Dihydrotestosterone คืออะไร

ทราบหรือไม่? ในร่างกายของคุณผู้ชายมีฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วง จึงเป็นสาเหตุให้บางครั้งเราต้องเผชิญกับเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง และมีปัญหาหนังศีรษะในที่สุด แม้ว่าเราจะใช้ชีวิตเหมือนเดิมในทุกวัน หรือใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมแล้วก็ตาม ปัญหานี้ก็ยังไม่หมดไป ดังนั้นเรามาทำความรู้จักฮอร์โมนชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพื่อไขข้อสงสัยของเรากันค่ะ

ในบทความนี้คุณหมอจะมาแนะนำว่า ฮอร์โมน DHT หรือ Dihydrotestosterone คืออะไร พร้อมกับคำแนะนำในการดูแลเส้นผม วิธีแก้ผมร่วง ให้สุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะแข็งแรงค่ะ

Dihydrotestosterone คืออะไร

DHT Hormone คือ
DHT Hormone คือ

ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone, DHT) คือ ฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเจริญเติบโตของเพศชายตั้งแต่แรกเกิด และยังมีฮอร์โมนที่สร้างลักษณะทางเพศของผู้ชายอีกด้วย 

ฮอร์โมน DHT ไม่ได้เกิดขึ้นเองจากอวัยวะในร่างกาย แต่เกิดจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่ไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ 5α-Reductase จึงได้เป็นรูปแบบไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาอวัยวะภายนอกต่าง ๆ ของเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขนาดของอวัยวะ, การมีเสียงที่เปลี่ยนไปเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น, การมีขนขึ้นบริเวณร่างกาย และที่สำคัญคือ การทำให้ผมร่วง ผมบาง และผมเส้นเล็กลงเมื่อมีอายุมากขึ้นนั่นเอง

ฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) เกิดจากอะไร

Dihydrotestosterone สาเหตุ
Dihydrotestosterone สาเหตุ

อย่างที่คุณหมอได้กล่าวไปในหัวข้อข้างต้นว่า ฮอร์โมน Dihydrotestosterone คืออะไร และร่างกายไม่ได้สร้างฮอร์โมน DHT ขึ้นมาเองได้ แต่ฮอร์โมน DHT เกิดจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่ทำปฏิกิริยาจนเกิดมาเป็นฮอร์โมน DHT 

ในเพศหญิงจริง ๆ แล้วเราก็มีฮอร์โมน DHT เหมือนกันค่ะ แต่ในเพศหญิงจะมีฮอร์โมนเอสตราดิออล (Estrodiole) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่คอยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหนังศีรษะและช่วยต้านการทำงานของฮอร์โมน DHT ดังนั้นในเพศหญิงจึงไม่ค่อยพบปัญหาผมร่วงมากเท่าเพศชายค่ะ

ประโยชน์ของฮอร์โมน Dihydrotestosterone

ประโยชน์ของ DHT
ประโยชน์ของ DHT

อย่างที่เราทราบกันไปแล้วว่า ฮอร์โมน Dihydrotestosterone คืออะไร แต่ฮอร์โมนชนิดนี้ไม่ได้มีแต่ข้อเสียเสมอไป เพราะฮอร์โมน Dihydrotestosterone หรือ DHT ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • ช่วยให้ร่างกายของเราทำงานเป็นปกติ
  • ทำหน้าที่สร้างกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย
  • ทำหน้าที่สร้างขนทั่วร่างกาย เช่น ขนบนใบหน้า, ขนตามร่างกาย และขนในที่ลับ
  • ทำหน้าที่สร้างสรีระทางเพศให้กับร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศและการมีเสียงทุ้ม
  • ช่วยเรื่องสมรรถภาพทางเพศเมื่อมีอายุมากขึ้น

ฮอร์โมน Dihydrotestosterone ไม่ควรมีมากเกินไป

ฮอร์โมน dht
ฮอร์โมน dht

เมื่อเราทราบถึงประโยชน์ของการมีฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ว่าคืออะไรกันไปแล้วใช่ไหมคะ หลายคนอาจจะคิดว่า การมีฮอร์โมน DHT จำนวนมากเกินเป็นเรื่องที่ดี แต่ความจริงแล้วการมีฮอร์โมน DHT มากจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและมีปัญหาเกี่ยวกับหนังศีรษะได้ดังนี้ค่ะ

