เคยไหมที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านชอบเตือนไม่ให้สระผมระหว่างประจำเดือนมา เพราะความเชื่อที่ว่า “เป็นเมนส์ห้ามสระผม ระวังผมร่วง ป่วยง่าย” แต่ประจำเดือนมาครั้งหนึ่งก็ใช้เวลาตั้งหลายวัน บางคนเมนส์มาเป็นอาทิตย์เลยก็มี ครั้นจะไม่สระผมหลายวันก็คงจะทนไม่ไหว อีกทั้งยังไม่ดีต่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะด้วยค่ะ
ในบทความนี้คุณหมอจะมาเคลียร์ข้อสงสัยว่าเป็นเมนส์ห้ามสระผมจริงไหม พร้อมกับแนะนำวิธีดูแลเส้นผม ลดอาการผมร่วง ให้สุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะแข็งแรงค่ะ
เป็นเมนส์ห้ามสระผมจริงไหม
เป็นประจำเดือนห้ามสระผม
เป็นเมนส์ห้ามสระผมจริงไหม? คุณหมอขอตอบว่าเราสามารถสระผมในช่วงระหว่างเป็นประจำเดือนได้เป็นปกติค่ะ แต่อาจแนะนำว่าให้สระผมกับน้ำอุณหภูมิปกติและหลีกเลี่ยงการสระผมกับน้ำเย็น เนื่องจากในช่วงที่มีประจำเดือนมา การไหลเวียนเลือดบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายนอกจากช่วงอุ้งเชิงกรานจะลดลง โดยเฉพาะช่วงศีรษะ จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ง่าย
เมื่อเราสระผมในช่วงประจำเดือนมาด้วยน้ำเย็นจึงยิ่งเป็นการทำให้เลือดบริเวณศีรษะไหลเวียนได้ไม่ดี และทำให้มีอาการปวดศีรษะตามมานั่นเอง
เป็นเมนส์กับอาการผมร่วง เกี่ยวข้องกันอย่างไร
หากเราสามารถสระผมในช่วงที่ประจำเดือนมาได้เป็นปกติ แล้วความเชื่อ “เป็นเมนส์ห้ามสระผม” มีที่มาอย่างไร?
ในช่วงที่ผู้หญิงเราเข้าสู่ช่วงประจำเดือนมาจะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายเราเปลี่ยนแปลงมาก และฮอร์โมนก็ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เราจึงเห็นได้ว่าเมื่อเมนส์มาบางคนก็จะมีอาการที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น
- อาการทางร่างกาย
- ปวดท้องบริเวณท้องน้อย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- น้ำหนักขึ้น ร่างกายบวมน้ำมากกว่าปกติ
- คัดตึงเต้านม
- ท้องเสียหรือท้องผูก
- ปวดศีรษะ
- ผมร่วง
- อาการทางจิตใจ
- ซึมเศร้า
- วิตกกังวล
- เครียด
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดโมโหง่าย
- รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ในช่วงประจำเดือนมายังเป็นช่วงที่ร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติด้วยค่ะ
กล่าวโดยสรุปแล้วในช่วงที่ประจำเดือนมาเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงมากและส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ อาการผมร่วงก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้ในช่วงที่มีประจำเดือนค่ะ
สระผมช่วงเป็นเมนส์ ผมร่วงเยอะกว่าจริงไหม
ผมร่วง
อย่างที่คุณหมอได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ว่าในช่วงที่ประจำเดือนมาเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงมากกว่าปกติ หรือที่เรียกกันว่าช่วงฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของเส้นผมและหนังศีรษะอย่างแน่นอน จึงเพิ่มโอกาสที่เส้นผมจะขาดหลุดร่วงง่ายกว่าปกติค่ะ
และการทำความสะอาดเส้นผมด้วยการสระผมนั้น ทำให้เส้นผมต้องเจอกับน้ำเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ แต่เส้นผมที่เปียกน้ำนั้นจะมีความอ่อนแอและขาดร่วงได้ง่าย ประกอบกับในช่วงประจำเดือนมาที่เส้นผมมีความอ่อนแอจากฮอร์โมน ทำให้การสระผมในช่วงประจำเดือนมาส่งผลให้ผมร่วงมากกว่าปกตินั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงมีการพูดปากต่อปากว่าสระผมตอนเป็นเมนส์ทำให้ผมร่วง และสรุปไปว่าเป็นเมนส์ห้ามสระผมไปเสียอย่างนั้น
