ผมบาง

ผมบางรักษาอย่างไร? คงเป็นคำถามที่เหล่าคนผมบางต่างสงสัยและต้องการหาทางรักษา เพราะผมบางเป็นปัญหาที่น่ากังวลใจของใครหลายคน บางคนผมบางกลางหัว บางคนผมข้างหน้าบาง ทำให้ขาดความมั่นใจ เกิดความเครียด ยิ่งเครียดผมก็ยิ่งบาง แต่ที่จริงแล้วมีวิธีแก้ไขปัญหาผมบางให้กลับมาหนาได้ ถ้าหากเราดูแลเส้นผมอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาผมบางอย่างตรงจุดกับแพทย์เฉพาะทาง ทำให้ผมบางกลับมาหนา หมดความกังวลเพิ่มความมั่นใจ กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 

วันนี้ คลินิกปลูกผม Dr.Tarinee Hair Clinic ขอพาทุกท่านมารู้จักสาระดี ๆ เกี่ยวกับผมบาง ทั้งสาเหตุของผมบาง พฤติกรรมเสี่ยง และวิธีการรักษาผมบาง และเรื่องน่ารู้อื่น ๆ อีกมากมาย ที่ขอบอกว่าท่านใดที่กำลังเจอกับปัญหาผมบางต้องห้ามพลาด!


สรุป ผมบางเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

  • ผมบาง ผมหลุดร่วงง่าย มีสาเหตุเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการดูแลเส้นผม
  • ปัจจัยภายในที่ทำให้ผมบางอาจเกิดจากพันธุกรรมทางครอบครัว ความผิดปกติของฮอร์โมน และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคของเส้นผมกับหนังศีรษะ
  • ปัจจัยภายนอกที่เร่งกระตุ้นให้เส้นผมหลุดร่วงง่ายหรือหนังศีรษะอักเสบ อาจเกิดจากการใช้สารเคมีและความร้อนกับเส้นผม การมัดผมหรือเช็ดผมอย่างรุนแรง การนอนโดยไม่เช็ดผมให้แห้งสนิท
  • พฤติกรรมสูบบุหรี่ รวมถึงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ส่งผลให้เส้นผมขาดสารอาหารและวิตามินบำรุงผมให้แข็งแรง
  • นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลผมบางกลับมาแข็งแรงแล้ว ยังสามารถรักษาผมบางด้วยการปลูกผมได้อีกด้วย เช่น การปลูกผม FUT, FUE, DHI เป็นต้น


อาการผมบาง เกิดจากอะไร

ผมร่วงจนบาง
ผมร่วงจนบาง

อาการผมบางเกิดจากอะไร? ปกติแล้วคนเราจะมีผมร่วงต่อวันไม่เกิน 200 เส้น แต่ถ้าหากมีผมร่วงเยอะเกินกว่านี้ก็จะทำให้ผมบางลง ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามอายุที่มากขึ้น แต่ในบางกรณีก็เกิดกับคนที่มีอายุน้อยที่มีเครียดสะสมทำให้ผมเริ่มบางก่อนวัยอันควร ผมบางสามารถเป็นได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แต่ก็จะมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หรือพฤติกรรมที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าทำแบบนี้ผมจะร่วงจนบางได้


ผมบางมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง? หลายคนที่ทำตามวิธีแก้ผมบางอาจรักษาไม่หาย เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ผมบางลง จึงทำให้รักษาไม่ถูกจุด ซึ่งปัญหาผมบางอาจเกิดได้หลายสาเหตุดังต่อไปนี้

สาเหตุแรกของสาเหตุที่มีผมบางอาจมาจากกรรมพันธุ์ในครอบครัว โดยลักษณะผมบางสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมกันได้ หากใครที่เกิดในครอบครัวที่มีลักษณะผมบางก็จะได้พันธุกรรมนี้ส่งต่อกันมาในครอบครัว

ผมบางมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนไดไฮโดรเทสทอสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือ DHT ที่เป็นฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งหนังศีรษะบางคนอาจมีความไวต่อฮอร์โมนนี้ ทำให้วงจรของผมสั้นลง จึงเกิดผมบางกลางหัว หรือผมด้านหน้าบาง