  • การเจริญเติบโตของร่างกาย หากมีฮอร์โมน DHT มากอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของหนวดเครา ทำให้มีศีรษะล้าน และทำให้เกิดผมบางจากกรรมพันธุ์ได้
  • การเกิดโรคต่อมลูกหมาก หากมีฮอร์โมน DHT มากอาจทำให้ต่อมลูกหมากโต และอาจก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยขึ้น และมีปัญหาทางเดินปัสสาวะได้
  • การมีขนบริเวณร่างกาย หากมีฮอร์โมน DHT มากอาจส่งผลให้ขนต่าง ๆ มีจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใบหน้าหรือตามจุดซ่อนเร้น จึงอาจส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในร่างกายของตัวเองได้

ฮอร์โมน Dihydrotestosterone มีน้อยเกินไปก็ไม่ดี

การมีฮอร์โมน DHT ที่สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในบางประการที่คุณหมอพูดถึงข้างต้น แต่การมีฮอร์โมน DHT ที่น้อยเกินไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการเจริญเติบโตทางเพศเมื่อคุณเข้าสู่วัยรุ่นได้เช่นกันค่ะ

  • ทำให้เกิดความล่าช้าในการเข้าสู่วัยรุ่น
  • ทำให้มีการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศช้าหรือไม่สมบูรณ์ได้
  • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของไขมันในร่างกาย เสี่ยงต่อเกิดภาวะผู้ชายมีนม (Gynecomastia)

ทั้งนี้ผลกระทบของการมีฮอร์โมน DHT ในร่างกายอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ รวมด้วย เช่น ปัญหาสุขภาพ วิธีการดำเนินชีวิต และลักษณะพันธุกรรม

ฮอร์โมน Dihydrotestosterone กับปัญหาผมร่วง ผมบาง

ผมร่วงเพราะฮอร์โมน
ผมร่วงเพราะฮอร์โมน

เรามาดูกันต่อนะคะว่า นอกจากเรื่องของพันธุกรรมแล้ว ทำไมฮอร์โมน Dihydrotestosterone คือตัวการที่ทำให้ผมของเราหลุดร่วงได้บ้าง

เนื่องจากผมหรือขนทุกส่วนในร่างกายเติบโตจากโครงสร้างใต้ผิวหนังที่เรียกว่า รูขุมขน ซึ่งเป็นแคปซูลขนาดเล็กที่แต่ละรูจะมีเส้นผมงอกออกมาประมาณ 1-4 เส้น โดยทั่วไปเส้นผมจะมีการเจริญเติบโตอยู่ที่ 2-6 ปีแล้วจึงหยุดงอกขึ้นมาใหม่ แม้ว่าเราจะตัดผมหรือโกนผม เส้นผมเส้นเดิมก็จะงอกขึ้นใหม่แต่จะมีขนาดสั้นและเล็กลงเรื่อย ๆ อีกทั้งเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าวจะเข้าสู่ระยะพัก ก่อนที่เส้นผมจะหลุดร่วงในที่สุด 

ซึ่งหากเรามีฮอร์โมน DHT สูงจะทำให้รูขุมขนหดตัวและทำให้วงจรในการเจริญเติบโตของเส้นผมสั้นลง ส่งผลให้เส้นผมดูบางลงและเปราะง่ายมากขึ้น นอกจากนี้หากคุณผู้ชายมีกรรมพันธุ์ในเรื่องของผมร่วง, ผมบาง และศีรษะล้านอยู่แล้ว ยิ่งส่งผลให้เกิดปัญหาหนังศีรษะจากฮอร์โมนได้ง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ

อาการผมร่วงจาก Dihydrotestosterone เป็นอย่างไร

ผมร่วง อาการ
ผมร่วง อาการ

คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า อาการผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมน Dihydrotestosterone คืออะไรบ้าง?

  1. ผมจะเริ่มร่วงมากกว่าปกติ (ประมาณ 150 เส้นต่อวันขึ้นไป)
  2. ผมจะบางและหลุดร่วงง่ายขึ้น จากการสางผมและดึงเบา ๆ 
  3. ผมจะเริ่มร่วงจากกลางศีรษะเป็นหย่อม
  4. ผมจะร่วงอย่างต่อเนื่องจนกลางกระหม่อมบางลงจนเห็นหนังศีรษะ
  5. ผมจะหลุดร่วงออกไปจนเห็นหนังศีรษะเป็นรูปวงกลม และอาจถึงขั้นศีรษะล้านในที่สุด