แต่อาการผมร่วงช่วงประจำเดือนมาเป็นอาการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อประจำเดือนหมดแล้ว ระดับฮอร์โมนในร่างกายก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เส้นผมก็จะกลับมาแข็งแรง ไม่ขาดร่วงง่ายอีกครั้งค่ะ
ปกติผู้หญิงผมร่วงวันละเส้น
เส้นผมบนศีรษะเรามีวงจรชีวิตของเส้นผม เมื่อถึงเวลาก็จะหยุดเจริญและร่วงออกเพื่อให้ผมเส้นใหม่งอกมาแทนที่ วงจรนี้จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันจึงทำให้มีเส้นผมร่วงในทุก ๆ วัน สำหรับผู้หญิงเรานั้นจะมีผมร่วงประมาณ 100-150 เส้นต่อวัน และอาจร่วงได้มากถึง 200 เส้นต่อวันหากมีการสระผม ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นผม จำนวนรูขุมขน และสุขภาพในช่วงนั้น ๆ หากพบว่ามีผมร่วงมากกว่านั้นอาจแสงถึงภาวะผมร่วง ควรจะรีบหาสาเหตุและแก้ไขเพื่อไม่ให้กลายเป็นภาวะผมบาง ศีรษะล้านต่อไป
ประจำเดือนก็หมดแล้ว แต่ผมยังร่วงอยู่เกิดจากอะไร?
สาเหตุผมร่วง
ปกติแล้วเมื่อประจำเดือนหมดระดับฮอร์โมนก็จะกลับมาสู่สภาวะปกติ อาการผมร่วงที่เกิดขึ้นก็จะหายไป แต่หากคุณยังประสบปัญหาผมร่วงไม่หยุด ถึงแม้ว่าประจำเดือนจะหมดแล้วก็ตามนั่นแปลว่าอาจมีสาเหตุอื่นที่ส่งผลให้ผมร่วง ไม่ใช่เพียงฮอร์โมนที่แปรปรวนจากประจำเดือนมาอย่างเดียวเท่านั้นค่ะ
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผมร่วงอย่างต่อเนื่องนอกจากการเป็นเมนส์ ยกตัวอย่างเช่น
- ความเครียด : ความเครียดจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดอาการเครียดแล้วผมร่วง นอกจากนี้ความเครียดยังสามารถทำให้เกิดอาการทางจิตอย่างโรคดึงผม ผู้ป่วยจะดึงผมตัวเองเมื่อมีอาการเครียดทำให้ผมร่วงได้ค่ะ
- โรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นผมและหนังศีรษะ : มีหลายโรคที่ส่งผลให้มีอาการผมร่วงตามมา เช่น โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงเป็นหย่อม, โรคผมร่วงทั่วศีรษะ
- ผลกระทบจากโรคทางกายอื่น ๆ : ยกตัวอย่างเช่น โรคผิวหนัง, ไทรอยด์, โรคติดเชื้อต่าง ๆ , แพ้ภูมิตนเอง เป็นต้น
- ร่างกายขาดสารอาหาร : ส่งผลให้เส้นผมและหนังศีรษะมีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเส้นผมไม่เพียงพอ
- กรรมพันธุ์ : เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อมีอาการผมร่วง ผมบาง
- การใช้ยาบางชนิด : เช่น ยาโรคเกาต์, ยาลดความดันโลหิต, ยารักษาสิว
- ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคบางอย่าง : เช่น การทำเคมีบำบัด, การฉายแสง
สาเหตุผมร่วงในผู้หญิง
สาเหตุผมร่วง ผู้หญิงนั้นนอกจากจะเป็นผลกระทบจากระดับฮอร์โมนที่แปรปรวน และสาเหตุผมร่วงที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ยังอาจผมร่วงด้วยสาเหตุอื่น เช่น การจัดแต่งทรงผมด้วยสารเคมี ความร้อนเป็นประจำ, การสระผมทุกวันทำให้หนังศีรษะแห้ง รวมถึงหากอยู่ในวัยหมดประจำเดือนก็จะมีอาการผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนขาดความสมดุล
หากคุณกำลังสงสัยว่าจะสระผมทุกวันดีไหม? คุณหมอมีคำตอบ สามารถไปอ่านต่อได้ในบทความนี้ค่ะ: สระผมทุกวันดีไหม? ไขทุกข้อสงสัยให้กระจ่างเกี่ยวกับการสระผมทุกวัน
9 วิธีแก้ปัญหาผมร่วงช่วงเป็นประจำเดือน
หลายคนอาจบอกว่าถ้าการสระผมในช่วงประจำเดือนมาแล้วทำให้ผมร่วงก็เชื่อที่คนเขาว่ากันว่า “เป็นเมนส์ห้ามสระผม” เลือกที่จะไม่สระผมไปก็สิ้นเรื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้วมีวิธีที่ดีกว่าการงดสระผม เนื่องจากไม่สระผมนาน ๆ ก็อาจเสี่ยงผมร่วงเนื่องจากเกิดปัญหากับหนังศีรษะค่ะ ในหัวข้อนี้คุณหมอจะมาแนะนำวิธีแก้ผมร่วงช่วงเป็นประจำเดือน ใครกำลังประสบปัญหาสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ได้เลยนะคะ
1. รับประทานอาหารบำรุงผม