โรคที่ส่งผลต่อหนังศีรษะโดยตรงและเส้นผมที่ทำให้ผมบาง เช่น โรคภูมิแพ้รากผม โรคผมร่วงจากเชื้อรา โรคฝีหนองบนศีรษะ นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศีรษะโดยตรง แต่ก็ทำให้ผมร่วง ผมบางได้ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคเบาหวาน, โรคโลหิตจาง, โรคซิฟิลิส เป็นต้น

หลังคลอดบุตรจะทำให้คุณแม่เกิดภาวะต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ ผมร่วงหลังคลอด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างฉับพลัน แต่อาการผมร่วง ผมบางนี้สามารถหายกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 3-6 เดือน

อาการผมบาง ผมร่วงมีโอกาสพบเจอได้หลังผ่าตัดไปแล้ว 3-4 เดือน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากความเครียดของร่างกายหลังผ่าตัด และการใช้ยาสลบ ไม่ว่าจะเป็นแบบดม แบบทาน หรือแบบฉีด

แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาผมร่วง : วิธีแก้ผมร่วง

การใช้ยาบางประเภทอาจทำให้ผมบางได้ เช่น ยาเคมีบำบัด, ยารักษาสิวที่เป็นกรดวิตามินเอสังเคราะห์, ยาฆ่าเชื้อ หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น เนื่องจากยาเหล่านี้เข้าไปลดการทำงานของต่อมไขมัน หรือรบกวนการไหลเวียนของเลือดบริเวณรากผม จึงส่งผลข้างเคียงทำให้ผมเริ่มบางกับผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานาน

ผู้มีรังแคจำนวนมากหรือหนังศีรษะอักเสบอาจทำให้ผมบางได้ เพราะหนังศีรษะที่มีรังแคอาจส่งผลให้เกิดการคันและเกาศีรษะมากขึ้น ส่งผลให้รากผมถูกทำลาย หรืออาจเกิดแผลเป็นจนทำให้เส้นผมบริเวณนั้นไม่งอกขึ้นใหม่


พฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันก็มีส่วนทำให้ผมบาง หรือสร้างความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะผมบางได้เช่นกัน ซึ่งบางพฤติกรรมหลายคนก็อาจคาดไม่ถึงว่าสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงได้ โดยหัวข้อนี้จะพาไปดูพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการผมบาง ดังนี้

ผมเริ่มบาง

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีความเสี่ยงทำให้ผมร่วง ผมบางได้ เพราะในขณะที่นอนหลับร่างกายจะใช้เวลาฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอง แต่ถ้าหากนอนดึกหรือนอนน้อย จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและความแข็งแรงของรากผม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงจนบางลงในที่สุด

การนอนหลับไม่เพียงพออาจมาจากความเครียดสะสมซึ่งส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วงและบางลงได้เช่นกัน เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ออกมามากกว่าปกติ ทำให้รบกวนการทำงานของรากผมและเส้นผม รวมถึงเข้าไปยับยั้งการทำงานของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอและบางลง

ผมบาง ผู้หญิง
ผมบาง ผู้หญิง

อีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงของอาการผมบางคือ การใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงเกินไป หรือใช้ความร้อนกับเส้นผมบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากไดร์เป่าผม หรือความร้อนจากที่หนีบผมนั้น ซึ่งเป็นการทำร้ายเส้นผมโดยตรง เพราะจะทำให้ผมเสีย อ่อนแอ รวมถึงเส้นผมแห้ง กรอบ และแตกปลายสุดท้ายก็จะหลุดร่วงได้ง่าย

ผมบางมาก
ผมบางมาก

สารเคมีที่ใช้ดัด ยืด ทำสีผม เมื่อใช้บ่อย ๆ จะทำให้เส้นผมอ่อนแอ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะเข้าไปทำลายทั้งเส้นผมและรากผม ทำให้ผมแห้งเสียขาดความชุ่มชื้น หรือหนังศีรษะอักเสบจนทำให้รากผมอ่อนแอ ผมร่วงจนผมบางลงในที่สุด

