เมื่อพูดถึงอาการหัวล้านแล้ว หลาย ๆ คนก็มักจะนึกถึงอาการหัวล้านของผู้ชายกันเสียส่วนใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่าอาการหัวล้านในผู้หญิงเองก็มีเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งผู้หญิงหัวล้าน ผมร่วง ผมบางที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ก็อาจหนักใจไม่น้อยเลย และเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด เราก็จำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุ รวมถึงวิธีการรักษาหรือวิธีแก้ไขที่เหมาะสม
ดังนั้น คุณหมอจะพาคุณมารู้จักกับอาการหัวล้านของผู้หญิงแบบละเอียดกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผู้หญิงหัวล้าน, สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน, วิธีรักษาหรือแก้ปัญหาผู้หญิงหัวล้าน เช่น การปลูกผม แบบต่างๆ, วิธีป้องกันหัวล้านในผู้หญิง รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างผู้หญิงหัวล้านและผู้ชายหัวล้าน หากพร้อมแล้ว สามารถอ่านข้อมูลได้ด้านล่างนี้ค่ะ
ลักษณะของผู้หญิงหัวล้านเป็นอย่างไร?
ลักษณะของผู้หญิงหัวล้านนั้น สามารถสังเกตได้จากความหนาแน่นของเส้นผมในช่วงกลางศีรษะที่จะค่อย ๆ บางลง และเริ่มมองเห็นหนังศีรษะได้จากภายนอก จนเมื่อระยะเวลาผ่านไป บริเวณที่ผมบางลงจนมองเห็นหนังศีรษะได้ในช่วงกลางศีรษะเริ่มขยายออกเป็นวงกลมที่กว้างมากขึ้น ท้ายที่สุดก็ทำให้ผู้หญิงหัวล้านตรงกลางศีรษะนั่นเองค่ะ
สาเหตุใดบ้างที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน?
สาเหตุที่ส่งผลให้ผู้หญิงหัวล้านนั้นมีมากมายหลายสาเหตุด้วยกัน และเพื่อให้สามารถทำการรักษาหรือแก้ไขปัญหาหัวล้านได้อย่างตรงจุดมากที่สุด ก็จำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในหัวข้อนี้ คุณหมอจะแจกแจงว่า ผู้หญิงหัวล้านนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง ตามด้านล่างนี้
1. กรรมพันธุ์
ในปัจจุบันนี้ ผู้หญิงหัวล้านที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์นั้นถือว่าพบเห็นได้มากทีเดียว โดยกรรมพันธุ์ที่ว่านี้เกิดจากยีนที่ทำให้ระยะเจริญของเส้นผมลดลง ทั้งยังทำให้ระยะพักของเส้นผมใช้เวลายาวนานขึ้นอีกด้วย ดังนั้น เมื่อระยะเจริญของเส้นผมลดน้อยลง จึงส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วงเร็วกว่าปกติ
รวมถึงเมื่อระยะพักของเส้นผมยาวนานขึ้น ก็ส่งผลให้รากผมเว้นช่วงการสร้างผมเส้นใหม่ขึ้นนานกว่าปกติ และที่สำคัญคือ หากระยะพักของเส้นผมยาวนานมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจทำให้รากผมฝ่อจนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้อีกนั่นเองค่ะ
2. ฮอร์โมนเพศ
อีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้มากไม่แพ้กันในกลุ่มผู้หญิงหัวล้านก็คือฮอร์โมนเพศนั่นเอง ซึ่งเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจะส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วงได้ โดยฮอร์โมนเพศที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้านจะเป็นส่วนของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) นั่นเอง
ตามเดิมแล้วฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ระยะเจริญของเส้นผมยาวนานมากกว่าปกติ แต่เมื่อใดที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลง ก็จะทำให้เส้นผมหลุดร่วงและทำให้ผู้หญิงหัวล้านในที่สุด โดยระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดน้อยลงนั้นสามารถพบได้ในช่วงวัยทอง ช่วงภาวะหลังคลอดบุตร รวมถึงเกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
3. อายุมากขึ้น
เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นหรือเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทองแล้ว ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระยะเจริญของเส้นผมนั้นจะค่อย ๆ ลดน้อยลง และเมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงกว่าปกติ จึงส่งผลให้เส้นผมบนศีรษะบางลงจนทำให้ผู้หญิงหัวล้านได้นั่นเอง