อาหารบำรุงผม
เพื่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่แข็งแรงยิ่งขึ้น การรับประทานอาหารบำรุงผมจึงเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งค่ะ หากต้องการเสริมความแข็งแรงเส้นผมและหนังศีรษะ คุณหมอขอแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงเสริมอาหารที่มีประโยชน์ต่อผม เช่น ไบโอติน, ซิงค์, โปรตีน, วิตามิน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายค่ะ
แล้วนอกจากที่กล่าวไปยังมีอาหารบำรุงผมแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ คุณหมอได้เขียนแนะนำไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ : 10 อาหารบำรุงผม บรรเทาผมร่วง ให้ผมแข็งแรง ดกดำ แลดูสุขภาพดี
2. บำรุงด้วยวิตามินบำรุงผม
ในอาหารมื้อหนึ่งเราอาจได้รับสารอาหารกลุ่มวิตามินไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายขาดวิตามิน มีไม่เพียงพอที่จะไปบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หนึ่งในอาการที่สังเกตได้ชัดคืออาการผมร่วง ดังนั้นการบำรุงด้วยวิตามินบำรุงผมจึงสำคัญไม่น้อยค่ะ
สามารถอ่านประโยชน์ของวิตามินบำรุงผมแต่ละชนิดอย่างละเอียดได้ในบทความนี้ค่ะ : รวมวิตามินบำรุงผม ที่ช่วยลดผมร่วง และทำให้ผมแข็งแรงขึ้น
3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่
บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอย่างร้ายแรง รวมถึงสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะเช่นกัน เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะไปทำลายผนังเส้นเลือดและทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตแย่ลง รากผมจึงได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และแอลกอฮอล์ไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุ ทำให้รากผมขาดสารอาหาร ทั้งหมดนี้ทำให้ผมร่วงค่ะ
4. หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนและสารเคมี
จัดแต่งทรงผม ผมร่วง
ผู้หญิงเราหลาย ๆ คนให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ภายนอก จะต้องตกแต่งทรงผมให้สวยงามอยู่ตลอดโดยอาจลืมคำนึงถึงสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ โดยเฉพาะการใช้ความร้อนและการใช้สารเคมีกับเส้นผมเป็นประจำ ทำให้เส้นผมถูกทำลายและขาดร่วงได้ง่าย หากต้องการฟื้นฟูสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะลดผมร่วง คุณหมอแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับสารเคมีให้ได้มากที่สุดจะดีกว่าค่ะ
5. ไม่ใช้ความรุนแรงกับเส้นผมและหนังศีรษะ
หลายคนอาจติดนิสัยการเกาหนังศีรษะ หรือชอบดึง ถอนเส้นผมตัวเองไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม รวมถึงการมัดผมแน่น ๆ อยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมเหล่านี้จะไปทำลายรากผม ทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงในที่สุด
6. สระผมอย่างถูกวิธี
วิธีสระผมที่ถูกต้อง
การสระผมอย่างถูกวิธีเป็นวิธีลดผมร่วงที่หลายคนอาจมองข้าม เพราะคิดว่าแค่ผมสะอาดก็เพียงพอ แต่ความเป็นจริงแล้วการสระผมอย่างถูกวิธีจะช่วยถนอมไม่ให้เส้นผมถูกทำลายและขาดร่วงขณะเส้นผมเปียกน้ำได้ค่ะ แล้วการสระผมอย่างถูกวิธีจะต้องทำอย่างไรบ้าง สามารถตามไปอ่านบทความที่คุณหมอเขียนไว้ได้ที่นี่เลยนะคะ : รวม 8 วิธีสระผมที่ถูกต้อง ช่วยแก้ปัญหาผมมัน ผมร่วง ลดรังแค ฉบับเร่งด่วน
7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปในแต่ละวัน อีกทั้งยังช่วยลดความตึงเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการผมร่วงค่ะ เพื่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ รวมถึงสุขภาพโดยรวมที่ดีแล้วเราควรจะต้องพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงติดต่อกัน โดยไม่มีสิ่งรบกวนขณะพักผ่อนค่ะ