ผมบางลง
ผมบางลง

พฤติกรรมเสี่ยงทำให้ผมบางที่หลายคนมักทำบ่อย ๆ โดยไม่รู้ตัวคือ การหวี การเช็ดผมแรง รวมถึงการมัดผมแน่นเกินไป ยิ่งเช็ดผมแรง ๆ หรือหวีผมตอนที่ผมเปียก อาจเป็นสาเหตุทำให้เส้นผมหลุดร่วงจนผมเริ่มบางได้ นอกจากนี้ การมัดผมแน่นหรือตึงเกินไปจะทำให้รากผมอ่อนแอจากการถูกดึง รวมถึงโครงสร้างของเส้นผมจะถูกบิดงอจนผิดรูป ซึ่งถ้าหากทำบ่อยครั้งก็เป็นสาเหตุของผมบางได้

ยาแก้ผมบาง
ยาแก้ผมบาง

เส้นผมจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเติบโต และสร้างเส้นผมใหม่ หากรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยเป็นประจำจะส่งผลให้ร่างกายขาดโปรตีนและวิตามินจึงเกิดผมร่วง เปราะขาดง่ายยิ่งขึ้น เช่น วิตามินบี6 วิตามินบี12 กรดโฟลิก เป็นต้น นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลทางอ้อมทำให้ผมบาง ผมขาดความชุ่มชื้นได้เช่นกัน เพราะเมื่อดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุ และวิตามินได้ดีเหมือนเดิม จึงสูญเสียสารอาหารที่สำคัญต่อเส้นผมไป เช่น วิตามินบี, ธาตุเหล็ก, ทองแดง, สังกะสี

แก้ผมบาง
แก้ผมบาง

การสูบบุหรี่นอกจากจะส่งผลเสียต่อปอดแล้ว ยังส่งผลเสียต่อเส้นผมด้วย เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้เส้นเลือดหดตัว เมื่อระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เส้นผมก็จะขาดสารอาหารทำให้ผมบาง ที่สำคัญบุหรี่ยังเร่งให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายผมร่วง ผมบางนั่นเอง

ผมด้านหน้าบาง
ผมด้านหน้าบาง

การนอนโดยไม่เช็ดผมให้แห้งสนิท จะทำให้มีความชื้นสะสมที่หนังศีรษะและหมอน เมื่อความชื้นสะสมมากขึ้นอาจก่อให้เกิดเชื้อรา รังแค หนังศีรษะอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมไม่แข็งแรงหลุดร่วงง่ายจนผมเริ่มบางลง

อ่านบทความสาระความรู้เพิ่มเติม : วิธีทำให้ผมหนา


รักษาผมบาง

การรักษาผมบางที่ได้ผลดี อันดับแรก แนะนำให้ตรวจหาสาเหตุของผมบาง เพื่อวางแผนการรักษาให้ตรงจุด ซึ่งการรักษาผมบางมีทั้งวิธีที่เริ่มจากการดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันง่าย ๆ ไปจนถึงการพบแพทย์เพื่อรักษาอาการผมบาง โดยรายละเอียดวิธีรักษาแต่ละแบบมีดังนี้

หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไดร์เป่าผมหรือการใช้ที่หนีบผมบ่อยครั้ง เพื่อลดโอกาสทำให้หนังศีรษะแห้ง ขาดความชุ่มชื้น รากผมไม่แข็งแรง จนทำให้เส้นผมเปราะบางและหลุดร่วง

หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับเส้นผมทั้งน้ำยายืดผม น้ำยาย้อมสีผม สารเคมีสังเคราะห์จะเข้าไปทำลายเส้นผม ทำให้ผมแห้งเสีย ขาดหลุดร่วงจนผมเริ่มบางลง หรือการใช้สเปรย์ มูส เจล เพื่อจัดแต่งทรงผม ซึ่งมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นหลัก ก็เป็นสาเหตุของผมบางเช่นกัน

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ จะช่วยให้เส้นผมได้รับสารอาหารครบถ้วน บำรุงเส้นผมให้ความแข็งแรง และกระตุ้นการเติบโตใหม่ของเส้นผมอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินและธาตุเหล็ก เช่น วิตามินเอ, วิตามินซี, วิตามินบี12, วิตามินดี, ไบโอติน, ธาตุเหล็กสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