4. ภาวะเครียด
นอกจากปัจจัยทางกายแล้ว ภาวะทางจิตใจเองก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้หญิงหัวล้านได้เช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งภาวะทางจิตใจที่สามารถทำให้ผู้หญิงหัวล้านก็คือความเครียดนั่นเอง เนื่องจากความเครียดจะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนโดยตรง เช่น ฮอร์โมนเพศ รวมไปจนถึงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงและดูดซึมสารอาหารภายในร่างกาย
5. โรคหรือภาวะต่าง ๆ
ภาวะผมหลุดร่วงหรือภาวะหัวล้านนั้นสามารถเกิดจากโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคที่ส่งผลโดยตรงต่อรากผม, โรคที่ส่งผลทางอ้อมต่อเส้นผม รวมไปถึงโรคทางจิตเวชที่ทำให้เกิดการถอนดึงเส้นผมตนเอง โดยโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหัวล้านได้นั้นมีดังนี้
- โรคที่ส่งผลโดยตรงต่อรากผม ได้แก่ โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงทั่วศีรษะ และโรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นต้น
- โรคที่ส่งผลทางอ้อมต่อเส้นผม ได้แก่ โรคมะเร็ง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคขาดสารอาหาร, โรคไทรอยด์ และโรคภูมิแพ้รากผม เป็นต้น
- โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคซึมเศร้า, โรคย้ำคิดย้ำทำ, โรควิตกกังวล และโรคดึงผมตัวเอง เป็นต้น
6. ผลข้างเคียงจากยา
การรับประทานยาบางชนิดนั้นสามารถส่งผลให้ผู้หญิงหัวล้านได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาที่มีผลกับระบบเลือด ระดับฮอร์โมน หรือมีผลกับรากผมโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ยาต้านซึมเศร้า, ยาต้านมะเร็ง, ยาลดการแข็งตัวของเลือด และคีโม
7. พฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะ
พฤติกรรมหรือการกระทำที่คุณคาดไม่ถึงบางอย่างก็สามารถทำให้ผู้หญิงหัวล้านได้ ไม่ว่าจะเป็นการย้อมสีผมบ่อยเกินไป, การใช้น้ำยายืดหรือดัดผม, การเกาหรือสระผมอย่างรุนแรง, รวบรัดผมตึงจนเกินไป รวมไปถึงการนอนหลับในขณะที่ผมยังเปียกนั่นเอง
8. ขาดสารอาหาร
เส้นผมจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหาร จึงส่งผลให้เส้นผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและเกิดอาการผมร่วง จนอาจทำให้ผู้หญิงหัวล้านในที่สุด
9. หลังทำการผ่าตัด
ในช่วงเวลาหลังจากที่ทำการผ่าตัดหรือเกิดอุบัติเหตุมานั้น จะเป็นช่วงที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จึงส่งผลให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพัก และเกิดการหลุดร่วงของเส้นผมนั่นเอง
10. โลหิตจาง
ผู้หญิงหัวล้านสามารถเกิดในผู้ที่มีภาวะโลหิตจางได้เช่นกัน เนื่องจากภาวะโลหิตจางจะทำให้รากผมเกิดการขาดสารอาหาร จนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ขึ้นมาได้ เพราะว่าหน้าที่ของเลือดก็คือการลำเลียงสารอาหาร และออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง
ความแตกต่างระหว่าง ‘ผู้หญิงหัวล้าน’ กับ ‘ผู้ชายหัวล้าน’
‘ผู้หญิงหัวล้าน’ กับ ‘ผู้ชายหัวล้าน’ นั้นสามารถสังเกตถึงความแตกต่างได้ไม่ยากเท่าไหร่นัก โดยลักษณะของผู้หญิงหัวล้านจะเป็นหัวล้านที่เริ่มมีอาการผมร่วงบางจากบริเวณกลางศีรษะก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อย ๆ ขยายออกเป็นวงกลมกลางศีรษะ
ส่วนลักษณะของผู้ชายหัวล้านจะเป็นหัวล้านที่เริ่มมีอาการผมร่วงบางได้จากทั้งบริเวณด้านข้างศีรษะและบริเวณกลางศีรษะ ซึ่งสามารถบางลงแค่จุดใดจุดหนึ่งหรือทั้งสองจุดพร้อมกันก็ได้ แล้วภายหลังจึงค่อย ๆ ขยายออกเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ จนบรรจบกัน
ผู้ใดบ้างที่เสี่ยงเป็นผู้หญิงหัวล้านในอนาคต?
