังงานเข้มข้นที่มีความยาวคลื่นประมาณ 630-680 นาโนเมตร เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเส้นผม และชะลอการร่วงของเส้นผม ซึ่งการรักษาโดยเลเซอร์ LLLT นั้นไม่จำเป็นต้องพักฟื้นนาน แผลหายเร็ว และยังได้ประสิทธิภาพหลังการรักษาที่ปลอดภัยอีกด้วย
- การรักษาผมร่วงแบบไม่ผ่าตัด : ถ้าหากไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยเลเซอร์ ก็สามารถใช้วิธีรักษาด้วยการฉีด PRP และการฉีดสเต็มเซลล์ได้ โดยมีความแตกต่างกันดังนี้
- การฉีด PRP ผม เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาผมร่วงที่แนะนำ โดยการฉีด PRP คือการนำเลือดของผู้ป่วยมาทำให้เป็นเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Rich Plasma) แล้วฉีดกลับไปยังหนังศีรษะ เพื่อให้เกล็ดเลือดช่วยฟื้นฟูการทำงานของรากผม ทำให้ผมกลับมาขึ้นและลดการขาดหลุดร่วง
- การฉีดสเต็มเซลล์ (Rigenera) เป็นการนำเซลล์รากผมมาแยกเพื่อหาเซลล์ต้นกำเนิด จากนั้นนำไปฉีดที่บริเวณหนังศีรษะ โดยสเต็มเซลล์จะเข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานของรากผม และสร้างเส้นเลือดฝอยเพื่อลำเลียงอาหารสู่เส้นผม ทำให้ผมกลับมางอกและแข็งแรงขึ้นอีกครั้ง
- การรับประทานยาแก้ผมร่วง : การรักษาผมร่วงอีกหนึ่งทางเลือกคือการรักษาผมร่วง ผมบางในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง โดยยาแก้ผมร่วงที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ และยังเป็นที่นิยมในการใช้ ได้แก่
- ยาไฟแนสเตอรายด์ (Finasteride) อีกหนึ่งยาแก้ผมร่วงที่ใช้รักษาอาการผมร่วง ผมบางในเพศชายโดยเฉพาะ ซึ่งปกติแล้วเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต แต่ไฟแนสเตอรายด์ก็ยังมีประสิทธิภาพช่วยในการรักษาอาการผมร่วง ผมบางได้ด้วยเช่นกัน โดยยาไฟแนสเตอรายด์มีด้วยกัน 2 ขนาด คือ ขนาด 1 mg และขนาด 5 mg
- ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาแก้ผมร่วง และยาปลูกผมที่เหมาะกับการใช้ในผู้หญิง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบทั้งชนิดแบบรับประทาน ชนิดทาภายนอก โดยปกติแล้วยาไมนอกซิดิลถูกใช้ในการรักษาเกี่ยวกับความดันโลหิต แต่ด้วยผลข้างเคียงของยาตัวนี้ที่ช่วยกระตุ้นการเกิดเส้นผมใหม่ จึงทำให้มีการนำมาใช้ในการรักษาอาการผมร่วง ผมบาง หัวเถิก หัวล้าน
อย่างไรก็ตามการรักษาผมร่วงด้วยวิธีการอื่นๆ ที่ได้กล่าวมานั้น แนะนำว่าควรเข้ารับการประเมินอาการเบื้องต้นจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยถึงความรุนแรงของอาการที่เป็นอยู่ก่อน เพื่อให้ได้รับวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับลักษณะอาการ และความต้องการของคนไข้ค่ะ
ข้อสรุป ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินอะไร?
ปัญหาผมร่วงเกิดจากการขาดวิตามินถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใกล้ตัวของใครหลายๆ คน ที่รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามินที่จำเป็นกับเส้นผมจนส่งผลทำให้ผมสุขภาพเสีย อ่อนแอ จนขาดหลุดร่วงในที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาผมร่วงมากๆ ก็สร้างความกังวลใจให้เมื่อเกิดขึ้น
ทางแก้สำหรับผู้ที่เจอปัญหาผมร่วงเกิดจากขาดวิตามินนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบำรุงผมต่างๆ ทั้งไบโอติน วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินบี วิตามินดี ซิงค์ ซึ่งสามารถพบได้ตามอาหารต่างๆ ทั้งเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ทานอาหารที่มีวิตามินบำรุงผมแล้ว ปัญหาผมร่วงยังไม่ดีขึ้น ยังคงมีผมร่วงเยอะให้เห็นโดยตลอด แนะนำให้เข้าพบแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมเพื่อเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น และได้รับการแก้ไขด้วยการรักษาที่เหมาะสมอย่างตรงจุด
หากท่านใดกำลังมองหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปลูกผม รักษาอาการผมร่วง ผมบาง หัวล้าน ต้องการคำปรึกษา และรับการรักษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาเส้นผม หนังศีรษะที่มีอยู่สามารถส่งรูปภาพอาการที่เป็นอยู่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงได้ ผ่านช่องทางติดต่อต่างๆ ดังนี้
Website : Dr.Tarinee Hair Clinic
Line : @drtarinee
Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
Almohanna, H. M., Ahmed, A. A., Tsatalis, J. P., & Tosti, A. (2019). The Role of Vitamins and Minerals in Hair Loss: A Review. Dermatology and therapy, 9(1), 51–70. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6380979/
O’Kelly, S. (2023, February 23). 10 Vitamin Deficiencies That Can Cause Hair Loss. https://vegamour.com/blogs/blog/what-vitamin-deficiency-causes-hair-loss
DeJohn, K. (2023, February 16). What vitamin deficiencies cause hair loss? Ro. https://ro.co/health-guide/vitamin-deficiencies-and-hair-loss/