8. ใช้ยาแก้ผมร่วง
การใช้ยาแก้ผมร่วงเป็นวิธีที่หลายคนอาจนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ แต่คุณหมออยากให้ลองปรับพฤติกรรมลดอาการผมร่วงก่อนค่ะ ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังมีอาการผมร่วงอยู่ก็อาจลองไปใช้ยาแก้ผมร่วง สำหรับผู้หญิงนั้นคุณหมอจะแนะนำยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ซึ่งเป็นตัวยาแก้ผมร่วงและผมบางตัวเดียวที่ผู้หญิงเราจะใช้ได้ผลค่ะ
ตัวยาจะอยู่ในรูปแบบทาหรือหยอดบนหนังศีรษะ ใช้เพื่อกระตุ้นให้หลอดเลือดบนหนังศีรษะขยายตัวให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้ดีขึ้น ทำให้ผมได้รับสารอาหารจากเลือดได้เต็มที่ ผมที่งอกใหม่จึงแข็งแรง สุขภาพดีกว่าเดิมค่ะ
สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาแก้ผมร่วงเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่บทความนี้เลยนะคะ : ไขข้อสงสัย ยาแก้ผมร่วงรักษาได้จริงไหม ผู้หญิงใช้ได้หรือไม่?
9. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แต่หากลองปรับพฤติกรรมก็แล้ว ลองใช้ยาแก้ผมร่วงก็แล้วยังมีอาการผมร่วงอยู่ แปลว่าอาการผมร่วงที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุอื่นที่ต้องหาคำตอบและแก้ปัญหาโดยแพทย์ค่ะ แนะนำว่าให้เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะเพื่อรับการตรวจสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ เพื่อรับการรักษาอย่างตรงจุดค่ะ
ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic โดยคุณหมอแก้ว แพทย์หญิง ธาริณี ก่อวิริยกมล แพทย์เฉพาะทางด้านโรคเส้นผมและศัลยกรรมการปลูกผม ผมร่วงจากศิริราช รักษาโรคที่เกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะอย่างครอบคลุม ดูแลทุกเคสโดยคุณหมอมากประสบการณ์กว่า 15 ปี ให้คุณกลับมามีสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่ดีอีกครั้ง
Dr.Tarinee Hair Clinic ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและหนังศีรษะ
สรุปแล้วความเชื่อที่ว่า “เป็นเมนส์ห้ามสระผม” ก็มีส่วนที่เป็นความจริงอยู่บ้างเนื่องจากช่วงประจำเดือนมาจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนแปรปรวนและอาจส่งผลให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่ายกว่า แต่นั่นเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อประจำเดือนหมด ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับปกติ อาการผมร่วงก็จะหายไปค่ะ แต่กลับกันหากไม่สระผมหลาย ๆ วันอาจเป็นการทำร้ายเส้นผมยิ่งกว่าเพราะเส้นผมได้สะสมสิ่งสกปรกจนทำให้เกิดปัญหาของโรคเส้นผมและหนังศีรษะค่ะ
คุณหมอแนะนำว่าเราสามารถสระผมระหว่างประจำเดือนมาได้แต่อาจหลีกเลี่ยงการสระผมด้วยน้ำเย็นจัด เนื่องจากอาจทำให้เราป่วยง่ายขึ้นค่ะ
แต่หากคุณกำลังประสบปัญหาผมร่วงต้องการปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง สามารถติดต่อคุณหมอได้ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic จากช่องทางนี้ได้เลยค่ะ
- Dr.Tarinee Hair Clinic
- Line : @drtarinee
- Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง
อ้างอิง
- Cleveland Clinic medical professional. (2021, February 10). Hair Loss in Women. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16921-hair-loss-in-women
- Worth, T. (2023, August 27). Women and Hair Loss: Causes. WebMD. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hair-loss/women-hair-loss-causes#1-