วิธีลดฮอร์โมน Dihydrotestosterone

ดูแลผม ลดฮอร์โมน
ดูแลผม ลดฮอร์โมน

แม้ว่าฮอร์โมน Dihydrotestosterone ที่มีอยู่ในร่างกายจะส่งผลให้มีผมร่วงและผมบางง่ายมากขึ้น แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะเราสามารถเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทุกวันของเราได้ วิธีการลดฮอร์โมน Dihydrotestosterone จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

1.หันมารักษาสุขภาพ

พฤติกรรมบางอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวันบางอย่างอาจจะไปกระตุ้นฮอร์โมน DHT ในร่างกาย และทำให้เกิดผมร่วงขึ้นมาได้ โดยเราอาจจะเริ่มจากการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมน้ำหนัก, การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, ลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ รวมถึงงดการใช้ความร้อนและสารเคมีกับเส้นผม อีกทั้งการนวดศีรษะให้ร่างกายผ่อนคลายก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดฮอร์โมนชนิดนี้ได้ค่ะ

2.รับประทานอาหารบำรุงผม

การรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงผมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดฮอร์โมน DHT ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอาหารที่มีไบโอติน (Biotin) ที่สามารถช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรงมากยิ่งอีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานน้ำมันเมล็ดฟักทอง, ชาเขียว และคาเฟอีน ยังช่วยให้การเจริญเติบโตของเส้นผมดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงผมและลดผมร่วงได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ

3.ใช้ยาแก้ผมร่วง

การใช้ยาแก้ผมร่วงในการรักษาอาการผมร่วงและผมบาง เป็นเพียงการรักษาในระยะเบื้องต้นเท่านั้น จะไม่ใช่การรักษาอาการให้หายขาดได้นะคะ สำหรับยาแก้ผมร่วงที่ผ่านการรับรองจากทางการแพทย์ในประเทศไทยจะมีเพียง 2 ตัว ได้แก่ ยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) และ ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) โดยจะมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) คือ ยาแบบรับประทานเพื่อแก้ผมร่วงสำหรับผู้ชายรูปแบบเม็ด จะใช้รักษาอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนได้
  2. ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) คือ ยาที่สามารถแก้ปัญหาผมร่วงได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อีกทั้งยังคงมีสรรพคุณที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คือ การไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น เลือดจึงสามารถไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำให้เซลล์รากผมได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเป็นการบำรุงผมไปในตัวด้วยค่ะ

4.ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากลองแก้ไขปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาแก้ผมร่วงก็แล้วแต่ไม่เห็นผล คุณหมอแนะนำให้ลองปรึกษาและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญค่ะ เนื่องจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องเส้นผมจะมีวิธีการรักษาและเทคนิคเฉพาะให้แต่ละคน อย่างการปลูกผม ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านให้กลับมามีผมหนาขึ้นโดยที่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ค่ะ ซึ่งการปลูกผมก็มีหลายวิธีที่แตกต่างกันดังนี้ 

สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผมเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่บทความนี้เลยนะคะ ปลูกผม ทางเลือกสำหรับคนผมบาง หัวล้าน ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้!

“Dr.Tarinee Hair Clinic” ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและการปลูกผมอย่างครบวงจร

ปลูกผม
ปลูกผม

สรุปแล้วปัญหาผมร่วงและผมบางอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมภายนอกของเรา แต่เกิดจากการมีฮอร์โมน Dihydrotestosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงเมื่อมีอายุมากขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางร่างกายตามมา ทั้งนี้เราสามารถลดฮอร์โมนดังกล่าวในร่างกายให้น้อยลงได้ด้วยตัวเราเอง แต่สำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหาผมร่วง ผมบาง และมีปัญหาหนังศีรษะ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด

สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญาหนังศีรษะ ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic โดยคุณหมอแก้ว แพทย์หญิง ธาริณี ก่อวิริยกมล เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเส้นผมและศัลยกรรมการปลูกผม ผมร่วง จบการศึกษาจากศิริราช รักษาโรคที่เกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะอย่างครอบคลุม ให้คุณกลับมามีสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่ดีอีกครั้ง

 สามารถติดต่อคุณหมอได้ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic จากช่องทางนี้ได้เลยค่ะ

References

Boskey, E. (2023, November 2). How Dihydrotestosterone (DHT) Causes Hair Loss. Verywellhealth.

https://www.verywellhealth.com/what-is-dihydrotestosterone-4684657

Jewell, T. (2019, January 10). What You Need to Know About DHT and Hair Loss. Healthline. https://www.healthline.com/health/dht


Newman, T. (2017, July 28).Everything you need to know about DHT. Medicalnewstoday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/68082