ปัญหาหัวล้านนับว่าเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ และน่าหนักใจมากทีเดียวสำหรับผู้หญิงทุกคน ดังนั้น เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างทันท่วงที ในหัวข้อนี้ คุณหมอจึงจะมาบอกให้คุณได้รู้ว่าใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นผู้หญิงหัวล้าน ดังนี้
- ผู้หญิงที่มีคนในครอบครัวมีประวัติหัวล้าน หรือมีกรรมพันธุ์หัวล้าน
- ผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหาร
- ผู้หญิงที่มีระดับฮอร์โมนผิดปกติ
- ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคที่มีอาการผมหลุดร่วงมากกว่าปกติ
- ผู้หญิงที่แพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมหรือหนังศีรษะ
- ผู้หญิงที่รับประทานยาซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อเส้นผมและรากผม
- ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน
- ผู้หญิงที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด หรือเพิ่งเกิดอุบัติเหตุมา
ควรพบแพทย์เพื่อแก้ปัญหาผู้หญิงหัวล้านเมื่อใด?
เมื่อเริ่มสังเกตได้ว่าเส้นผมบนศีรษะหลุดร่วงมากกว่าปกติหรือมากกว่าที่ควรจะเป็น ให้เข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาผมร่วงได้เลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องปล่อยไว้จนกลายเป็นผู้หญิงหัวล้านเสียก่อน โดยคุณสามารถสังเกตความผิดปกติได้ดังนี้
- เก็บเส้นผมที่หลุดร่วงออกมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งค่าเฉลี่ยต่อวันไม่ควรเกิน 100 เส้นต่อวัน
- นับเส้นผมที่หลุดร่วงออกมาตอนหลังจากสระผมเสร็จ กรณีสระผมวันเว้นวันไม่ควรมีเส้นผมหลุดร่วงเกิน 200 เส้นต่อครั้ง ส่วนกรณีสระผมทุกวันไม่ควรมีเส้นผมหลุดร่วงเกิน 100 เส้นต่อวัน
- นับเส้นผมที่หลุดร่วงเมื่อทำการหวีผมติดต่อกันเป็นเวลา 1 นาที ซึ่งเส้นผมที่หลุดร่วงออกมาไม่ควรเกิน 10-20 เส้น
วิธีแก้ไขปัญหาผู้หญิงหัวล้าน
สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้านมีอยู่มากมายหลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละบุคคลก็มีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาผู้หญิงหัวล้านจึงมีหลากหลายตามไปด้วยเช่นกันค่ะ เนื่องจากวิธีการแก้ไขหรือวิธีการรักษาปัญหาผู้หญิงหัวล้านแต่ละวิธีนั้น จำเป็นต้องเลือกวิธีตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลนะคะ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและได้ผลดีมากที่สุด
1. ปรับฮอร์โมนให้สมดุล
การที่ฮอร์โมนอยู่ในระดับที่สมดุลจะช่วยลดอาการผมร่วง และหลีกเลี่ยงสาเหตุของผู้หญิงหัวล้านได้เช่นกัน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระยะเจริญเติบโตของเส้นผม โดยวิธีการปรับฮอร์โมนให้สมดุลตามปกติมีดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยเรื่องการบำรุงเส้นผม
- ผ่อนคลายเพื่อขจัดความเครียด
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
- ในกรณีที่เป็นผู้หญิงช่วงวัยทองหรือได้ทำการผ่าตัดมดลูกกับรังไข่ออกไปแล้ว ให้ใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไป
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างให้เหมาะสมมากขึ้นนั้นสามารถลดความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้หญิงหัวล้านได้ รวมถึงช่วยลดความรุนแรงของอาการผมหลุดร่วงได้อีกด้วยค่ะ โดยพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยนจะได้แก่
- เลือกรับประทานอาหารบำรุงเส้นผม
- หมั่นผ่อนคลายและลดความเครียด
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับเส้นผม
- ไม่มัดผมรวบตึงจนเกินไป
- ไม่สระผมหรือเกาหนังศีรษะอย่างรุนแรง
- ควบคุมโรคต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
3. รักษาอาการผมร่วงด้วยยา
อาการผมหลุดร่วงในผู้หญิงหัวล้านนั้น สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้เช่นกัน โดยยาสำหรับรับประทานเพื่อแก้ไขปัญหาผู้หญิงหัวล้านก็คือยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการคลายตัว จนทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้รากผมได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเส้นผมแข็งแรงมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ
4. ทำหัตถการกระตุ้นให้เส้นผมแข็งแรง
การกระตุ้นให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้นนอกจากจะทำได้ด้วยการรับประทานยาแล้ว การทำหัตถการเองก็สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และทำให้เส้นผมแข็งแรงได้เช่นเดียวกันค่ะ โดยการทำหัตถการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนั้นได้แก่