การเลือกใช้แชมพูแก้ผมร่วง ผมบางถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบำรุงฟื้นฟูเส้นผม เพราะมีส่วนประกอบอย่างคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ที่จะช่วยลดอาการหลุดร่วงของเส้นผม ลดอาการผมบาง และยังช่วยลดการเกิดรังแค ที่ล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้ผมบางนั่นเอง

การสระผมให้ถูกวิธีถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ช่วยรักษาผมบางได้ โดยควรสระผมน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ควรสระผมด้วยน้ำอุ่นเพราะอาจทำให้หนังศีรษะแห้ง และอาจส่งผลให้เกิดน้ำมันบนหนังศีรษะเสียสมดุล

นอกจากวิธีการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การรักษาอาการผมบางยังสามารถทำได้ด้วยวิธีการศัลยกรรมปลูกผมอีกด้วย โดยวิธีการศัลยกรรมปลูกผมนั้นมีหลากหลายวิธีดังต่อไปนี้

  • การปลูกผม FUE (Follicular Unit Extraction) เป็นการปลูกผมถาวรที่ไม่เกิดแผล เพราะการปลูกผมแบบ FUE นั้นจะเป็นการเจาะเซลล์รากผมที่แข็งแรง มาปลูกบนตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ โดยไม่ต้องผ่าตัด
  • การปลูกผม FUT (Follicular Unit Hair Transplant) เป็นการปลูกผมถาวร โดยการปลูกผม FUTจะผ่าตัดเซลล์รากผมจากท้ายทอยทีละเส้น นำไปปลูกบริเวณด้านบนหรือด้านหน้าศีรษะ ทำให้เส้นผมแข็งแรงเรียงตัวสวยงาม
  • การปลูกผม DHI (Direct Hair Implantation) เป็นการปลูกผมถาวรที่ใช้เทคนิคเดียวกับการปลูกผม FUE ซึ่งเป็นการนำเซลล์รากผมที่แข็งแรงมาปลูก แต่สามารถปักลงไปที่หนังศีรษะได้โดยไม่ต้องเจาะรู
  • การปลูกผม Micro TRIM FUE เป็นวิธีการปลูกผมที่พัฒนามาจากการปลูกผมแบบ FUEแต่จะใช้เครื่องมือเจาะเซลล์รากผมให้มีขนาดเล็กลงแต่แข็งแรงขึ้น โดยมีประสิทธิภาพการปลูกได้แม่นยำกว่า

การรักษาผมบางยังสามารถทำได้ด้วยการกระตุ้นรากผมด้วยเช่นกัน ซึ่งมีการรักษาหลากหลายวิธี ดังนี้

  • ฉีด PRP ผม (Platelet Rich Plasma) เป็นวิธีการกระตุ้นรากผมโดยใช้เกล็ดเลือดเข้มข้น ด้วยการฉีด PRP ผม จะฉีดเข้าไปในหนังศีรษะบริเวณที่ผมบาง ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม ทำให้ผมกลับมาขึ้นและแข็งแรงเหมือนปกติ
  • เลเซอร์ LLLT (Low Level Laser Therapy) เป็นวิธีการกระตุ้นรากผมโดยยิงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำลงบนหนังศีรษะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เซลล์รากผมได้รับสารอาหารและเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
  • ฉีดสเต็มเซลล์ผม (Rigenera Activa) เป็นการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากรากผมมาฉีดลงบนหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการรากผมให้แข็งแรงขึ้น และลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง

สรุปแล้วอาการผมบางเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่สร้างความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะผมบางได้มากขึ้น ซึ่งการลดอาการผมร่วงให้น้อยลงมีอยู่หลายวิธี ทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน การใช้สารเคมีกับเส้นผม สระผมให้ถูกวิธี เลือกใช้ยาสระผมแก้ผมร่วง รวมไปถึงการเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมโดยตรง

แต่สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม และหนังศีรษะในเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอาการผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม, หัวล้าน, คิ้วบาง หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกผมและการปลูกคิ้ว สามารถติดต่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง แบบไม่มีค่าใช้จ่าย หรือจะส่งรูปภาพอาการของเส้นผม และหนังศีรษะมาให้คุณหมอประเมินเบื้องต้นได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