- ฉีด PRP
การฉีด PRP เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของผู้ที่เข้ารับการรักษาไปในจุดที่มีปัญหา เพื่อให้เกิดการกระตุ้นแบ่งเซลล์รากผม รวมถึงซ่อมแซมรากผมที่มีความเสียหาย ซึ่งสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผมและฟื้นฟูอาการผมร่วงบางในผู้หญิงหัวล้านให้กลับมาหนาขึ้นได้
- เลเซอร์ LLLT
การเลเซอร์ LLLT เป็นการฉายแสงกระตุ้นรากผม ด้วยการใช้แสงที่มีคลื่นความถี่ต่ำที่ 650-680 นาโนเมตรฉายไปยังหนังศีรษะบริเวณที่มีปัญหา โดยการฉายแสงนี้จะช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนของเลือดดียิ่งขึ้น ส่งผลให้รากผมแข็งแรงจนสามารถสร้างเส้นผมได้มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
5. ผ่าตัดปลูกผม
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาผู้หญิงหัวล้านด้วยการผ่าตัดปลูกผมนั้น เป็นวิธีแก้หัวล้านผู้หญิงในกรณีที่ผู้เข้ารับการรักษาไม่สามารถใช้วิธีการกระตุ้นเซลล์รากผมเพื่อแก้ปัญหาได้แล้ว หรือไม่มีเซลล์รากผมเหลืออยู่อีกแล้วนั่นเอง โดยวิธีผ่าตัดปลูกผมผู้หญิงจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้
- ปลูกผม FUE
การผ่าตัดปลูกผม FUE เป็นการดึงเซลล์รากผมที่ต้องการออกมาด้วยการเจาะผ่านหนังศีรษะ เพื่อนำเซลล์รากผมที่ได้มานั้นไปปลูกยังบริเวณที่ต้องการปลูกผม โดยเครื่องเจาะที่ใช้นั้นจะมีขนาดประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร
- ปลูกผม FUT
การผ่าตัดปลูกผม FUT เป็นการคัดแยกเซลล์รากผมที่ต้องการออกมาด้วยการผ่าตัดนำชิ้นหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยบางส่วนออกไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อนำเซลล์รากผมที่คัดแยกออกมาไปปลูกยังบริเวณที่ต้องการปลูกผม
- ปลูกผม DHI
การผ่าตัดปลูกผม DHI เป็นการผ่าตัดปลูกผมที่ใช้วิธีเดียวกับ FUE เพียงแต่การผ่าตัดปลูกผม DHI นั้นจะนำรากผมที่ต้องการฝังลงไปยังบริเวณที่ต้องการปลูกผมด้วยเครื่องมือนำส่งชนิดพิเศษ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำให้อาการบาดเจ็บของเซลล์รากผมและหนังศีรษะลดน้อยลง
วิธีป้องกันไม่ให้ผู้หญิงหัวล้านที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
นอกจากรู้จักวิธีรักษาและแก้ไขปัญหาของผู้หญิงหัวล้านกันไปแล้ว จะดีกว่าหรือไม่ถ้าหากคุณรู้เท่าทันและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ของผู้หญิงหัวล้านได้ ดังนั้น ในหัวข้อนี้ คุณหมอจะพาคุณมารู้จักวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหัวล้านขึ้นว่ามีอะไรบ้าง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนหรือสารเคมีกับเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น การย้อมผม การกัดสีผม และอื่น ๆ
- หมั่นทำความสะอาดหนังศีรษะและเส้นผมอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อเส้นผม เช่น อาหารที่มีไขมันสูง
- ผ่อนคลายขจัดความเครียด
- หมั่นนวดหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดอยู่เสมอ
แก้ไขปัญหาผู้หญิงหัวล้านครบจบที่ Dr.Tarinee Hair Clinic
อาการผมหลุดร่วงจนกลายเป็นบ่อเกิดของปัญหาผู้หญิงหัวล้าน นับเป็นปัญหาที่ยิ่งรีบเข้ารับการรักษาหรือแก้ไขเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีมากเท่านั้นค่ะ เพื่อไม่ให้ปัญหารุนแรงมากจนเกินกว่าจะรักษา และถ้าหากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกันนี้อยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าควรเลือกรับการรักษาที่คลินิกไหนดี ขอแนะนำที่ Dr.Tarinee Hair Clinic
Dr.Tarinee Hair Clinic มีแพทย์ที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ในการปลูกผมมากกว่า 3 ปี รวมถึงมีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคผมนานถึง 10 ปีเลยทีเดียว ดังนั้น คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้รับการปลูกผมโดยแพทย์ที่น่าเชื่อถือแน่นอน ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่างนี้
- Tel. 088-9519193
- IG : DrTarineeHairclinic
- Tiktok : @drtarineehairclinic
- Website : ปลูกผม Dr.Tarinee Hair Clinic
- Line : @drtarinee
- Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง
References
Tammy Worth. (2023, August 27). Causes of Hair Loss in Women: Medical Reasons and More. webmd. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hair-loss/women-hair-loss-causes